24 ธันวาคม 2554

ก้าน Driver ที่ยาวขึ้น จะทำให้ได้ระยะที่ไกล???

ปัจจุบันนี้ Driver ที่วางขายอยู่ทั่วไปในห้างฯต่างๆ มีความยาวก้านไม้ฯ ที่ไม่เหมาะสมกับนักกอล์ฟสมัครเล่นทั่วไปเฉลี่ยประมาณ 90% สำหรับผู้ชาย และ 98% สำหรับผู้หญิง เพราะจะมีก้านไม้ฯที่ยาว ประมาณ 45.0 -46.5 นิ้ว ซึ่งมีความเข้าใจกันว่าก้านที่ยาวนั้น จะทำให้ตีได้ระยะไกลขึ้น เพราะมีก้านที่ยาวจะสร้างวงสวิง (Swing Arc) ที่กว้างขึ้น เพิ่มความเร็วหัวไม้ได้ดีขึ้น และเป็นผลทำให้ตีได้ไกลขึ้นนั่นเอง แต่มีมุมหนึ่งที่มองข้ามกันไป ความยาวก้านที่มากไป ทำให้นักกอล์ฟ ไม่สามารถควบคุมหน้าไม้ และมีวงสวิงที่คงที่ราบรื่น ที่จะควบคุมหน้าไม้ให้กลับมาตีลูกกอล์ฟให้ตรงกลางหน้าไม้ (Center-Square Impact) ได้บ่อยครั้ง

ความเร็วหัวไม้ กับ ระยะที่สัมพันธ์
การตีลูกกอล์ฟให้ได้ไกลขึ้นนั้น ควรต้องมีการ Impact ลูกกอล์ฟ ให้ตรงกลางหน้าไม้ บวกกับมีหน้าไม้ที่สแควร์ในขณะ Impact จึงจะส่งผลให้ได้ระยะสูงสุด เพราะเมื่อ Impact ลูกกอล์ฟได้ตรงกลางหน้าไม้แล้วนั้น พลังในการสวิงทั้งหมด (Energy Transition) จะส่งผ่านไปที่ลูกกอล์ฟได้อย่างเต็มที่ จึงมีคำกล่าวในบรรดา Club Fitter ว่าทำอย่างไรจึงสามารถทำไม้กอล์ฟ (Club Fitting) ให้นักกอล์ฟได้สวิงได้อย่างราบรื่นที่สุด และ Impact ลูกกอล์ฟในแต่ละช๊อตได้ตรงกลางหน้าไม้ฯมากที่สุด (Center Impact) ให้มีเปอร์เซ็นต์ที่มากที่สุดที่ควรเป็น


สรีระที่ต่าง กับความยาวก้านที่ควรเป็น
เพราะฉนั้นก้านไม้ Driver ที่มีความยาวก้านที่ยาว 45.0 - 46.5 นิ้ว ที่ขายกันอยู่ทั่วไปในท้องตลาดนั้น มีความยาวเกินไป ที่จะทำให้นักกอล์ฟสมัครเล่นทั่วไป ไม่สามารถจะตีลูกกอล์ฟให้โดนตรงกลางหน้าไม้ได้บ่อยครั้งได้ และเป็นไปได้ยาก ถึงยากที่สุด หากทำการทดสอบการตี 10 ช๊อต ควรโดนกลางหน้าไม้ (Square Impact) มากกว่า 7 ช็อต หรือ Tee shot ด้วย Driver 14 หลุมควรอยู่ในแฟร์เวย์ 10 หลุมขึ้นไป ถ้าท่านสามารถทำได้เช่นนั้น ความยาวก้านดังกล่าวก็ไม่น่าจะมีปัญหา (แต่ความเป็นจริงนั้น ท่านคงให้คำตอบได้)

ใน PGA Tour Pro จะมีก้าน Driver เฉลี่ยความยาวก้าน 44.5 นิ้ว เพราะ Tour Pro เหล่านั้นรู้ดีว่าไม่ใช่เพียงต้องการ ระยะ (Distance) ที่ดีอย่างเดียวเท่านั้น  จำเป็นจะต้องควบคุม (Control) ได้ด้วย เมื่อไรที่ลูกกอล์ฟอยู่ในแฟร์เวย์ได้มากที่สุด เมื่อ Tee shot ออกไปแล้ว ก็จะสามารถเล่น Shot ที่สองในตำแหน่งที่ดีที่สุดได้ นั้นเป็นเป้าหมายที่สำคัญ และต้องการที่สุด
ความยาวก้านมีผลต่อการ Impact

หาความยาวก้านไม้ที่เหมาะสมกับสรีระของท่านให้ได้ ดีกว่าไหมครับ ให้ได้ระยะมากที่สุดที่ควรได้ มีเปอร์เซ็นต์ตีโดนกลางหน้าไม้มากที่สุด (Square Impact) และควบคุมลูกให้อยู่ในแฟร์เวย์มากที่สุด ซึ่งความยาวก้านไม้กอล์ฟที่ยาวไม่ใช่คำตอบสุดท้ายที่ถูกต้องอย่างเดียว ที่ทำให้เกิดระยะที่ไกลขึ้น เพราะมี Factor อย่างอื่นอีก ของการทำ Club Fitting ที่จะทำให้ท่านได้ระยะที่ดีขึ้น แม่นขึ้น / บ่อยครั้งขี้น  ควรปรีกษา Professional Club Fitting ดีกว่าครับ อย่าไปเสียเวลา และเงิน เพื่อได้ไม้กอล์ฟที่มี Spec จำกัดให้เลือก และวางขายอยู่ทั่วไป เพื่อแผนในการตลาด (Marketing Plan & Mass Product) เท่านั้น

8 ธันวาคม 2554

Belly putter กำลังมาแรงใน Tour ขณะนี้

ท่านนักกอล์ฟที่ได้รับชมรายการแข่งขันกอล์ฟใน PGA หรือ European Tour จะเห็น Tour Pro หลายคนได้เปลี่ยนมาใช้ Belly Grip กันอย่างต่อเนื่อง และมากขึ้นเรื่อยๆ เพราะ Belly Putter นั้นสามารถตอบโจทย์นักกอล์ฟในการพัตต์ได้หลายอย่างที่มีประสิทธิภาพมากขึ้น เช่น
  1. การซ้อมพัตต์นานๆ ทำให้ปวดหลัง หรือสรีระร่างกายไม่อำนวยกับพัตต์ก้านสั้น 
  2. การใช้ข้อมือในการพัตต์ จะไม่เกิดขึ้น 
  3. ความยาวก้านฯ และกริ๊ปที่ยาวขึ้น สามารถจับกร๊ปสูง หรือต่ำก็ได้ ซึ่งดีกว่าพัตต์เตอร์ก้านสั้นที่ความยาวตายตัว 33"/34"หรือ 35" 
  4. ช่วยให้สโตรกการพัตต์ได้ดีขึ้น ด้วยการหมุนไหล่และหน้าพัตต์เตอร์ไปพร้อมกัน และใด้ทิศทาง
หากท่านนักกอล์ฟที่ต้องการปรับแต่งพัตต์เตอร์ของตัวเอง ด้วยการต่อก้านพัตเตอร์เดิมของท่าน และเปลี่ยนกริ๊ปเดิมเป็น Belly Putter grip ยาว 19 นิ้ว เพียงเท่านีั้ท่านก็จะได้ Belly Putter หัวพัตต์เตอร์เดิม ซึ่ง สามารถปรับแต่งได้แล้วครับวันนี้ที่ Tomiya Club Fitting เพียง 1,900 บาท ( ต่อก้านยาว + กริ๊ปยาว 19" + Fitting ความยาว Lie angle) ** เปลี่ยนก้านใหม่ เพิ่ม 500 บาท**


สนใจสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมที่ คุณ Tom โทร 086-535-5579 (แผนที่ คลิก)
(**หากพัตต์เตอร์สโตรก 2 สโตรก ต่อ 1 หลุม คือ 36 สโตรก บนสกอร์การ์ดเลยนะครับ**)


2 ธันวาคม 2554

ทำไมต้องทำฟิตติ้งกับไม้พัตเตอร์ (Fitting Putter)???

🔺 ในจำนวนไม้กอล์ฟที่มีสิทธิมีได้ตามกฏกติการการแข่งขันนั้น มีได้ 14 อันในถุงกอล์ฟ ซึ่งอาจแบ่งได้เป็น 4 กลุ่ม ดังนี้
  1. Driver & Fairway wood
  2. ชุดเหล็ก (Iron set)
  3. Wedges
  4. Putter
** Hybrid อาจนับอยู่ในกลุ่ม Driver/fairway หรือ ในชุดเหล็กก็แล้วแต่ เพราะเป็นไม้ฯที่สามารถเป็นได้ทั้งสองกลุ่ม และ Putter บ้างก็อาจจะอยู่ในกลุ่มของ Wedge ก็ได้ เพราะเป็นเรื่องของ Short game (ลูกสั้น) แต่ในแต่ละกลุ่มใน 4 กลุ่มนี้ก็จะมีความแตกต่างกันในการเล่น และตามลักษณะของการทำ Club Fitting" ด้วยเหมือนกัน

🔺 มีคำถามที่ถามกันอยู่บ่อยครั้งในก๊วนนักกอล์ฟว่า "ไม้ฯไหนเป็นไม้ฯที่ใช้มากที่สุด ในบรรดา 14 ไม้ฯในถุงกอล์ฟ" ซึ่งควรให้ความสำคัญมากที่สุด เพราะเป็นไม้ฯที่ใช้มากที่สุด และมีผลต่อการทำแต้มมากที่สุด ในแต่ละหลุม หรือทั้ง 18 หลุมรวมกัน นั่นก็คือ "พัตเตอร์ (Putter)" นั่นเอง ซึ่งตามปกตินักกอล์ฟทั่วไป จะมองข้าม และไม่สนใจให้ความสำคัญกับ พัตเตอร์ที่มีอยู่ ส่วนใหญ่กับมองหาก้านไม้กอล์ฟที่จะมา Modify หรือ Fitting  โดยเฉพาะ Driver และชุดเหล็ก  เพื่อให้ตีไกลขึ้น แต่ไม่เคยทำ Putter Fitting ของตนเองที่มีอยู่เลย
** Driver และเหล็ก(บางเบอร์) ไม่ได้ใช้ทุกหลุม เช่นดียวกับ Putter**

พัตเตอร์เป็นไม้ฯที่สั้นที่สุดในถุงกอล์ฟ และเป็นไม้กอล์ฟที่ต้องให้ ความรู้สึก (Feeling) และการควบคุม (Control) ฉนั้นต้องควรเกี่ยวข้องกับหลักๆที่สำคัญ ในการเลือกหา ดังนี้ 
  1. ความยาวก้าน (Shaft Length) 
  2. การกระจายน้ำหนัก (Weight Distribution) 
  3. รูปแบบหัวพัตเตอร์ (Head Design)
ความยาวก้าน (Shaft Length) ควรมีความรู้สึกว่าความยาวก้านต้องเหมาะกับเรา และรู้สึกได้ถึงความผ่อนคลาย และควบคุมได้ดี ความยาว 34 หรือ 35 นิ้ว บ้างก็มี 33 นิ้ว (พบน้อยมาก) ซึ่งพบเห็นอยู่ทั่วไปในชั้นวางจำหน่ายร้านกอล์ฟทั่วไป เพราะความยาวก้าน เป็นส่วนสำคัญในการกำหนดความรู้สึกมั่นใจในการควบคุมพัตต์ให้ได้ตามต้องการ ซึ่งบางท่านอาจเหมาะกับความยาว 36 หรือ 37 นิ้ว หรืออาจเหมาะกับ พัตเตอร์ก้านยาว (Belly Putter) ก็ได้ เพราะอาจจะมีปัญหาเรื่องสรีระ (หลังด้านล่าง) ยืนซ้อมพัตต์นานๆจะปวดหลังง่าย

การกระจายน้ำหนัก (Weight Distribution) ซึ่งมีนักกอล์ฟ หลายท่านคิดว่า พัตเตอร์ที่มีน้ำหนักที่หัวพัตเตอร์ (Heavy Head) จะให้ความรู้สึกที่ดีกว่า สโตรกดีกว่า และนิยมใช้กันอย่างแพร่หลาย ซึ่งทำให้การ Modify ก็นิยมทำพัตเตอร์ให้หนักหัวเข้าไว้เพื่อให้ได้ สวิงเวทจ์ (Swing Weight) ที่ต้องการ ซึ่งดูแล้วไม่ค่อยเข้าทีเท่าไรเพราะ**พัตเตอร์ ไม่เคยใช้สวิง (Swing) นะครับ ใช้เพียงสโตรก (Stroke) เท่านั้น** ไม่จำเป็นต้องนำไปชั่งเพื่อหาค่า Swing Weight เดียวจะงงกันใหญ่ เมื่อไปเทียบกับไม้ฯอื่นๆ แค่เพียงแต่ให้ได้ความรู้สึกที่ดีในแต่ละพัตติ้งสโตรกก็น่าจะเพียงพอ

ความน่าจะเป็นของพัตเตอร์ควรจะมีการกระจายน้ำหนักที่ดี คือ ความรู้สีก (Feeling) และการควบคุม (Control) ให้มากๆ ซึ่งหากท่านมีพัตเตอร์หัวหนัก หรือความรู้สึกอยู่ที่หัวพัตเตอร์มาก (Heavy Head) จนรู้สีกได้ จะทำให้การควบคุมหน้าพัตเตอร์ในการพัตต์เป็นไปได้ยาก เพราะการกระจายหนักนั้นอยู่ไกล หรือห่างจากมือ ซึ่งอาจทำให้บังคับใช้ข้อมือไปด้วย (**ยกตัวอย่างกีฬาปิงปอง ไม้ที่มีน้ำหนัก และการควบคุมไม้อยู่ใกล้ หรือติดมือ จะได้ความรู้สึกมั่นใจในการควบคุมทิศทางดีกว่า) 
**PGA tour นิยมปรับพัตเตอร์ให้มีน้ำหนักอยู่ใกล้มือ หรือติดมือ ก่อนการแข่งขัน The Master ของทุกปี**

Face Balance Head
รูปแบบหัวพัตเตอร์ (Head Design) การค้นคว้าวิจัยจนได้ค่า MOI (Moment Of Inertia) ที่ทำให้การเคลื่อนที่ของหัวไม้เป็นไปได้อย่างมั่นคง ไม่แกว่งง่ายในขณะเคลื่อนที่ และทำให้หน้าไม้เดินทางมาสแควร์ (Square Impact) ได้มากขึ้นนั้น ก็เพราะว่าหัวไม้มีจุดศูนย์ถ่วงมาด้านท้ายของหัวไม้ฯมากขึ้น ซึ่งเคยยกตัวอย่างพัตเตอร์หัวตก (Non Balance Face Putter) และพัตเตอร์หน้าสแควร์ (Balance Face Putter) (คลิก)
(การพัฒนา MOI ใน Driver และไม้อื่นๆ ก็คิดค้นตามมาหลังจากค้นพบใน Putter ก่อนแล้ว)

Non-Face Balance Head
🔺 อย่าลืมนะครับท่านนักกอล์ฟว่า "พัตเตอร์" เป็นไม้ฯที่ใช้มากที่สุดในการออกรอบในแต่ละครั้ง ในแต่ละสโตรก หมายถึงแต้มที่ควรจะได้ หรือจะเสีย (เฉลี่ย 2 สโตรก / หลุม บางท่านอาจเจอ 3 พัตต์มาแล้วใช่ไหมครับ) ฉนั้นควรให้ความสำคัญ และมองหาพัตเตอร์ที่เหมาะกับท่านจริงๆ ไว้เถอะครับ ปรึกษา Professional Club Fitting ว่าควร Modify พัตเตอร์ท่านอย่างไรให้ได้การกระจากน้ำหนัก และความรู้สึกในการควบคุมหน้าไม้อย่างมีประสิทธิภาพ

27 พฤศจิกายน 2554

การทำ Club Fitting มีไว้เฉพาะนักกอล์ฟโปรฯ หรือมือดีเท่านั้นหรือ????

ยังคงมีความเข้าใจที่หลายหลากในเลือกหาไม้กอล์ฟ และคิดว่าการทำ Club Fitting นั้นไม่จำเป็นสำหรับนักกอล์ฟทั่วไป หรือเพิ่งหัดใหม่ ที่ทำ Fitting กันนั้นมีไว้เฉพาะโปรฯ หรือนักกอล์ฟมือดีๆเท่านั้น ซึ่งเป็นคำถามยอดฮิตในหมู่นักกอล์ฟทั่วไป และรวมถึงโปรฯหลายๆคนในเรื่องนี้

ลองปรับมุมมองอีกด้านหนึ่งซิครับ ว่าโปรฯหรือนักกอล์ฟมือดีนั้น มีประสบการณ์ในเกมส์กอล์ฟมากมาย พร้อมยังมีความสามารถทีดี ในการปรับแต่งวงสวิงของตัวเองได้ในทุกๆ สถานการณ์ หรือในทุกๆไม้กอล์ฟที่ตัวเองกำลังสวิงอยู่ หากลองเอาไม้กอล์ฟที่มีความยาวเท่าไรก็ได้ หรือมีความอ่อนแข็งอย่างไรก็ได้ ยื่นให้โปรฯ หรือนักกอล์ฟมือดีตี เขาก็จะสามารถจับความรู้สึก และปรับวงสวิงให้รับกับไม้กอล์ฟนั้นๆได้และสวิงได้อย่างดีในเวลาต่อมา ในช็อตที่ 2 หรือที่ 3 ซึ่งไม่ว่าเขาเหล่านั้นจะมีไม้กอล์ฟแบนด์ไหนก็ได้ไว้ใช้

แต่ความเป็นจริงที่ตรงกันข้ามกัน พวกบรรดาโปรฯ และนักกอล์ฟมือดี กลับต้องมองหาการทำ Club Fitting ให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น และให้เหมาะกับตัวเองเป็นเงาตามตัว เพื่อให้เกมส์กอล์ฟของเขานั้นดีมากขึ้น และเต็มประสิทธิภาพมีจุดอ่อนน้อยที่สุด ซึ่งจุดนี้จึงเป็นจุดขาย และการทำการตลาด (Marketing & Advertisement) ของบริษัทฯไม้กอล์ฟแบนด์ต่างๆที่จำเป็นต้องจ่ายค่า Sponsor และ โฆษณาเพื่อให้โปรฯ ดังๆเหล่านั้นใช้ไม้กอล์ฟแบนด์ของตนเองเพื่อให้เป็นที่รู้จัก และติดตาผู้บริโภคมากยิ่งขึ้น


ทีนี้ลองมองมาที่นักกอล์ฟทั่วไป และผู้ที่ชื่นชอบในกีฬากอล์ฟ ที่ต้องการพัฒนาฝีมือ และวงสวิงของตัวเองให้ดีขึ้น แต่กลับมองข้ามความสำคัญในการหาไม้กอล์ฟที่เหมาะสมกับตัวเองจริงๆ (Club Fitting) โดยเลือกซื้อไม้กอล์ฟแบนด์ดังที่วางขายตามชั้นในห้างฯ  และตามการโฆษณาที่มีนักกอล์ฟมือดีๆใช้ ซึ่งมีขายกันอยู่ทั่วไปที่เป็น Standard Spec และให้เลือกน้อย เหมือนกับบังคับให้ใช้ ไม่ตอบโจทย์ความต้องการได้ แต่กลับมั่นใจว่าจะใช้ได้ดีเหมือนกับคำโฆษณา ซึ่งได้เคยกล่าวไปแล้วในบทความก่อนหน้านี้ เรื่อง Standard Spec หรือ Mass Production.

เมื่อวงสวิงยังไม่ดี ไม่สามารถปรับแต่งจังหวะการสวิงได้อย่างโปรฯ เลยจำเป็นต้องปรับตัวเองในแบบที่ผิดๆ เพราะสิ่งที่ได้เรียนมาแล้วมันไม่รับกับอุปกรณ์ที่ใช้ฝึกอยู่ เลยทำให้วงสวิงไม่เป็นวงสวิงที่ดี ยืนจรด ชดเชยบ้าง / ปิด หรือ เปิดหน้าไม้ชดเชยบ้าง / การเล็งที่ผิดธรรมชาติ และจะมาแก้วงสวิงที่หลังคงเป็นเรื่องไม่ง่ายแล้วสิครับ

ซึ่งเหตุผลนี้เองที่นักกอล์ฟทั่วไปควรปรับความเข้าใจว่า หากต้องการจะพัฒนาวงสวิงของตัวเองแล้ว จึงควรมองหาไม้กอล์ฟที่เข้ากับตัวเองจริงๆ ตามหลักการของ Club Fitting ไม่ใช้ Club Fitting มีไว้บริการเฉพาะโปรฯ หรือนักกอล์ฟมือดีเท่านั้น เพราะนักกอล์ฟทั่วไป ต้องการไม้กอล์ฟที่เหมาะกับการพัฒนาวงสวิงของตัวเองอย่างยิ่ง เช่น การมีความยาวก้าน / Loft & Lie / น้ำหนักก้านฯ / ขนาดกริ๊ป / Swing Weight และความอ่อน & แข็งของก้านฯ ที่เหมาะสมพร้อมๆกับการพัฒนาวงสวิง

ซึ่งหากไม่มีไม้กอล์ฟที่มี Spec ดังกล่าวแล้วท่านนักกอล์ฟก็จะ ปรับตัวเองเข้ากับไม้กอล์ฟที่ไม่ใช่สเปคตัวเอง ซึ่งจะทำให้มีการพัฒนาวงสวิงได้ช้า และไม่มีประสิทธิภาพ หรือไม่ก็อาจจะเลิกเล่นกอล์ฟไปเลยก็ได้ เพราะ Spec ไม้กอล์ที่แย่นั้นได้ทำลายวงสวิง หรือเปลี่ยนไม้กอล์ฟหลายแบนด์ลองผิดลองถูกเอง จนความสุขในเกมส์กอล์ฟที่ท่านควรจะมี อย่างน่าเสียดาย


*** จากการสอบถาม PGA Teaching Profession ในสหรัฐอเมริกา หากนักกอล์ฟที่มีไม้กอล์ฟที่ได้ทำ Club Fitting เพื่อให้เหมาะกับตัวเองแล้ว การเรียนการสอน และการพัฒนาวงสวิงของนักกอล์ฟคนนั้นจะมีการพัฒนาได้เร็วกว่านักกอล์ฟที่ไม่ได้ทำ***
(ข้อความจาก Tom Wishon ผู้มีประสบการณ์สูงในวงการ Profession Club Fitting ในสหรัฐอเมริกา)

19 พฤศจิกายน 2554

ทำไมต้อง Tomiya Club Fitting School & Services ???

วิสัยทัศน์ (Vision) :
  1. ให้ความรู้ ให้อาชีพ/งานอดิเรก : เป็นความตั้งใจแรกก็จะเปิดให้บริการในวันแรก ที่ต้องการเผยแพร่ และให้ความรู้ในเรื่องศาสตร์ของไม้กอล์ฟในห้องเรียน โดยเปิดการเรียนการสอนตามแบบมาตรฐานสากล ตั้งแต่เดือน มกราคม ปี 2554 ให้กับนักกอล์ฟทั่วไปที่ยังไม่รู้ และต้องการรู้ (เพราะช่วงเวลานั้น การหาแหล่งความรู้ที่ดีๆด้านนี้ได้ยากในเมืองไทย) ซึ่งทำให้ได้รู้ว่าไม้กอล์ฟที่เหมาะสมกับความแตกต่างในแต่ละบุคคล จะไม่เสียเงิน และเวลาโดยที่ยังไม่ได้สิ่งที่ต้องการจริงๆ นอกจากนั้นยังสร้างอาชีพ Club Maker ใหม่ๆไปยังพื้นที่ที่ยังขาดการให้บริการด้านนี้ได้มากขึ้นโดยเฉพาะต่างจังหวัด และเป็นงานอดิเรกสำหรับนักกอล์ฟที่ปรับแต่งไม้ฯเอง เหมือนท่านได้เรียนรู้อย่างถูกต้องตามมาตรฐานสากลในเมืองไทย
  2. บริการคุณภาพแบบเป็นกันเอง และเข้าถึงง่าย : ใช้อุปกรณ์ และเครื่องมือที่เป็นมาตรฐานสากล  พร้อมร่วมวิเคราะห์ข้อมูล Spec ไม้กอล์ฟที่ใช้อยู่ด้วยกันก่อน (Standard Spec)  ถึงเหตุผลว่าเป็นอย่างไร ควร ปรับ / แต่ง ได้ไหม? อย่างไร? เราไม่เน้นงานขาย หรือ ทำยอด ช่วยให้ประหยัดกว่า หากซื้อไม้กอล์ฟที่วางขายอยู่ทั่วไป (Spec โรงงาน) ก็จะได้คล้ายไม้ฯเดิมมาอีก พูดคุยวิเคราะ และเสนอแนะข้อมูล + ผลที่ได้ + ราคาก่อนด้วยตัวเอง รับงานพอมือ และทำด้วยตัวเอง ไม่มีลูกน้อง ซึ่งต้องนัดเวลาก่อนเข้าบริการ
  3. ปรับ ก่อน เปลี่ยน และ ประหยัด : ไม่เน้นการเปลี่ยนอุปกรณ์ เพื่อซื้อใหม่ทันที ควรตรวจเช็คอุปกรณ์ก่อนว่า "ทำไมถึงตีไม่ได้ หรือไม่ดี/ไม่ชอบ" สามารถ Modify ให้ได้ Spec ใหม่ได้ไหม /  อย่างไร (เช่น จัด Grip Size / จุดดีดก้านที่เต็มที่ (Spine & FLO) / Loft & Lie / สวิงเวทจ์ & น้ำหนักรวมที่ไม่เหมาะสม มีให้ปรับจาก Standard Spec อีกมากมาย ก่อนตัดสินใจเปลียน ซึ่งประหยัดทั้งเวลา และงบประมาณ ได้ Spec ตรงกับผู้ใช้
  4. ราคาแพงใช่คำตอบที่ถูกต้องเสมอ : อุปกรณ์เล่นกอล์ฟที่ดีไม่จำเป็นต้องมีราคาแพง Standard Spec หรือ Brand Name ที่มีให้เลือกมากมายในตลาด ใช่คือคำตอบสุดท้ายที่ถูกต้องเสมอไป บางท่านอาจโชคดีที่ตีได้ดี และเหมาะสมกับท่าน แต่ก็มีหลายท่านที่ไม่มีโชค ที่ซื้อแล้วจะได้ Spec ตรงใจ และอาจจะอยากขาย หรือไม่ก็เก็บเอาไว้เสียเอง ซึ่ง Standard Spec ย่อมเป็น Standard Spec ที่เป็น Mass Product ตรงมาจากโรงงานนั่นเอง ไม่ใช่เฉพาะบุคคล ไม่ได้เจาะจงแบนด์ตลาดเพราะราคาสูง ไม้กอล์ฟ และอุปกรณ์มีให้เลือกอีกมากมายในตลาดกอล์ฟโลก สามารถนำมาประกอบให้ได้สเปคที่ต้องการในราคาประหยัดกว่า ไม่ต้องมีค่าโฆษณา ค่าสปอนด์เซอร์ต่างๆ
  5. จัดอุปกรณ์ให้ตรงเป้าหมายของเกมส์กอล์ฟ : การเปลี่ยน หรือซื้ออุปกรณ์ยกชุด ก็จะได้อุปกรณ์ ยกชุดที่เป็นมาตรฐานโรงงานคล้ายแบบกับเดิมนั่นเอง (Standard Spec) หรือไม่ทราบ Spec ที่ตรงกับตัวเราเอง และก็จะซื้อ / เปลี่ยนอุปกรณ์คล้ายๆกันอยู่ร่ำไปมาเก็บไว้ และก็ตีไม่ได้เหมือนเดิม ซึ่งเป็นการพายเรืออยู่ในอ่างนั่นเอง มีไม้กอล์ฟอยู่เต็มบ้าน และยังไม่รู้ว่าไม้กอล์ฟไหนที่เหมาะกับตัวเองที่สุด (หากซื้อมาเพื่อขายต่อ ก็คนละประเด็นนะครับ) ควรปรีกษา Professional Club Fitting เพื่อหา Spec ที่เหมาะกับตัวเอง

Customer Satisfaction Services

นักเรียนแต่ละรุ่นที่ผ่านการฝึกอบรม (คลิกที่รูปชมภาพเพิ่มเติม)


24 ตุลาคม 2554

ทำไมต้องวัดตัด / ปรับ / แต่งไม้กอล์ฟด้วย (Why has to Custom Club Fitting??)

สำหรับท่านที่รัก และหลงใหลกีฬากอล์ฟ จำเป็นต้องเฟ้นหาเลือกซื้้้้่อไม้กอล์ฟที่ดีๆ และคิดว่าน่าจะเหมาะกับตัวเองที่สุดไว้เป็นเจ้าของ แต่จะมีหนทางไม่มากเท่าไร หรือมีมากเสียจนเลือกไม่ถูก

ซึ่งในการเลือกซื้ออย่างไรจึงจะได้ดังความประสงค์ ก็จะหาข้อมูลเท่าที่จะหาได้ เช่น จากเพื่อนที่เล่นกอล์ฟมาก่อน / จากโปรฯ / จากสื่อโฆษณา หรือ เว๊ปไซด์ต่างๆ ที่สามารถสร้างความมั่นใจในการเลือกซื้อ  ซึ่งไม้กอล์ฟส่วนใหญ่ที่สามารถซื้อหาได้ ก็พบได้ในห้างฯต่างๆในท้องตลาด มีราคาอยู่ในระดับสูงทีเดียว ซึ่งคิดไปแล้วทำไมมันไม่เหมือน และแตกต่างกับกีฬาประเภทอื่นๆ อย่างมากมาย แล้วจะทำอย่างไรล่ะถึงจะได้ไม้กอล์ฟสักชุด ที่เหมาะกับตัวเอง


กีฬากอล์ฟไม่เหมือนกับกีฬาประเภทอื่นๆ มีไม้ฯให้เล่นก็มากกว่าให้เลือกใช้ (กีฬาอื่นมีอันเดียว) แล้วแถมยังเล่นยาก ถึงยากที่สุด  (แหมทำไมมันยุยากเสียจริงๆ) อุปกรณ์ก็แพง อีกต่างหาก ซึ่งมีหลายๆคนที่มาหัดเล่นแล้วไม่ประสบความสำเร็จ และยอมเลิกเล่น โดยไปหากีฬาอื่นเล่นแทนในที่สุด สิ่งเหล่านี้แหละครับเขาเรียกว่าเป็น เสน่ห์ของกีฬาประเภทนี้ ยิ่งยาก ยิ่งพยายา

จีงต้องนำการเปรียบเทียบไม้กอล์ฟที่มีในท้องตลาด (OEM) กับการตัด / ปรับ / แต่งไม้กอล์ฟ (CCF) ให้เป็นข้อคิดในการตัดสินใจซื้อ / ปรับเปลี่ยนแต่งอุปกรณ์ในอนาคตให้กับ ผู้ที่เริ่มเล่นกอล์ฟ จนถึงเล่นมานาน  แล้วยังไม่พัฒนาขึ้นสักเท่าไรเลย เพราะเจ้าไม้กอล์ฟที่เราใช้อยู่นั้นมันคงไม่ได้เหมาะกับสรีระร่างกาย และวงสวิงเฉพาะของเรานั้นเอง

ไม้กอล์ฟในท้องตลาด (Original Equipment Manufacturer) ทั่วไปมีลักษณะดังนี้
สเปคมาตรฐานโรงงาน
  1. ผลิตเป็นมาตรฐานนักกอล์ฟทั่วไป เพื่อให้ครอบคลุมผู้ใช้มากที่สุด (Mass Products)
  2. มีขนาดความยาว / น้ำหนัก / สวิงเวจท์  และขนาดกริ๊ป ที่ไม่สามารถให้เลือกได้มาก (Variety Specs) ตามความต้องการ เช่น มีเฉพาะความยาว Driver 45-46" / Putter 34-35" / Swing weight D2-D4 / น้ำหนักรวมประมาณ 290-305 กรัม / Flex R (Regular) หรือ S (Stiff) / ขนาดกริีป มาตรฐาน (Standard)
  3. มีองศาหน้าไม้ (Loft) ของ Driver 9.0-10.5 / องศาสันหน้าไม้ (Lie) ที่เป็นมาตรฐานไล่ระดับ
  4. ความอ่อนก้าน (Flexible) ที่ไม่เท่ากันในแต่ละผู้ผลิต Flex R / S หรือ SR
  5. จัดค่าโฆษณา + สปอนเซอร์นักกอล์ฟอาชีพ และเพิ่มราคาในผลิตภัณฑ์อย่างสูงเมื่อออกตลาดใหม่ ลดราคาอย่างแรง เมื่อเวลาผ่านไปไม่นาน และออกรุ่นใหม่ เพียงเปลี่ยนบ้างอย่าง (Minor Changed) เท่านั้น
  6. ผู้ผลิตพยายามผลิตไม้กอล์ฟที่สามารถปรับแต่งได้ในระยะหลัง แต่ยังตอบโจทย์ไม่ครบถ้วน
  7. ท่านต้องปรับวงสวิง ให้เข้ากับไม้ฯ เพราะโดนบังคับด้วยสเปคที่มาตราฐาน (เพราะสรีระคุณไม่มาตรฐาน) ยากต่อการพัฒนา เพราะจะจำวงสวิงที่ผิด และปรับให้เข้ากับไม้กอล์ฟ บ้างตีไม่ได้ก็ขายต่อ
ไม้กอล์ฟที่ วัดตัด / ปรับ / แต่ง (Custom Club Fitting) มีลักษณะดังนี้
ความต่างแต่ละบุคคล
  1. วัดตัด / ปรับ / แต่งเฉพาะบุคคล (Individual Specs) โดยวิเคราะห์จากวงสวิง และไม่มีวางขายในท้องตลาด
  2. มีความยาวก้าน (Length) / ขนาดกริ๊ป (Grip Size) / Swing Weight / ความอ่อนก้าน (Flexibility) / องศาหน้าไม้ Loft & Lie ที่ได้ตามความต้องการโดยเฉพาะ
  3. น้ำหนักรวม (Total Weight) / น้ำหนักก้านฯ และการจัดแนวการดีดก้าน (Spine Alignment & CPM) ที่มีประสิทธิภาพ จัดเต็มได้
  4. มีผู้ให้บริการ และมีความรู้ด้าน Club Fitting ยังอยู่น้อยในท้องตลาด
  5. เลือกซื้อสเปค หัวไม้ / ก้าน / กริ๊ป ได้ตามความต้องการ ให้เหมาะสมที่สุดได้
  6. ราคาถูกกว่า ไม้กอล์ฟในท้องตลาด เพราะไม่มีโฆษณา และสปอนเซอร์ 
  7. ง่ายต่อการพัฒนาเกมส์กอล์ฟ (Game Improvement) และสร้างวงฯที่เป็นไปตามความสามารถตัวเองที่ดีที่สุด
ซึ่งบทความที่กล่าวมานั้น ท่านนักกอล์ฟลองนำไปพิจารณาให้ถ้วนถี่ ว่าควรจะมีไม้กอล์ฟแบบไหนดีที่ท่านสามารถใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพกว่ากัน ขึ้นอยู่ว่าท่านเป็นนักกอล์ฟแบบไหนใน 4 แบบ (ที่เคยกล่าวไปแล้ว) หรือนอกเสียจากว่าท่านต้องการซื้อมาเพื่อธุระกิจ (ขายต่อ ไม่ต้องการมีไว้ใช้จริงๆ)

18 ตุลาคม 2554

การเลือกก้านไม้กอล์ฟให้เหมาะสม (Shaft Profile II)

สำหรับนักกอล์ฟที่ต้องการปรับแต่ง หรือโมดิฟายไม้กอล์ฟ โดยเฉพาะหัวไม้ Driver เพื่อให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น หรือตีให้ไกลขึ้น ก็จะพยายามค้นหาความรู้ว่าก้านฯแบบไหน หรือรุ่นไหนที่เหมาะสม และทำให้ตัวเองตีได้ดีขึ้น ไกลขึ้น บ้างก็จะฟังจากเพื่่อน หรือคนที่รู้จักที่มีความเร็วหัวไม้ (Club Head Speed) ที่เท่ากัน เหมือนกัน ก็น่าจะใช้ก้านฯที่เหมือนกันได้ ซึ่งคนนั้นเขาใช้ก้านฯนั้นแล้วพอใจมาก ก็ทำให้อยากจะซื้อหาตามคำแนะนำนั้นมาใช้ให้ได้บ้าง ซึ่งสุดท้ายก็อาจจะได้ผลงานที่ไม่เป็นที่น่าพอใจอย่างที่คิดไว้ ก็ต้องเปลี่ยนอีก  หรือลงเว๊ปขายต่อแบบขาดทุน และค้นหากันต่อไปอีก

จุดการพิจารณาของก้านไม้กอล์ฟ นั้นขึ้นอยู่กับพื้นฐานวงสวิง (Element Swing) ของท่านเป็นอย่างไร ที่จะสามารถส่งกำลังจากตัวท่าน Load ไปที่ก้านฯ และทำให้ก้านนั้นเกิดการงอตัวดีด (Bend Point) ในขณะที่ Down swing มาหาจุด Impact ในตำแหน่งที่เหมาะสมที่สุด จุดงอตัวดีดนั้นจะสัมพันธ์กับความแข็ง / อ่อนของก้านที่กระจายตัวตามความยาวก้าน และจังหวะการสวิงที่ทำให้ก้านฯนั้นทำงานได้ และดีดตัวได้อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด

ยกตัวอย่างนักกอล์ฟ 2 ท่านที่มีความเร็วหัวไม้ที่เท่ากันที่ 90 ไมล์/ชม. นักอล์ฟ A มีวงสวิงแค่ 3/4 มีกำลังในการถ่ายส่งพลังที่แข็งแรง กระชับ และมีการรักษามุมข้อมือก่อนดีได้นาน (Late wrist-cork angle) สำหรับนักกอล์ฟ B มีลักษณะ Full Back Swing ด้วยการหยุดเล็กน้อยก่อนเปลี่ยนเป็น Down Swing และคลายข้อมือในช่วงครึ่งทาง (Halfway wrist -cork angle)

ถึงแม้ว่านักกอล์ฟทั้งสองจะมีความเร็วหัวไม้ที่เท่ากันแล้ว นักกอล์ฟ A ควรเหมาะกับก้านที่ปลายแข็งกว่า และมีน้ำหนักกว่า ซึ่งเขาจะมีกำลัง Load ก้านก่อนงอตัวดีดในนานกว่า ส่วนนักกอล์ฟ B ควรมีก้านที่เบา และมีปลายก้านความอ่อนตัวกว่า (More Flexible) เพราะการส่งกำลังไปที่ก้านฯขณะ Down swing ได้น้อยกว่า

เพราะฉนั้นการพิจารณาเลือกก้านฯ หรือจะโมดิฟายก้านฯนั้นควรปรึกษา Professional Club Fitter ที่แท้จริงในการวิเคราะห์ได้อย่างเหมาะสมมากกว่า (Proper Shaft Fitting) ประหยัดเงิน ประหยัดเวลา ดีกว่าการลองผิดลองถูกและค้นหาไม่จบสิ้น

12 ตุลาคม 2554

นักกอล์ฟเยาวชน กับการปรับ-แต่งไม้กอล์ฟ (ปรีณาพรรณ พุ่มคล้าย)

เมื่อก่อนที่ยังไม่ได้ทำฟิตติ้ง หนูตีหัวไม้ออกซ้ายออกขวา ส่วนเหล็กตีไม่ค่อยแน่น เหมือนฟาด ๆ   ตอนดาวน์สวิง เหล็กยาวก็ตีไม่ค่อยได้บางอันตีออกขวา ทำให้คุณพ่อค้นหาข้อมูล และอยากจะหาไม้กอล์ฟดีๆให้ คุณพ่อก็ได้ไปเปิดเจอเว็บไซต์ของ Tomiya Club Fitting เจอคำว่า ไม้กอล์ฟของคุณมันเป็นอะไรหรือ ถึงต้องเปลี่ยนให้เสียเงินโดยไม่รู้สาเหตุ ก่อนที่จะตัดสินใจซื้อใหม่ทั้งชุด นำไม้กอล์ฟที่มีอยู่มาตรวจสุขภาพ และปรับเปลี่ยนให้เข้ากับตัวเรา.... จึงตัดสินใจให้ปรับแต่งไม้กอล์ฟให้จากนั้นมา


ตอนนี้ตีได้ตรง แถมไกลขึ้นอีกต่างหาก ขนาดว่าตีอัดแล้วลูกยังไม่ไปไหนเลย ตีได้มันสะใจจริง ๆ ค่ะ สามารถลดสกอร์ลงมาได้มากเลย 
ช่วงก่อนเคยคิดว่า ไม่อยากจะเล่นกอล์ฟอีกต่อไปแล้ว เพราะตีไม่ค่อยได้ แต่หลังจากได้ทำ ฟิตติ้งกับโปรฯทอม ที่ Tomiya มาแล้ว ตอนนี้หนูรู้สึกว่าเริ่มชอบกีฬากอล์ฟมากขึ้น และอยากออกรอบทุกวันค่ะ
จาก..น้องนาย
(ดญ.ปรีณาพรรณ พุ่มคล้าย อายุ 15 ปี เล่นกอล์ฟได้ 2 ปี, เป็นตัวแทนนักกีฬากอล์ฟเยาวชนของจังหวัดประจวบคิรีขันธ์ และได้รับคัดเลือกเป็นตัวแทนภาคใต้เข้าร่วม PGA กอล์ฟคลีนิก ในโครงการนักกอล์ฟเยาวชนของค่ายเบียร์ช้าง ที่สนามกอล์ฟ Royal Gems ที่ศาลายา) Driver ระยะเฉลี่ย 240-250 หลา / สกอร์เฉลี่ย 76-78 / ระยะสนาม 6,400 หลา++

28 กันยายน 2554

การเลือกหัวไม้กอล์ฟ Driver ที่ดี สิ่งไหนที่ควรคำนึงถึง??

ระยะ (Distance) คือ สิ่งที่นักกอล์ฟทั่วไปต้องการ และพูดถึงบ่อยมากๆ เมื่อใดก็ตามที่พูดถึงเรื่องกอล์ฟ / วงสวิง หรือการปรับแต่งไม้ฯ และก็เป็นสิ่งที่นักกอล์ฟเกือบจะทั้งหมดปราถนาที่สุด ซึ่งต้องทำความเข้าใจให้ทราบว่า ในการเล่นกอล์ฟที่จะให้ได้คะแนนดีที่สุดแล้ว ควรคำนึงถึงสิ่งอื่นด้วย นอกเหนือจาก ระยะ (Distance) เพียงอย่างเดียวนั้น ควรมี ความแม่นยำ (Accuracy) หรือการควบคุม (Control) บวกเพิ่มเข้าไปในระยะด้วย ซึ่งจะทำให้นักกอล์ฟผู้นั้นเล่นกอล์ฟได้ดีขึ้น และมีสกอร์ (Scoring) ที่น่าพอใจ ซึ่งนั่นเป็นการวัดความสามารถของนักกอล์ฟผู้นั้นว่ามี ฝีมือ และการพัฒนาขึ้นอย่างไร

การที่ท่านนักกอล์ฟต้องการ Driver ที่ตีให้ได้ระยะไกลนั้น ในปัจจุบันบริษัทผู้ผลิตจะผลิตให้ Driver นั้นยาวขึ้นกว่าปกติ (ซึ่งเป็นวิธิที่เห็นผลง่ายที่สุดในระยะแรก) เช่น มีความยาวไม้ฯมากกว่า 45" และบางรุ่นยาวกว่า 46"  โดยทำให้ก้านฯ และหัวไม้ฯมีน้ำหนักเบาขึ้น (Light Head Weight) เพื่อจะให้ได้ไม้ฯที่มีก้านยาวขึ้น และมี Balance Weight ไม่หนักไปที่หัวไม้ฯมากนัก แต่อย่าลืมว่า น้ำหนักเหมาะสม (Proper Weight) เป็นเหตุผลสำคัญในการสร้างพลัง (Power Factor) หากความเบานั่นไม่ได้ช่วยเพิ่มการส่งพลังไปที่ลูกกอล์ฟ ก็ไม่เป็นเหตุผลที่สมควรมีไม้กอล์ฟที่มีน้ำหนักเบา

ซึ่งตามหลักฟิสิกส์นั้น ว่าความยาวทำให้เกิดระยะได้มากขึ้นได้ในกีฬากอล์ฟ  เพราะความยาวก้านฯ สามารถสร้างวงสวิงกว้างขึ้น ซึ่ง ทำให้เกิดระยะได้มากขึ้นด้วย  แต่ความยาวนั้นก็เป็นอุปสรรคที่ทำให้ท่านตีลูกได้ไม่ตรงกลางหน้าไม้ด้วยเช่นเดียวกัน เพราะความยาวจะไม่มาพร้อมกับความแม่นยำ (Accuracy) ซึ่งเป็นส่วนที่สำคัญที่สุดในกอล์ฟ ที่จะทำให้ท่านตีลูกได้ตรงกลางหน้าไม้ได้บ่อยๆครั้งที่สุด และได้ระยะดีที่สุดของความสามารถในวงสวิงท่าน

ส่วนใหญ่นักกอล์ฟ หลายท่านจะมั่นใจในความยาวของก้านไม้กอล์ฟที่ยาวกว่า จะทำให้ตีได้ระยะกว่าก้านไม้ฯที่สั้นกว่า ก็เป็นสิ่งที่ถูกต้อง แต่ถ้าหากว่า ความยาวก้านฯที่ยาวไปนั้น ให้การควบคุม (Control) ที่ยาก และทำให้ท่านตีลูกกอล์ฟให้ตรงกลางหน้าไม้ฯได้บ่อยครั้งแล้ว ท่านจะอยากมีก้านฯที่ยาวไว้ใช้ต่อไปอยู่อีกหรือเปล่าครับ เพราะความยาวก้านฯนั้นไม่เหมาะกับวงสวิง และสรีระของท่านแล้ว ควรนำมาปรับ / แต่งความยาวและทำน้ำหนักใหม่ เพื่อชดเชยในสิ่งที่ขาดหายไปอยู่ให้สมบูรณ์
(**ในปี 2010 PGA Tour ใช้ก้าน Driver ยาวที่สุดเฉลี่ยไม่เกิน 45" ซึ่ง Tiger Woods เคยใช้เพียง 43.5" ในสมัยยังใช้ก้าน Driver ที่เป็นก้านเหล็กอยู่ **)

เพราะฉนั้น ระยะ (Distance) และ ความแม่นยำ (Accuracy) ในเรื่องของการปรับ / แต่งอุปกรณ์ไม้กอล์ฟแล้วต้องให้ได้ความสมดุลย์ และเหมาะสมกัน ของลักษณะ ความเร็วหัวไม้ (Clubhead Speed) ความยาวก้าน (Shaft Length) และน้ำหนักก้าน (Shaft Weight) ต้องสัมพันธ์และให้ได้ประสิทธิภาพสูงสุด กับนักกอล์ฟในแต่ละคนที่มีไม่เหมือนกัน


ยกตัวอย่าง หากท่านไดร์ฟได้ไกล 280 หลา เพียง 3 ใน 10 ลูก ที่อยู่ในแฟร์เวย์ (มีแต่ ระยะ (Distance) อยู่ส่วนน้อยและขาดความแม่นยำ (Accuracy) และถ้าหากท่าน Drive ได้ 260 หลา จาก 7 ใน 10 ลูก อยู่ในแฟร์เวย์ ด้วยความเร็ว (Swing Speed) เดียวกัน ท่านลองคำนวณเมื่อเทียบเป็นเปอร์เซ็นต์ซิว่า ท่านต้องการไม้กอล์ฟแบบไหน??
**แต่ถ้าท่านแข่งขันตีไกล (Longest Drive) ก็เป็นอีกเรื่องหนึ่ง คือ เขานับลูกที่ไกลที่สุด 1 ใน 3 หรือ  1 ใน 5 ลูก โดยไม่มีการนับแต้ม (Scoring)**

แต่ถ้าท่านต้องการไดร์ฟให้ได้ 280 หลา และมีความแม่นยำมากขึ้นด้วย ต้องนำ Driver ท่านมาปรับ / แต่ง ตามหลัก Club fitting เพื่อให้ได้ตามวัตถุประสงค์ตามต้องการ เพราะสเปคไม้กอล์ฟเช่นนั้นไม่ได้มีวางจำหน่ายทั่วไป  ตามอย่างที่ท่านต้องการ

14 กันยายน 2554

สวิงเวจท์ (Swing Weight) / น้ำหนักรวม (Total Weight)

นักกอล์ฟส่วนใหญ่จะพูดถึงสวิงเวจท์ (Swing Weight) ที่ชอบ หรือที่เคยใช้อยู่ กับไม้กอล์ฟหนึ่ง จะจดจำและยึดติดกับ SW นั้นว่าดี / เหมาะกับตัวเอง เพื่อนำไปใช้ตลอด เมื่อไรก็ตามที่มีการปรับ / เปลี่ยนไม้กอล์ฟแต่ละครัง ก็จะเรียกหา SW นั้นที่ต้องการ ซึ่งไม่ค่อยถามถึงน้ำหนักก้าน / น้ำหนักรวมไม้กอล์ฟ (Shaft Weight & Total Weight) สักเท่าไร

14" จากปลายกริ๊ป ถึงจุด Fulcrum
สวิงเวจท์ (Swing Weight) คือ สัดส่วนในการกระจายน้ำหนักของไม้กอล์ฟ มีจุดศูนย์กลางห่างจากปลายกริ๊ป 14" และมีค่ากำหนดเป็น A0-9, B0-9, C0-9, D0-9, ... เป็นตัวกำหนดความรู้สึก (Feel) ในการสวิง ซึ่งไม่ใช่ ค่าของน้ำหนักรวมไม้กอล์ฟ (Total Weight หรือ Gross Weight) การปรับหาสวิงเวจท์ควรเป็นขั้นตอนสุดท้ายที่ควรคำนึงถึง

ทำไมต้องคำนึงถึงน้ำหนักก้าน / รวม (Shaft & Total Weight) ก่อน Swing Weight???

ให้ลองนึกถึงการใช้ค้อนตอกตะปูซิครับ หากท่านต้องการตอกตะปูตัวใหญ่สักตัว ให้จมลงไปในเนื้อไม้ แล้วท่านคิดว่าควรจะมีขนาดค้อนเท่าไร จึงจะทำให้การตอกตะปูเป็นไปอย่างง่ายดาย ซึ่่งค้อนนั้นต้องมีน้ำหนัก (Appropriated WEIGHT) และความยาว (Length) ที่เหมาะสม จึงสามารถสร้าง และส่งพลัง (Power) จากตัวท่านไปที่ตะปูได้อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด
เพราะฉนั้นควรเลือกน้ำหนักที่เหมาะสมกับท่าน (Physical strength) และผลงานที่ต้องการ (Outcome Need) ได้ ทั้งนี้เพราะเรากำลังพูดถึงการสร้างพลัง (Power) หรือหมายถึงน้ำหนักรวมที่ทำให้ได้ผลงาน หรือระยะ (Distance) ที่ต้องการนั้นเอง

เพราะฉนั้นน้ำหนักก้านไม้กอล์ฟ (Shaft weight) และ น้ำหนักรวมไม้กอล์ฟ (Total Weight) เป็นสิ่งสำคัญ และควรคำนึงถึงมากกว่าค่า Swing Weight เพราะ SW เป็นตัวกำหนดความรู้สึก (Feel) ของการสวิง ไม้กอล์ฟที่มีก้านน้ำหนัก 90 กรัม มี SW ที่ D2 ย่อมมีความแตกต่างอย่างสิ้นเชิงกับไม้กอล์ฟที่มีก้านน้ำหนัก 60 กรัม และมี SW ที่ D2 ที่เหมือนกัน เพราะฉนั้นท่านควรคำนึงถึง น้ำหนักก้าน (Shaft Weight) และ น้ำหนักรวม (Total Weight) เป็นอย่างแรกก่อนที่จะปรับหา SW ที่ท่านรู้สึก (Feel) และต้องการกับไม้กอล์ฟนั้นๆ หากท่านเริ่มจากการปรับหา SW ที่ต้องการก่อนแล้ว ท่านก็จะไม่สามารถได้ผลงาน (Outcome) ที่ท่านต้องการได้ เพราะฉนั้น สวิงเวจท์ (SW) คือค่าความรู้สึก (Feel Factor) แต่ไม่ใช่ค่าของพลัง (Power Factor)

5 กันยายน 2554

การจัดแนวดีดของก้านไม้กอล์ฟ หรือ จุด Sweet Spot บนก้านไม้กอล์ฟ

ไม้มีไม้ก้านไม้กอล์ฟอันไหนเลยที่จะมีความเรียบกลมเท่ากันตลอด 360 องศา ไม่ว่าจะเป็นก้านฯราคาถูกหรือแพง ที่จะวางก้านฯให้ได้การดีดที่ดีที่สุดในทุกๆจุดบนก้านฯ เพราะฉนั้นควรมีตำแหน่ง / ด้าน ของก้านฯที่ดีที่สุดอยู่ด้านเดียวกับหน้าไม้ (Club Face)

แล้วด้านไหนของก้านฯล่ะที่ควรอยู่ตรงกับหน้าไม้ เพื่อให้ได้การดีดของก้านฯที่มีความเสถียร และมั่นคงที่สุด ในขณะก้านไม้กอล์ฟงอตัวดีด (Most Stable Plane of Shaft Bending) ซึ่งเรียกว่า PPOP (Principle Planer of Oscililation Plane)

ก้านไม้กอล์ฟโดยทั่วไปที่ประกอบเสร็จเรียบร้อยแล้วมาจากโรงงาน ไม่วางแบนด์ใดๆก็ตาม ที่นำมาวางขายอยู่บนชั้นทั่วไปนั้น จะมี Logo ของแบนด์นั้นต่างวางเรียงอยู่ด้าน / แนวเดียวกันของก้านไม้กอล์ฟนั้นๆเหมือนกันหมดในทุกไม้ฯ ซึ่งนั่นก็เป็นมาตรฐานการผลิตจากโรงงาน (Mass Production) ที่พบเห็นกันอยู่ทั่วไปของไม้กอล์ฟ และจะมีอยู่ 2 ด้านก็คือ
  1. วางยี่ห้ออยู่ด้านบน (Logo Up) เวลายืนจรด address จะเห็น Logo แบนด์นั้นๆ ได้ชัดเจนวางอยู่ในแนวเดียวกันในทุกๆไม้กอล์ฟ เป็นการโฆษณาไปในตัวเลยทีเดียว
  2. วางยี่ห้ออยู่ด้านล่าง (Logo Down) เวลายืนจรดไม้กอล์ฟ จะมองไม่เห็น Logo เพื่อหลีกเลี่ยงการรบกวนสายตานักกอล์ฟ แต่จะเรียงอยู่แนวเดียวกันด้านล่างในทุกๆไม้ เช่นเดียวกัน
 นักกอล์ฟมืออาชีพ หรือมือดี (Best Player in the world) จะต้องนำไม้กอล์ฟเหล่านั้นมาประกอบ หรือจัดการวางแนวการดีดใหม่ให้ดีที่สุด และต้องวางให้ตรงด้านเดียวกับหน้าไม้ของทุกๆไม้กอล์ฟ เพื่อให้ได้ประสิทธิภาพการดีดที่เสถียร และเต็มที่ที่สุด การจัดวางเรียงแนวนั้นในสหรัฐอเมริกาเรียกกันว่า การทำ PUREing ก้านไม้กอล์ฟ หรือ SST PURE (ซึ่งในบ้านเราเรียกกันว่าจัดกระดูกก้าน หรือ Spine ก้าน)

ซึ่งการจัดกระดูก (Spine Alignment) ของก้านไม้กอล์ฟนี้ส่วนใหญ่จะเข้าใจว่าเป็นการหาจุดที่แข็ง หรือสันของก้านไม้กอล์ฟ (Spine Position) ซึ่งเป็นความคิดที่ไม่ถูกต้องนัก เพราะก้านไม้กอล์ฟ จะมีสัน 2 ตำแหน่งบ้าง หรือ ตำแหน่งเดียวบ้าง ซึ่งต้องเข้าใจว่าจุดไหนเป็นจุดที่ดีดดีที่สุด (PPOP) ที่เป็นจุด Sweet spot บนก้านไม้กอล์ฟ นั่นเอง หากวางไม่ตรงตำแหน่ง หรือด้านนั้นแล้วก็ไม่สามารถเรียกประสิทธิภาพการดีดของก้านนั้นที่เสถียรที่สุดอย่างเต็มที่
เพราะฉนั้นท่านนักกอล์ฟลองสังเกตุไม้กอล์ฟของท่านที่มีอยู่ว่าเป็นอย่างที่กล่าวมาแล้วหรือไม่ และหากท่านต้องการมีด้าน Sweet Spot ของก้านฯที่ดีที่สุด เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพไม้กอล์ฟที่มีอยู่ ด้วยการจัดตำแหน่งการดีดใหม่ให้ถูกต้อง ท่านก็จะทราบได้ว่าเป็นเพราะอะไรถึงได้เป็นเช่นนั้นเหมือนได้ไม้ใหม่เลยทีเดียว จะประหยัดกว่าการมองหาเพื่อเปลี่ยนไม้กอล์ฟใหม่เสียอีก

1 กันยายน 2554

เลือกพัตต์เตอร์ให้เหมาะกับสโตรกการพัตต์ของคุณ

มีนักกอล์ฟส่วนใหญ่บ่นหลายครั้งว่า ชอบพัตต์ตบ (Pull Putting Stroke) เข้าซ้ายอยู่ประจำ (คนถนัดขวา) และไม่รู้ว่าเป็นเพราะอะไร เป็นเพราะการพัตต์ หรือว่าเป็นเพราะอุปกรณ์ ซึ่งทำให้ไม่รู้สาเหตุที่แท้จริงว่าเป็นเพราะอะไรจะได้แก้ใขให้ถูกต้องซะที บ้างก็โทษตัวเองว่าพัตต์ไม่ดี บ้างก็โทษอุปกรณ์ และหาเรื่องเปลี่ยนพัตต์เตอร์ใหม่ (ซึ่งที่บ้านก็มีอยู่หลายอันแล้ว)

คราวนี้ลองตรวงเช็คลักษณะพัตต์เตอร์ของท่านที่มีอยู่ในถุงกอล์ฟตอนนี้ซิว่ามีลักษณะ และเหมาะกับการพัตต์ของท่านไหมอย่างไร ซึ่งสามารถตรวจเช็คได้อย่างง่ายๆได้ ว่าหน้า Putter ของท่านเป็นแบบไหน จะได้เลือกใช้ได้อย่างถูกต้องเสียที

พัตต์เตอร์หน้าสแควร์ (Face Balance Putter)
พัตต์เตอร์หน้าสแควร์ จะมีลักษณะการออกแบบให้มีจุดศูนย์ถ่วง (Center Gravity) ของหัวพัตต์เตอร์ไกลจากหน้าไม้ ทำให้เกิดความเสถียร / มั่นคง เมื่อมีการพัตต์ ทำให้หน้าไม้สแควร์กับแนวเล็งได้มากขึ้น

หน้าตาของพัตต์เตอร์แบบนี้จะสังเกตได้ง่ายมาก จะมีลักษณะใบกว้าง และลู่มาด้านท้าย เมื่อนำก้านพัตต์มาวางบนขอบโต๊ะแล้ว หน้าไม้จะสแควร์กับระนาบพื้น สิ่งนี้เองซึ่งเป็นต้นแบบของการคิดค้น และพัฒนาการออกแบบมายัง ใบเหล็ก และหัวไม้ Driver/Fairway ในปัจจุบันนั้นเอง ที่มีปริมาตรเพิ่มขึ้นถึง 460CC ให้ความเสถียรหัวไม้มากขึ้น ที่เราเรียกกันว่าค่า MOI (Moment Of Inertia) นั่นเอง

พัตต์เตอร์แบบนี้เหมาะกับนักกอล์ฟที่มีลักษณะ หรือสไตล์การพัตต์ (Putting Stroke) แบบสแควร์ (Square Stroke) คือ การพัตต์ทั้ง In & Out อยู่ในแนวเส้นตรง (Backward Square และ Forward Square)

พัตต์เตอร์หัวตก (Non-Face Balance Putter)

พัตต์เตอร์แบบนี้จะมีจุดศูนย์ถ่วง (Center Gravity) ของใบพัตต์เตอร์อยู่ใกล้กับหน้าไม้มากกว่า น้ำหนัก Balance ไปอยู่ที่ปลาย (Toe) มากกว่า ซึ่งทำให้ความเสถียรหน้าไม้ (Stabilization) ก็จะน้อยกว่าพัตต์เตอร์แบบแรก การพัตต์ให้สแควร์จะยากกว่า ซึ่งเป็นลักษณะท่านคุ้นตาในพัตต์เตอร์แบบนี้มานานแล้ว เป็นการออกแบบมาแล้วเมื่อหลายปีก่อน

ลักษณะก็คล้ายๆ กับการออกแบบใบเหล็กที่เป็น Blade หรือ หัวไม้ Driver / Fairway เมื่อก่อนที่มีปริมาตรน้อย ซึ่งในปัจจุบันนี้จะได้รับความนิยมน้อยลงเช่นเดียวกัน

เหมาะกับนักกอล์ฟที่มีลักษณะการพัตต์ (Putting Stroke) แบบบานประตู (Swing Stroke) คือแนวการพัตต์คล้ายการเปิดบานประตู ซึ่งเมื่อพัตต์ลูกกอล์ฟแล้วจะทำให้หน้าไม้กลับมาสแควร์ได้ดีกว่า

เพราะฉนั้นลองพิจารณาเลือกดู หรือลองใช้พัตต์เตอร์แบบใดแบบหนึ่ง ที่เป็นเหตุ เป็นผลดังที่กล่าวมาแล้วว่า อันไหนที่จะเหมาะกับการพัตต์ของท่าน เพราะลักษณะของการออกแบบอุปกรณ์ และการเลือกใช้อุปกรณ์ที่เหมาะสมเท่านั้น จะทำให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุดกับนักกอล์ฟในแต่ละคนไปครับ

(**อย่างน้อยหากได้ลดการพัตต์จากปกติ 2 สโตรกบ้าง ใน 18 หลุม = 36 สโตรก ก็จะเป็นการดีกว่าไหมครับ**)

14 สิงหาคม 2554

คุณสมบัติของก้านไม้กอล์ฟ (Shaft Profile) และการเลือกก้านไม้กอล์ฟ

ก้านไม้กอล์ฟที่วางจำหน่ายในท้องตลาดปัจจุบันนี้มีมากมายหลายแบนด์ มีทั้งหลากหลายระดับราคา และคุณภาพ ตามที่ได้โฆษณาไว้ แต่ท่านนักกอล์ฟจะทราบได้อย่างไรว่า ก้านไม้กอล์ฟที่ดีและเหมาะกับท่านจริงๆ ควรจะเป็นแบบใด และควรเลือกอย่างไรถึงจะได้คุณสมบัติที่ใช่ หรือใกล้เคียงกับท่านที่สุด

Shaft construction
องค์ประกอบพื้นฐานของก้าน ก็จะไม่แตกต่างกัน แล้วแต่ว่าจะถักทอ หรือทำให้หนา / บาง  เพื่อให้ได้ออกมาเป็นก้านไม้กอล์ฟที่มีองค์ประกอบให้ได้ จุดดีด และมีน้ำหนักรวมตามที่กำหนดไว้อย่างไร

การเลือกก้านไม้กอล์ฟนั้น สิ่งที่ควรคำนึง เพื่อที่จะได้ก้านที่ดี และมีประสิทธิภาพเหมาะกับนักกอล์ฟแต่ละท่าน เรียงตามลำดับความสำคัญดังต่อไปนี้
  1. น้ำหนักก้าน (Raw Shaft Weight)
  2. ความแข็งของก้าน (Flex) หรือ ค่า CPM ที่เป็นตัวเลข
  3. จุดดีดของก้าน (Kick Point)
  4. การประกอบก้านไม้กอล์ฟ (Club Assembly & Fitting) ให้ได้สเปคที่เหมาะสม
  5. เรื่องราคา (Price) หรือ ยี่ห้อดังๆ (Brand) เป็นประเด็นสุดท้ายที่พิจารณา


**ก้านไม้กอล์ฟในท้องตลาดนั้นมีให้เลือกเป็นหลายสิบแบนด์ และมีเป็นร้อยๆรุ่น ออกมาจำหน่ายแล้ว เดี๋ยวก็ออกรุ่นใหม่มาอีก คราวนี้แหละท่านว่าอันไหนล่ะดีที่สุดสำหรับท่าน หากไม่มองคุณสมบัติที่แท้จริงของก้านไม้กอล์ฟที่จะนำไปใช้งานจริง หรือหากว่าท่านต้องการจะลองเปลี่ยนก้านฯไปเรื่อยๆ อันนี้ก็ขึ้นอยู่กับกำลังทรัพย์แล้วครับ สิ่งที่ควรพิจารณาในการเลือกก้านตามลำดับ และรายละเอียดดังนี้

น้ำหนักก้าน (Shaft Weight)
เป็นคุณสมบัติประการแรกที่สำคัญในการเลือกเปลี่ยนก้านไม้กอล์ฟใหม่ น้ำหนักก้านเป็นส่วนสำคัญอีกส่วนหนึ่งของถ่ายทอดพลังงาน (Dynamic Energy Transfer) จากนักกอล์ฟไปยังลูกกอล์ฟได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ เช่น นักกอล์ฟที่มี สวิงที่เร็ว (Fast Swing Speed ) หากเลือกก้านที่เบากว่าความสามารถของการสวิงแล้ว ก็จะทำให้ไม่ได้ระยะที่ควรจะได้
ท่านไม่ควรกังวลกับเรื่อง Torque ให้มากนัก เพราะส่วนใหญ่ที่พบเห็นกันเสมอ คือ ก้านที่หนักขึ้น Torque ก็จะน้อยลง และก้านที่เบา ก็จะมี Torque ที่มากขึ้นเป็นธรรมชาติของการผลิต ซึ่งค่า Torque นี้จะเป็นตัวกำหนดการต้านแรงบิดตัวของก้านฯในขณะ Down Swing ซึ่งหมายถึงการควบคุมการ Impact ของหน้าไม้นั้นเอง
Torque น้อยการบิดตัวน้อย ผนังก้าน (Wall Thickness) จะมีความแข็งและบิดตัวกว่า ให้มองหาน้ำหนักก้าน (Shaft Weight) ที่เหมาะกับวงสวิง และความแข็งแรงร่างกายเป็นสำคัญ

จุดดีด (Kick Point)
จะเป็นคุณลักษณะของก้านที่ทำตามแผนการผลิตที่กำหนดไว้มาแล้ว เช่น Low / Mid / High ท่านจะไม่ค่อยพบก้านฯที่เป็น High Kick อย่างเดียวออกมาจำหน่ายในท้องตลาด และจะพบเห็นแค่ Low และ Mid kick หรือแบบผสม Low-Mid ในก้านเดียวกัน เพราะตลาดใหญ่กว่า
สิ่งที่ต้องให้ความสำคัญในการเลือกจุดดีดนี้ ท่านต้องทราบว่าท่านต้องการ Ball Flight หรือ การเหินของลูก (Trajectory) อย่างไร และยังเกี่ยวข้องกับ การหมุน (Spin rate) ของลูกกอล์ฟด้วยเช่นกัน
Low Kick ให้ Ball Flight ที่สูง และ Spin มาก ในทางตรงกันข้าม Mid-High kick ให้ Ball Flight ต่ำ และ Spin น้อยกว่า
Frequency Analyzer Machine

ความอ่อนแข็ง (Flex) หรือ ค่าการดีด (CPM
ยังมีนักกอล์ฟหลายท่านยังยึดติดกับค่าของ flex ที่บอกบนก้านฯ เช่น ค่า R / S / X ก็แล้วแต่จะกำหนดเรียก แต่ท่านทราบหรือไม่ว่า ค่าเหล่านั้นไม่มีค่าใดเป็นมาตรฐานเลย จะสามารถทราบได้อย่างแท้จริงต้องเป็นค่าของการดีดก้านฯ คือค่า CPM (Circle Per Minute) ที่ต้องใช้เครื่องวัดการดีด (Frequency Analyzer) เท่านั้น จึงจะสามารถบอกค่าความอ่อนแข็งของก้านนั้นเป็นเท่าใด
ท่านนักกอล์ฟคงเคยพบว่าก้าน R (Regular) ของแบนด์หนี่ง แต่ให้ความรู้สึกเท่ากับก้าน S (Stiff) ของอีกแบนด์หนี่ง หรือบางรุ่นก็ไม่บอกค่า แต่บอกเป็นดัวเลข แทนตัวอักษร เช่น 5.0 / 5.5 หรือ 6.0 ท่านต้องควรยึดค่า CPM ของก้านไว้เป็นสำคัญจะดีที่สุด

Shaft Profiling
การประกอบไม้กอล์ฟ (Club Assembly & Fitting)
อย่างที่ได้เคยกล่าวไปแล้วนั้นว่า ก้านไม้กอล์ฟไม่สามารถทำงานและให้ประสิทธฺิภาพด้วยตัวของมันเองเพียงลำพัง จำเป็นต้องทำงานร่วมกับ น้ำหนัก และรูปแบบของหัวไม้ที่เหมาะสมกับวงสวิง / การตัดแต่งความยาวก้าน (Tip & Butt Trim) ที่ดี / การจัดแนวดีดที่เสถียรที่สุดของก้าน (Most stable Oscillation Side) หรือจัด Spine alignment   ในตำแหน่งที่ดีที่สุด เพราะไม่มีก้านไม้กอล์ฟอันไหนที่จะกลมเรียบ เท่ากันทั้ง 360 องศา หรือไม่มีแกน (Spine) เพราะฉนั้นจะมีด้านที่เสถึยรที่สุดเท่านั้น และต้องอยู่ด้านเดียวกับหน้าไม้ เพื่อให้การดีดของก้านสมบูรณ์ที่สุด ได้ประสิทธิภาพการดีดสูงสุด

หากได้ก้านไม้กอล์ฟที่มีคุณสมบัติที่เหมาะสมดีแล้ว แต่นำมาประกอบ ปรับแต่งการกระจายน้ำหนัก (Weight Distribution) ที่เข้ากันแล้วไม่ได้ประสิทธิภาพสูงสุด มันก็ไม่ต่างอะไรกับไม้กอล์ฟทั่วๆไป เสียเงินราคาแพง แต่กับได้ก้านที่ทำงานไม่คุ้มค่าที่เสียไป

ราคาก้าน และ ก้านยี่ห้อดังๆ
ราคา และ แบนด์ ควรเป็นส่วนที่ถามถึงเป็นประเด็นสุดท้าย ซึ่งก้านที่มีราคาแพงใช่ว่าจะทำให้ท่านนักกอล์ฟใช้มันได้อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด อาจราคาสูงเพราะปัจจัยอื่นในการตลาด เช่น ค่าโฆษณา / สปอนเซอร์นักกีฬา & ร้านค้า ราคาไม่ได้หมายถึงคุณภาพที่แท้จริงเสมอไป ในการเลือกซื้อก้านไม้กอล์ฟ  (แต่หากว่าท่านต้องการผลทางจิตวิทยา ก็เป็นอีกเรื่องหนึ่ง) ก้านไม้กอล์ฟที่มีราคาแพง แต่ตีออกมาแล้วได้คุณสมบัติ และความรู้สึกที่ไม่แตกต่างอะไรกับก้านฯอื่นๆก็มี ที่พบเห็นอยู่ทั่วไปบ่อยครั้ง เชื่อว่านักกอล์ฟหลายท่านที่มีประสบการณ์น่าจะเข้าใจ จากนั้นก็ต้องนำมาขายขาดทุนต่อไป ไม่รู้ว่าจะลงตัวที่ก้านแบบไหนดี

เพราะฉนั้นท่านควรพิจารณาว่าก้านไม้กอล์ฟแบบไหนที่เหมาะกับท่าน และให้ประโยชน์แก่ท่านคุ้มค่ากับการลงทุนที่สุด ลองปรึกษา Professional Club Fitter (ไม่เน้นงานขาย) หรือร้าน Pro Shop ที่มีอุปกรณ์ เครื่องมือที่สนับสนุน และการแนะนำดังกล่าวเท่านั้น ที่จะมีคำตอบตรงประเด็นให้กับท่านได้ดีที่สุด

18 กรกฎาคม 2554

จำหน่ายเครื่องมือซ่อม-ปรับ-แต่ง ไม้กอล์ฟ และทำ Club Fitting มาตรฐานสากล, เครื่องถอดหัวไม้, เครื่องชั่งสวิงเวท ฯลฯ

จัดหาอุปกรณ์ และเครื่องมือ Club Maker ที่เป็นมาตรฐานสากลจากต่างประเทศ ให้ความเที่ยงตรงและแม่นยำอย่างมืออาชีพในการประกอบ และปรับแต่งไม้กอล์ฟในทุกๆครั้ง สำหรับผู้ที่ต้องการไว้ประกอบอาชีพ เปิดร้าน Pro Shop หรือในทีมกอล์ฟ/สมาคมกอล์ฟ





     

  • เครี่องถอดหัวไม้กอล์ฟ (Shaft Extractor) 
  • เครื่องชั่งสวิงเวทจ์ (Swing Weight Scale) 
  • เครื่องดัดองศาหน้าไม้ (Loft & Lie Alteration)
  • เครื่องตรวจสอบคุณภาพก้าน (Shaft Testing)
  • เครื่องวัดการดีด / ความถึ่ของก้าน CPM (Frequency Analyzer)
  • เครื่องจับยึดก้านไม้ (Vise Clamp)
  • เครื่องขัด Ferrule และตัดก้าน (Compact Ferrule Finishing and Shaft Cutting)
  • เครื่องถอดประกอบกริ๊ป Grip Station)

    **สินค้าเครื่องมือ & อุปกรณ์ Club Fitting ทุกชิ้นผลิตตามมาตรฐานสากล และนอกเหนือจากรายการดังกล่าวแล้วนั้น สามารถสอบถามสั่งซื้อเพิ่มเติมได้ ตามความต้องการครับ**

    สนใจติดต่อสอบถามเพิ่มเติม หรือต้องการสินค้าอื่นๆที่ต้องการ ได้ที่ Tel 086-535-5579  หรือ Line ID : tomiyaclubfitting สินค้าจัดส่ง EMS ทั่วประเทศ (ราคาไม่รวมค่าจัดส่ง)
    (***สำหรับผุ้ที่ลงเรียนกับ Tomiya Club Fitting School จะได้รับส่วนลดพิเศษจากราคาดังกล่าว***)

    1 กรกฎาคม 2554

    MOI / CPM / Swing Weight Matching

    ส่วนใหญ่นักกอล์ฟจะรู้จักคำว่า สวิงเวทจ์ (Swing Weight) เพื่อประโยชน์ในการเลือกไม้กอล์ฟ หรือการโมดิฟายไม้ให้ถูกใจในแต่ละครั้ง และก็จะจดจำว่าสวิงเวทจ์ในไม้กอล์ฟนั้นที่ตัวท่านเองชอบนั้นมีค่า SW ที่เท่าไร ก็จะยึดติดและพอใจกับ SW นั้นตลอดไป และเมื่อใดก็ตามที่ต้องการปรับ หรือหาไม้กอล์ฟใหม่ หรือโมดิฟายไม้กอล์ฟ ก็จะเรียกหา SW นั้นในทุกๆครั้งไป

    ซึ่งที่จริงแล้วก็เป็นสิ่งที่ดี แต่ไม่ถูกต้องเสียทีเดียว เพราะไม้กอล์ฟในแต่ละอันนั้น มีส่วนประกอบที่ไม่เหมือนกัน ที่ท่านควรคำนึงถึง เช่น น้ำหนักรวม (Total Weight) และความยาวก้าน (Length) ด้วย ไม่ควรใช้ SW ที่ชอบ ในทุกๆไม้กอล์ฟที่ต่างกันออกไปด้วย เช่น ต่างยี่ห้อ / ต่างรุ่น และต่างน้ำหนัก เพราะ SW ที่เท่ากัน แต่มีน้ำหนักไม้รวม (Total Weight) หรือ ความยาวก้าน (Length) ที่ต่างกันได้ ซึ่งทำให้มีจุดดีด (Kick Point หรือ Flex point) ที่แตกต่างกันออกไป ในไม้กอล์ฟที่มี SW ที่เท่ากัน

    ตัวอย่างเช่นท่านชอบ SW ที่ D2 ในไม้กอล์ฟอันหนึ่ง แต่ท่านอาจได้ D2 ในไม้กอล์ฟอีกอันหนึ่งที่ให้ประสิทธิภาพไม่เหมือนกันได้ นั่นขึ้นอยู่กัน น้ำหนัก หัวไม้ (Head Weight) / น้ำหนักก้าน (Shaft Weight) / ความยาวก้าน (Length) และ น้ำหนักกริ๊ป (Grip Weight) ที่แตกต่างกันออกไป เพราะฉนั้น Swing Weight (SW) นั้นให้ความรู้สึก (Feel) กับนักกอล์ฟแต่ละคนที่ไม่เหมือนกัน เนื่องจากความแข็งแรงที่ไม่เหมือนกัน  ที่ให้ประสิทธิภาพที่แตกต่างกัน เมื่อส่วนประกอบไม้ (หัวไม้/ก้าน/กริ๊ป) ที่แตกต่างกันออกไป

    ดังนั้นคำว่า MOI (Moment of Inertia) และ ค่า CPM (Circle Per Minute) จึงเข้ามามีบทบาทเกี่ยวข้อง กับสวิงเวทจ์อย่างแยกตัวไม่ออก ในเรื่องของ Club Fitting


    MOI matching หมายถึง ค่าของความมั่นคงที่เสถียร (Stable) ของไม้กอล์ฟทั้งไม้ขณะเคลื่อนที่เข้าสู่จุดปะทะลูก (Impact) ซึ่งควรมีค่าที่เหมาะสมกับนักกอล์ฟในแต่ละคนที่ไม่เหมือนกัน เมื่อ MOI ที่มากขึ้นอาจมีน้ำหนักมากขึ้น และ SW มากขึ้นก็มีความรู้สึกที่หัวไม้มากขึ้นเช่นเดียวกัน  

    MOI จะทำให้หน้าไม้มีความเสถียรและมั่นคง เมื่อตีไม่ตรงกลางหน้าไม้ (Off-Center) และส่งผลให้เกิดพลังงานถ่ายเทไปยังลูกกอล์ฟได้ดี ก้านไม้กอล์ฟที่ยาวกว่าจะมี MOI และ SW ที่มากกว่า จะได้ความรู้สึกที่หนักหัวไม้ แต่เมื่อมีก้านไม้กอล์ฟที่ยาวและหัวไม้ที่เบา ก็ทำให้พลังงานถ่ายเท และ การควบคุมให้หน้าไม้เข้าปะทะลูกที่ดีก็ลดลงไปเช่นเดียวกัน

    เพราะฉนั้นการเลือกหา SW ที่เหมาะสมกับท่านนักกอล์ฟควรคำนึงถึง MOI matching ที่เหมาะสมด้วยครับ ไม่ควรยึดติดกับ SW อย่างเดียว เพราะ SW ให้ความรู้สึก (Feel) แต่ MOI ให้ประสิทธิภาพของการปะทะลูก (Impact) ที่ดี ซึ่งมีผลทำให้การดีดตัว (CPM) ของก้านไม้กอล์ฟแตกต่างกันออกไปด้วยครับ ท่านจะเห็นได้ชัดเจนยิ่งขึ้นในชุดเหล็กที่มี SW ที่เท่ากันแต่ความยาวก้านที่ไม่เท่ากัน จะเห็นความแตกต่างในเรื่อง SW ที่มี MOI ไม่เหมาะสม ซึ่งทำให้การสวิงของท่านมีความรู้สึกที่แตกต่างกัน โดยเฉพาะในเหล็กยาว

    เลือก SW ที่ MOI Matching ด้วยท่านจะได้ความรู้สึกในการสวิงอย่างยอดเยี่ยม แตกต่างไปจากเดิม ควรปรึกษาผู้มีความรู้เรื่อง Club Fitter และสามารถจัด SW ที่ Matching กับ MOI อย่างไรให้ท่านได้อย่างเหมาะที่สุด

    9 มีนาคม 2554

    เลือกซื้อไม้กอล์ฟที่ดีควรเป็นอย่างไร?? (How to clarify the Good Golf Clubs???)

    ไม้กอล์ที่ดีควรเป็นอย่างไร??? วัตถุประสงค์ไม้กอล์ฟมีไว้เพื่ออะไร??

    ไม้กอล์ฟที่เหมาะสมควรมีประโยชน์ต่อนักกอล์ฟซึ่งย่อมแตกต่างกันไปตามวัตถุประสงค์ของนักกอล์ฟแต่ละคนในเกมส์กอล์ฟนั้นๆ  จำเป็นไหม?ต้องมีราคาแพง / ต้องเล่นในสนามกอล์ฟได้ดี ลดสกอร์ / เพียงให้เหมาะสมกับวงสวิง เพื่อลดการบาดเจ็บ หรือเบื่อหน่ายและเลิกเล่นเมื่อตีไม่ได้ ก็แล้วแต่มุมมองของท่านเองว่าต้องการอะไรจากมัน

    การผลิตไม้กอล์ฟที่วางขายในตลาดทั่วไปนั้น จะผลิตจัดทำให้เป็นไปตามมาตรฐานเพื่อตอบสนองความต้องการของนักกอล์ฟส่วนใหญ่ทั่วไป (General Demand) ไม่ใช่เฉพาะเจาะจง และเหมาะสมเฉพาะบุคคล (Personal Fit) โดยทำการผลิตตามแผนงาน (Production Plan) ที่ได้วางไว้ เช่น จำนวนการผลิต /  ขนาด Flex ที่นิยมในตลาด /โฆษณาในสื่อโฆษณาต่างๆ / สปอนเซอร์กับนักกอล์ฟมืออาชีพใช้ และตั้งราคาให้สูงดูดีมีคุณภาพ เพื่อให้ได้ผลตามแผนการตลาดที่วางไว้ แต่ประโยชน์ที่นักกอล์ฟนำไปใช้จริงในเกมส์กอล์ฟจะได้หรือไม่นั้น ยังไม่ทราบจนกว่าจะได้ใช้จริงในสนามกอล์ฟ

    ซึ่งท่านจะสังเกตุดูได้ว่าไม้กอล์ฟที่ออกมาใหม่ๆในทุกๆปี มีหลายรุ่นหลายแบบ เปลี่ยนโน้นนิด นี่หน่อยและตั้งราคาให้สูงมากๆ 18,000 - 25,000 บาท มีการโฆษณาประชาสัมพันธ์คุณสมบัติให้สมกับราคาที่ได้ตั้งไว้ดูดีมีสกุล เพื่อที่นักกอล์ฟหลายท่านจะได้ตัดสินใจซื้อมาลองใช้มัน เป็นแบบล่าสุดกำลังนำสมัย และราคาแพง ต้องดีแน่นอน ซึ่งก็ยังไม่แน่ใจคุณภาพว่าจะใช้มันได้จริงๆ เหมาะสมกับราคาที่ได้ซื้อมา

    ไม้กอล์ฟที่ซื้อสำเร็จรูปที่วางอยู่บนชั้น ท่านทราบหรือไม่ว่ามี ขนาดกริ๊ป / สวิงเวทจ์ / ความยาว และ ความอ่อน/เแข็ง (Flex) เหมาะกับวงสวิง (Swing speed) ท่านหรือไม่ นี่ยังไม่รวมถึงจังหวะสวิง (Swing Tempo) เพราะเป็นส่วนสำคัญในการพิจารณาวิเคราะห์วงสวิงที่แตกต่างกันอย่างไร เพียงเท่านี้ไม้กอล์ฟที่ซื้อมาสำเร็จรูปส่วนใหญ่แล้ว ท่านนักกอล์ฟก็พยายามปรับวงสวิงให้เข้ากับมันให้ได้ ด้วยวิธีนานัปการ เพราะได้ซื้อมันมาด้วยราคาแพงเสียด้วย

    มีส่วนน้อยที่โชคดีได้ไม้กอล์ฟนั้นเหมาะสมกับวงสวิงของท่านเอง แต่ส่วนมากพบว่าตีไม่ได้ หรือได้ไม่เต็มประสิทธิภาพของไม้กอล์ฟนั้นกับวงสวิงของท่านแล้ว ซึ่งไม่คู่ควรกันเลยก็ไม่อยากจะฝืนใช้มันต่อไปได้ และพยายามนำมันมาขายต่อในที่สุด หรือไม่ก็แลกเปลี่ยนเป็นไม้ใหม่ (Trade) ในกรณีอย่างนี้ซึ่งท่านไม่เคยรู้เลยว่าเป็นเพราะสาเหตุใดที่ตีไม่ได้ เพราะ น้ำหนัก Swing weight / Total weight มากน้อยอย่างไร หรือมีค่า Flex จริงๆเท่าไร ที่เหมาะกับวงสวิงของท่าน มันดูเหมือนว่าเป็นวงจรเช่นนี้อย่างถาวรอยู่ร่ำไปไม่จบสิ้น บางท่านก็มีไม้กอล์ฟอยู่หลายชุดมากในบ้านใช่ไหมครับ แต่ไม่รู้ว่าอันไหน คือชุดที่มีประโยชน์ที่สุดในเวลานั้น

    ไม้กอล์ฟใหม่สำเร็จรูปที่ราคาสูงใช่จะดี และเหมาะกับนักกอล์ฟในทุกๆคนทั้งหมด ก่อนที่ท่านจะตัดสินใจซื้อ หรือเปลี่ยนไม้กอล์ฟใหม่ ทำไมไม่เอาไม้กอล์ฟที่ท่านมีอยู้แล้ว หรือหาไม้กอล์ฟมือสองซึ่งราคาถูก ลองนำมันมาตรวจสอบหาค่าของไม้กอล์ฟ (Club Profiles) กับร้าน Club Fitting ที่ดีๆว่ามีคุณสมบัติอย่างไรเหมาะกับตัวท่านหรือไม่ และสามารถปรับ-เปลี่ยน แต่งให้เหมาะสมกับท่านตามศาสตร์ของวิชา Club Fitting ที่เป็นที่ยอมรับกันทั่วโลกในวงการกอล์ฟแล้วว่าดีที่สุดได้หรือไม่ (ซึ่งนักกอล์ฟอาชีพทั้ง 100% เขาทำ Fitting ไม้กอล์ฟให้เข้ากับตัวเองกันทั้งนั้น)

    ราคาไม้เก่า (มือสอง) หรือไม้เดิมที่มีอยู่ + ค่าปรับแต่งไม้ (Fitting) หรือ ซื้อแยก หัวไม้ + ก้าน + กริ๊ป + Fitting fee ประกอบใหม่ ยังประหยัดกว่าการเลือกหาไม้กอล์ฟใหม่ (ทั้งชุด) หรือ การหาแลกเปลี่ยนไม้ (ซื้อมา/ขายไป) ที่ไม่มีจุดหมาย เสียทั้งเงิน เสียทั้งเวลา ซึ่งอาจจะไม่ได้คุณภาพที่ตัวเองต้องการ ลองคิดดูนะครับว่าอย่างไหนคุ้มค่ากว่ากัน

    เพราะฉนั้นความรู้เรื่องการทำ Club Fitting ควรให้ความสำคัญกับเรื่องเหล่านี้ ที่สามารถทำให้ท่านตัดสินใจในการเลือกมีไม้กอล์ฟที่คุณภาพเหมาะกับตัวท่านจริงๆ ได้โดยไม่ต้องเสียทั้งเวลา ทั้งเงินเพื่อค้นหา / เปลี่ยนไม้กอล์ฟอยู่ร่ำไป ทำไม้ที่ท่านมีอยู่ หรือที่ประกอบใหม่ให้เข้ากับสรีระร่างกาย และความสามารถในการสวิงไม้กอล์ฟ ที่มีน้ำหนักไม้ และการดีดของก้านไม้เข้ากับท่าน (Match up) ท่านก็จะได้ไม้กอล์ฟที่เหมาะสม (Custom Made) ซึ่งอาจจะไม่มีสเปคขายเหล่านั้น ในท้องตลาดด้วยซ้ำเลยทีเดียว ซึ่งมีราคาที่มีคุณภาพกับเงินที่เสียไป

    นักกอล์ฟทั่วไปอาจแบ่งได้ 4 ประเภทดังนี้
    1. นักกอล์ฟแฟชั่น : ตีไม่ดีขอมีอุปกรณ์ที่ดีเอาไว้ก่อน เน้นมีราคาไว้โชว์ตอนซ้อม/ออกรอบ
    2. นักกอล์ฟออกงาน : มีไม้อะไรก็ตีได้ ไม่คำนึงถึง ราคา/สเปค ซื้อตามคำแนะนำ / โฆษณา
    3. นักกอล์ฟสมัครเล่น : ชอบเล่นกอล์ฟ หาอุปกรณ์อยู่เรื่อยไป ไม่ลงตัวสักที ไม่รู้สเปคตัวเองจริงๆ
    4. นักกอล์ฟจริงจัง : พัฒนาเกมส์กอล์ฟได้ดี เลือกเฉพาะอุปกรณ์เหมาะกับตัวเอง ไม่เปลี่ยนบ่อย
    ท่านว่านักกอล์ฟประเภทไหนควรเป็นนักกอล์ฟในใจท่าน???? อาจเป็นแบบเดียว หรือแบบผสมก็ได้ครับ!!!!