20 มกราคม 2562

การเลือกชุดเวดจ์ที่มีประสิทธิภาพ

///  W e d g e  T a l k # 3 ///

⭕ เมื่อสองตอนที่แล้วพูดเรื่องการเลือกชุด Wedge ในเรื่องของ องศาหน้าไม้ (Loft Angle) ว่าควรไล่เรียงจากชุดเหล็ก และ องศาบาวซ์ (Bounce Angle) ที่ควรมีองศาที่หลายหลากให้เหมาะกับการเล่นในพื้นผิวสนามรอบๆกรีนที่แตกต่างกัน

⭕ ซึ่งในตอนนี้จะพูดถึงเรื่องของ น้ำหนักรวมไม้กอล์ฟ (Total Weight) ที่ต่างกันนั่นเป็นเพราะชุดเวดจ์จะขายแยกจากชุดเหล็ก และส่วนใหญ่ชุดเวดจ์จะมีก้านที่ขายติดมาเป็นก้านเหล็กที่หนัก และแข็ง มีสวิงเวทที่มาก (หาก้านน้ำหนักเบาที่ติดมาน้อยมากๆ) ซึ่งจะเหมาะกับนักกอล์ฟที่แข็งแรง และใช้ก้านใน ชุดเหล็กเป็นก้านเหล็ก (Steel Shaft) ที่น้ำหนักที่ไล่เรียงไม่ห่างกันมาก จึงเหมาะสมและใช้งานโดยไม่รู้สึกแต่ต่างและลงตัว

จัดระเบียนน้ำหนักรวมก้านทั้งชุดเหล็ก และเวดจ์
⭕ เพราะส่วนสำคัญในช๊อตขึ้นกรีนที่มีชุดเวดจ์ที่น้ำหนักรวม กับชุดเหล็กไม่ไปด้วยกัน เช่นน้ำหนักก้านในชุดเหล็กเบา และต่างจากชุดเวดจ์มาก จะทำให้ จังหวะการสวิง (Swing Tempo) เปลี่ยน และจดจำการสวิงที่ดี ระหว่างชุดเหล็ก กับ ชุดเวดจ์ได้ยาก ทำให้ช๊อตขึ้นกรีนขาดความแม่นยำในการทำคะแนน และจะสับสนกับการสวิง ที่ได้บ้างไม่ได้บ้างเป็นส่วนใหญ่

⭕ ดังนั้นลองเช็คอุปกรณ์ของตัวเองดูสิครับว่า ก้านในชุดเวดจ์ กับ ชุดเหล็กของท้านไปด้วยกันได้ไหม เช่น น้ำหนักก้าน / ความยาวก้าน / สวิงเวท / ขนาดกริ๊ป ซึ่งสิ่งเหล่านี้ที่ทำให้ความแม่นยำ และแน่นนอนในช๊อตทำคะแนนหายไป เพราะชุดเหล็ก กับ ชุดเวดจ์ควรเป็นสเปคไม้ฯ ที่ไล่เรียงน้ำหนัก และความรู้สึกวนการสวิงที่คล้ายๆกันไล่ลงมา

⭕ อย่าปล่อยให้ความรู้สึกในการสวิงนั้นติดตัวไปนาน ควรนำชุดเหล็ก กับชุดเวดจ์ มาปรึกษา Professional Clubfitting และจัดระเบียบน้ำหนักรวม (Total Weight) ใหม่ในชุดเหล็ก/เวดจ์ ในสัมพันธ์กันดีกว่าไหมครับ??

ไม่มีความคิดเห็น: