27 ธันวาคม 2560

เลือกไม้กอล์ฟอย่างไรเพื่อการนำมาใช้จริง หรือในแบบที่คุณชอบ

ในปัจจุบันนี้นักกอล์ฟจะพูดถึงการฟิตติ้งไม้กอล์ฟ #clubfitting กันมากขึ้นเรื่อยๆ จึงอยากอธิบายเรื่อง Custom Clubfitting เพิ่มเติมให้เข้าใจกันมากขึ้น

การทำฟิตติ้งไม้กอล์ฟ หรือการปรับแต่งไม้กอล์ฟให้มีประสิทธิภาพเพิ่มขึ้นนั้น จะพูดถึงคุณสมบัติ หรือส่วนประกอบไม้กอล์ฟ Specification ให้เหมาะสมกับนักกอล์ฟมากกว่าพูดเรื่องชื่อ/ยี่ห้อ (Tread Mark) เพราะชื่อ/ยี่ห้อไม่ได้ตอบโจทย์ทางฟิตติ้ง ที่จะเลือกได้เลย เช่น น้ำหนักรวม/น้ำหนักก้าน/ความยาวไม้ฯ/ขนาดกริ๊ป/ความอ่อน/แข็ง ที่ปลาย/โคนก้าน #CPM /องศาหน้าไม้ ฯลฯ

ชื่อ/ยี่ห้อเป็นเพียงค่าการตลาด ขาย/โฆษณา/สปอนด์เซอร์ให้ติดตลาด และสร้างเอกลักษณ์ที่แตกต่าง เพื่อให้ผู้บริโภคจดจำได้ง่าย แต่แท้ที่จริงส่วนที่สำคัญที่สุด คือคุณสมบัติข้างในมากกว่าชื่อ/ยี่ห้อเสียอีก เช่นตัวอย่างนักกอล์ฟอาชีพสามารถเปลี่ยนชื่อ/ยี่ห้อ ไม้กอล์ฟที่สปอนด์เซอร์ได้ แต่เปลี่ยนสเปคที่เขาชอบนั้นไม่ได้ เพราะยี่ห้ออะไรก็ตีได้หมด แต่ขอทำสเปคที่ชอบมากที่สุดให้ได้เท่านั้น

ดังนั้นผู้ให้บริการ Club fitter จะต้องเข้าใจสรีระ และทักษะความสามารถในเชิงกีฬากอล์ฟของนักกอล์ฟแต่ละคนที่ไม่เหมือนกัน และสามารถวิเคราะห์ตามศาสตร์ของการฟิตติ้งไม้กอล์ฟได้ ว่าควรมีคุณสมบัติที่ตอบโจทย์ความต้องการของนักกอล์ฟได้มากที่สุดนั้นอย่างไร

ไม้กอล์ฟ กับวงสวิงจะเป็นเรื่องที่สัมพันธ์กันอย่างมากๆ วงสวิงเป็นเรื่องหลัก 70% และอุปกรณ์ 30% วงสวิงเป็นเรื่องของการฝึกซ้อม และความชำนาญมีค่าความผิดพลาดเป็นเงาตามตัว ถ้าวงฯดีแล้ว สเปคอะไรก็ตีพอได้ แต่จะมีสเปคที่ชอบเพื่อสร้างเสริมความสามารถให้ถึงขีดสูงสุดได้ และถ้าวงฯยังไม่ดี สเปคก็ไม่รู้ ก็คงหาคำตอบได้นะครับ ว่าจะเหลือกี่เปอร์เซนต์

สเปคอุปกรณ์ที่ดีเป็นตัวช่วยเสริมวงสวิงให้ดีได้ แต่หากได้สเปคที่ดีเหมาะสมแล้ว ขาดการฝึกซ้อม การคุ้นชิน จึงคิดอยากเปลี่ยนอุปกรณ์ใหม่ตาม Character ของชื่อ/ยี่ห้อนั้นๆ เพราะคิดว่า ชื่อ/ยี่ห้อใหม่ๆ ที่จดจำนั้นน่าจะเป็นสเปคที่ตอบโจทย์ความต้องการได้ จนไม่รู้ว่าตัวเองเหมาะกับสเปคไหนจริงๆ แต่จำชื่อยี่ห้อที่ติดหูแทนที่สเปคจริงๆไปเสียแล้ว

Clubfitting ไม่ใช่การเปลี่ยนกริ๊ป เปลี่ยนก้าน โดยถามหาชื่อ/ยี่ห้อที่รู้จักมาเพื่อเป็นสเปคตัวเอง แต่ควรถามหาสเปค และคุณสมบัติที่เหมาะกับความสามารถของแต่ละคนที่แตกต่างกันมากกว่าครับ

5 ธันวาคม 2560

การเล่นกอล์ฟแบบลดสกอร์ ต้องการตีไกลไม่ใช่คำตอบเดียว

นักกอล์ฟสมัครเล่นทั่วไป จะมีความต้องการตีไกล และคิดที่จะเพิ่มระยะเพียงอย่างเดียว จนลืมนึกถึงเรื่องความสม่ำเสมอ (Consistency) และความแม่นยำ (Accuracy) ที่ควรมีตลอดการเล่นออกรอบ ดังนั้นการตีไกลจึงได้นำมาเป็นจุดขายทางการตลาดของบริษัทฯที่ผลิตไม้กอล์ฟออกมาโฆษณาจำหน่ายนั่นเอง

ก้านฯที่อ่อนเกินไป (Weak Flex) องศาหน้าไม้ (Less Loft Angle) ที่น้อยเกิน และความยาวก้าน (Long Club Length) ที่ยาวขึ้น บางครั้งทำให้รู้สึกว่าได้ระยะเพิ่มขึ้นเมื่อทดสอบตีในที่เดิมๆ หรือ ตีทดสอบในสนามไดร์ฟ เหมือนการแข่งตีไกล (ไม่ได้ออกรอบจริง) ซึ่งการออกรอบนั้นแท่นทีออฟจะเปลี่ยนไปในทุกๆหลุม

ซึ่งการเล่นกอล์ฟเพื่อลดสกอร์ (Stroke Play) ควรจะต้องมีความแม่นยำ และความสม่ำเสมอตลอด 18 หลุม โดยมีข้อผิดพลาดในทุกๆช๊อตให้น้อยที่สุด (ไม่ใช่การที่ตีไกลที่สุดเพียงอย่างเดียว) ซึ่งนักกอล์ฟมือดีๆ จนถึงระดับอาชีพจะคิดแบบนี้กันทั้งนั้น จะให้ความสำคัญกับช๊อตต่อไปที่เล่นดีที่สุด เสี่ยงเสียแต้มน้อยที่สุด

เพราะฉนั้นในการทำ Club Fitting จะไม่ได้พูดถึงเรื่องตีไกลเพียงอย่างเดียว จะฟิตติ้งในองค์รวมเพื่อทำให้นักกอล์ฟลดสกอร์ เพิ่มการควบคุมลูก /ความแม่นยำ เพื่อให้การเล่นมีประสิทธิภาพสูงสุดที่ควรจะได้ ตามทักษะ และความสามารถของนักกอล์ฟที่มีอยู่นั่นเอง


20 พฤศจิกายน 2560

Shaft Talk

ถ้าท่านทราบสเปคก้าน และเลือกก้านที่เหมาะกับตัวเองได้แล้ว เช่น

1. น้ำหนักก้าน (Raw shaft weight) : น้ำหนักก้านเปล่าก่อนตัด (Uncut) เหมาะสมกับความแข็งแรง และทักษะความสามารถ ซึ่งน้ำหนักก้านจะเป็นตัวแปรของ น้ำหนักรวมไม้กอล์ฟ (Total Weight)

2. ความอ่อน/แข็งโคนก้าน (Butt Shaft Flex) : ควรมีค่าเป็น CPM (ใช่ค่า R, S, X) ควรเป็นตัวเลขต่อความยาวก้านที่เท่ากัน ให้เหมาะกับทักษะ (Skill) และจังหวะการสวิง (Swing Tempo)

3. Bending point (Tip Flex) : จุดงอตัวดีดปลายก้านที่มีเป็นค่า CPM เช่นเดียวกัน กับความอ่อนแข็งที่โคนก้าน ให้เหมาะกับน้ำหนักหัวไม้ และตำแหน่งการคลายมือก่อนการอิมแพค (Late Unhinge Wrist) ที่จะกำหนดมุมเข้าบอล และมุมเหิน (Launch Angle) ตามมา

4. พิจารณาก้านฯร่วมกับหัวไม้ / ใบเหล็ก / น้ำหนักหัวไม้ / ตำแหน่ง C.G./ องศาหน้าไม้ / Face angle ที่จะนำก้านไปประกอบใช้ให้เหมาะกับฝีมือตัวเอง

5. การประกอบก้าน (Club Assembly) : ก้านที่เหมาะต้องประกอบก้านให้ได้สเปค ตรงกับทักษะ และสรีระที่แตกต่างกัน เช่น สวิงเวท / ความยาวก้าน / ขนาดกริ๊ป และจัดวางแนวดีดที่มีประสิทธิภาพสูงสุด (Neutral Bending Position)

6. ราคา (Price) : เป็นประเด็นสุดท้ายที่ควรพิจารณาเลือกก้านเพื่อนำไปใช้จริง (ใช่ไปโชว์) ควรประหยัดกว่าก้านที่มีสเปค 1-5 ที่กล่าวมาเหมือนกัน

แล้วชื่อแบรนด์ หรือสีสรร บนตัวก้าน จะยังจำเป็น หรือสำคัญต่อการเลือกเพื่อนำไปใช้จริงอีกหรือเปล่าครับ??

7 พฤศจิกายน 2560

ก้านไม้กอล์ฟในส่วนที่มีผลต่อการอิมแพค

ก้านไม้กอล์ฟในส่วนที่มีผลต่อการอิมแพค และการควบคุมหน้าไม้ มากที่สุด คือ ส่วนปลายก้าน (Tip Flex) หรืออาจรู้จักกันทั่วไปคือ Kick Point หรือ Bend Point เช่น Low / Mid / High
Kick Point ก็จะมีค่าเช่นเดียวกับ Flex (R, S, X) ซึ่งไม่มีค่ามาตรฐาน ก้านฯแต่ละแบรนด์จะกำหนดค่าของตัวเองออกมา ไม่สามารถนำมาเปรียบเทียบข้ามแบรนด์ หรือข้ามรุ่นได้ ควรวัดค่าออกมาเป็นหน่วย CPM (Circle Per Minute) ต่อหนึ่งความยาวก้านที่เท่ากัน

การคลายข้อมือก่อนการอิมแพค
Tip Flex ที่อ่อนให้การสบัดปลายก้านมากกว่า หน้าไม้ปิดเร็ว หรือช้ากว่า ขึ้นอยู่กับลักษณะการคลายข้อมือก่อนการอิมแพค ซึ่งจะทำให้หน้าไม้ก่อนอิมแพค มีผลแตกต่างกัน (ปิดเร็ว-ช้า กลับมาสแควร์เข้ากลางหน้าไม้ต่างกัน) ซึ่งควรเลือกความเหมาะสมของผู้ใช้แต่ละคนที่มีทักษะแตกต่างกัน

นอกจากนั้น Tip Flex ยังมีผลต่อ องศาหน้าไม้ขณะอิมแพคอีกด้วย (Dynamic Loft) ซึ่งมีผลต่อมุมเหิน (Trajectory หรือ Launch Angle) ที่ทำให้เกิดระยะตามมา ที่เป็นผลรวมกับความเร็วหัวไม้ (Club Speed) ที่ทำได้ ดังนั้นปลายการที่อ่อนควรเหมาะกับนักกอล์ฟที่มีความเร็วหัวไม้ช้า และมีองศาหน้าไม้ให้สูงน่าจะเหมาะสมมากกว่าครับ

30 ตุลาคม 2560

ควรพิจารณาทั้ง หัวไม้ และ ก้าน เมื่อต้องการจะเพิ่มประสิทธิภาพให้ไดร์ฟเวอร์

นักกอล์ฟหลายคนเข้าใจผิด และเลือกซื้อ หรือเปลี่ยนอุปกรณ์อย่างไม่ได้พิจารณาให้ครบถ้วน หรืออาจไม่ทราบข้อมูลการฟิตติ้งไม้กอล์ฟ จึงเลือกเปลี่ยนอุปกรณ์ตามคำโฆษณา ของหัวไม้บ้าง หรือเลือกดูเพียงก้าน โดยเฉพาะในรุ่นต่างๆที่ออกมาจำหน่ายใหม่ๆ

หัวไม้ไดร์ฟเวอร์ หรือ ก้านไม้กอล์ฟ ต่างก็ไม่ได้ทำงานของมันเองโดยลำพังเพียงอย่างเดียว จะต้องทำงานร่วมกันอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ การพิจารณาเลือกใช้ ควรจะต้องทำควบคู่กันไป หากไม่เช่นนั้นแล้ว ผลที่ได้ออกมาจะไม่ได้ประสิทธิภาพเท่าที่ควรจะได้

หัวไม้ (Club Head) มีเอกลักษณ์ (สเปค) เช่น องศาหน้าไม้ / รูปทรง / MOI / ขนาด CC / และ ตำแหน่ง C.G. บนหัวไม้

ก้านเปล่า (Raw Shaft) มี น้ำหนัก / จุดดีด (kick point) / Flex CPM (ไม่ใช่ R/S) / Torque  และ ความยาวก้าน

ไดร์ฟเวอร์ กับประสิทธิภาพทางการตลาด
นอกจากนั้นยังไม่รวมถึงการประกอบไม้ฯให้สำเร็จ เพื่อให้พอดีกับ ขนาดมือ (Grip Size) แนวดีดก้าน (Neutral Bending Position) และสวิงเวทที่เหมาะสม (Proper Swing Weight) เพื่อเติมประสิทธิภาพให้ไม้กอล์ฟนั้นได้อย่างเต็มที่เหมาะสมกับทักษะความสามารถของตัวเองที่สุด

ก้าน เมื่อเสียบประกอบกับหัวไม้แล้ว จะทำงานร่วมกัน หัวไม้ไม่สามารถเพิ่มระยะโดยลำพังได้ หรือก้านก็ไม่สามารถทำได้ด้วยเช่นกัน จำเป็นต้องทำงานควบคู่กัน และต้องเลือกให้เหมาะกับทักษะฝีมือ และรูปร่างของผู้ใช้เองด้วย

นักกอล์ฟส่วนใหญ่จะเลือกเปลี่ยนก้าน หรือ หัวไม้เพียงอย่างเดียว อาจเป็นเพราะต้องการประหยัด และคิดว่าสิ่งที่ยังไม่เปลี่ยนน่าจะใช้ได้ บางครั้งก็อาจจะพอใช้ หรือหลายครั้งอาจจะไม่ได้ช่วยอะไรมาก และไม่ต่างจากของเดิมเสียด้วยซ้ำครับ

การเลือกซื้อควรทราบ สเปค หรือคุณสมบัติภายใน ที่จะนำไปใช้จริงดังกล่าว เพื่อให้เหมาะสมกับตัวเอง มากกว่าเลือกเพียงเพราะชื่อ หรือแบรนด์ที่รู้จัก ซึ่งบริษัทผลิตหัวไม้ก็จะเชียร์ว่า "หัวไม้ตีไกล ตีง่าย" และบริษัทผลิตก้าน ก็จะโฆษณาก้านอย่างเดียวว่า "ก้านหนึบ เบากว่าตีไกลกว่า" หรือให้เหมือนกับนักกอล์ฟอาชีพที่ใช้กัน ก็ลองใช้วิจารณญาณพิจารณาว่าสมเหตุสมผลอย่างไรที่ควรนำมาใช้กับตัวเองนะครับ

25 กรกฎาคม 2560

ไม้กอล์ฟสเปคโรงงาน ที่ประกอบสำเร็จแล้วให้อะไรบ้าง

ไม้กอล์ฟที่ประกอบเรียบร้อย (Standard Spec) กับไม้กอล์ฟที่ประกอบใหม่ (Personal Spec) หรือโมดิฟายไม้กอล์ฟเดิมใหม่ เพื่อให้ได้ความต่างที่จะทำให้เกมส์กอล์ฟพัฒนาขึ้นอยู่ที่การตัดสินใจเลือกซื้อใช้

ซื้อไม้กอล์ฟที่ประกอบเรียบร้อยแล้ว ให้อะไรท่านบ้าง

1. ชื่อสินค้า (Brand Name) ที่รู้จักเพราะสื่อโฆษณา หรือนักกอล์ฟอาชีพใช้.....ใช่สเปคข้างในไม้กอล์ฟที่นำไปใช้จริง

2. สเปคก้าน เลือกที่ข้อมูลบนตัวก้าน Flex R หรือ S ซึ่งแต่ละแบรนด์ ความอ่อน/แข็งก้าน จะต่างกัน มีให้เลือกจำกัด และไม่มาตรฐาน

3. ขนาดกริ๊ป (ที่ Fix มา) จะไม่ตรงกับขนาดมือ มีผลในการอิมแพคที่ดี และการควบคุมทิศทาง

มีให้เลือกมากกมาย และรุ่นไหน แบบไหนที่จะเหมาะกับเรา
4. ความยาวก้าน (ที่ Fix มา) จะไม่เหมาะสมกับความสามารถ และสรีระ ทำให้การอิมแพค ไม่สม่ำเสมอ และระยะกับทิศทางคุมได้ยาก

5. น้ำหนักก้าน เป็นตัวควบคุมน้ำหนักรวมไม้กอล์ฟ ที่ให้มามีให้เลือกจำกัดไม่ต้องสนองความแข็งแรงร่างกายที่ต่างกัน ซึ่งเบา หรือ หนักเกินไป มีผลต่อการสวิงที่เปลี่ยนไป

6. Loft & Lie angle จำกัด ซึ่งที่มีผลกระทบจากความยาวก้านที่ติดมาไม่เหมาะสมกับ สรีระ และทักษะสวิง ต้องปรับวงเข้ากับไม้ฯเพื่อให้ได้ระยะ และทิศทาง

7. สเปคไม้กอล์ฟ ก็คือชื่อแบรนด์ เมื่อใช้แบรนด์นี้ หรือรุ่นนี้ ตีแล้วไม่ชอบ ก็จะเปลี่ยนแบรนด์ ใช่ดูที่สเปคจริงๆ ทำให้การเปลี่ยนแบบไม่มีเป้าหมาย เกิดความสับสนว่าเป็นเพราะอะไร วงสวิง หรือไม้ฯที่ใช้แล้ว เกมส์กอล์ฟไม่พัฒนาขึ้น

สิ่งเหล่านี้ เป็นความรู้พื้นฐานเรื่องไม้กอล์ฟ ว่าแบรนด์ไหนก็ได้ที่ตอบโจทย์ ทางทักษะ+สรีระ ของนักกอล์ฟ ใช่การตลาด หรือให้สปอนด์เซอร์ เพื่อให้ซื้อสินค้าที่ไม่ตรงกับการนำไปใช้จริง เพียงเพราะ ชื่อ หรือ สเปคไม้กอล์ฟกันแน่ที่ให้ท่านได้

19 กรกฎาคม 2560

One Swing Plane และ One Ball Position ในชุดเหล็กความยาวเท่ากันทำให้ง่ายกว่าเดิม

นักกอล์ฟส่วนใหญ่จะสับสนกับตำแหน่งลูกกอล์ฟในขณะยืนจรดแอสเดรส (Ball Position) ในชุดเหล็กแบบเดิมที่มีถึง 7-9  ตำแหน่ง และมีแนวสวิงอีก 7-9 แบบ เป็นสาเหตุให้การอิมแพคได้ไม่หนักแน่น และผิดพลาดบ่อยครั้ง รวมถึงการเล็งที่ต้องเปลี่ยนไปตามความยาวก้านด้วย

แนวสวิงเดียว ตำแหน่งบอลเดียว ง่ายกว่ากันไหมครับ
ถ้าชุดเหล็กความยาวเท่ากัน (Single Length Irons) ทำให้ท่านมีตำแหน่งลูกฯตอนจรดมีตำแหน่งเดียว มีแนวสวิงเดียวเหมือนกันทุกเหล็ก และได้ระยะเช่นเดิมในทุกๆเหล็ก ท่านคิดว่าจะช่วยให้ท่านอิมแพคลูกใด้ง่ายขึ้น และลดความผิดพลาดไหมครับ ????

นอกจากนั้นยังจะช่วยให้ท่าน ลดสกอร์  เพิ่มความแม่นยำ (Accuracy) และความสม่ำเสมอ (Consistency) ในการสวิงในชุดเหล็กของท่านอีกด้วย แล้วจะช่วยให้เกมส์กอล์ฟของท่านจะง่ายขึ้นอย่างแน่นอน


Sterling Irons (ชุดเหล็กความยาวเท่ากัน)

ปรับแต่งไม้กอล์ฟทั้งทีควรพิจารณาให้ครบถ้วน

มีนักกอล์ฟส่วนใหญ่เข้าใจผิด ในเรื่องการปรับ/แต่งไม้กอล์ฟ ควรเปลี่ยนหัวไม้/ก้านอย่างไร ถึงจะเหมาะสม และให้ประสิทธิภาพมากที่สุด

หัวไม้ หรือใบเหล็กไม่สามารถให้ประโยชน์อย่างเดียวโดยลำพังกับนักกอล์ฟได้ ความอ่อน/แข็งก้านต้องมีส่วนร่วมอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ และยังรวมถึงทักษะในการสวิงของนักกอล์ฟว่าจะตอบสนอง หัวไม้ และก้านนั้นได้ออกมาอย่างเต็มประสิทธิภาพ ต้องพิจารณาอย่างครบถ้วน

ส่วนที่เกี่ยวข้องหัวไม้มี องศาหน้าไม้ / ตำแหน่งจุดศูนย์ถ่วง หน้าหลัง ซ้ายขวา บนล่าง / ขนาดหัวไม้ / น้ำหนัก และวัสดุตามมา

ก้านควรพิจารณา เรื่อง น้ำหนัก / Flex ความอ่อนแข็งเป็น CPM / จุดดีดปลายก้าน (Bend Point) เป็นหลัก
*** ราคาและแบนด์เป็นเรื่องรอง ***

ทักษะความสามารถ ความเร็วหัวไม้ / จังหวะการสวิง / ตำแหน่งคลายข้อมือ และความแม่นลูก ตำแหน่งอิมแพคหน้าไม้

พราะฉนั้นการเลือกปรับ/แต่งไม้กอล์ฟ ควรพิจารณาทั้ง 3 อย่างหลักนี้ไปพร้อมกัน ซึ่งนักอล์ฟส่วนใหญ่จะมองหา และต้องการเปลี่ยน หัวไม้ หรือ ก้านไม้กอล์ฟอย่างเดียว โดยลืมที่จะพิจารณารวมกัน

ซึ่งนอกจากมีหัวไม้ และก้านที่เหมาะสมแล้ว การวิเคราะห์ตัดประกอบให้เป็นไม้กอล์ฟ ก็ไม่ควรจะละเลย เช่น ความยาวก้าน / ขนาดกริ๊ป / สวิงเวท vs MOI matching และการจัดแนวดีดก้านที่เหมาะสม (ก้านไม่ได้กลมอย่างที่มองเห็น)

หากสังเกตเห็นตามสื่อต่างๆเมื่อมีอุปกรณ์อะไรใหม่ๆออกวางจำหน่ายว่า หัวไม้รุ่นนี้ตีไกล หรือ ก้านรุ่นนี้ตีไกล ก็ลองใช้วิจารณญาณกันเองนะครับ สุดท้ายผู้บริโภคจะเป็นผู้ตัดสินใจในการเลือกเองครับ

21 พฤษภาคม 2560

แก้ที่วงสวิง หรือ ที่ไม้กอล์ฟ น่าจะเหมาะกว่ากัน

ในกีฬากอล์ฟ หลายคนยังสับสนระหว่างเรื่อง " วงสวิง " หรือ " สเปคไม้กอล์ฟ " ไม่รู้ว่าการตีกอล์ฟไม่เป็นไปอย่างที่ต้องการนั้น เป็นเพราะอะไร?  เลยทำให้เกิดความสับสนว่า ควรต้องพัฒนา หรือแก้ไข/ปรับปรุงตรงไหนดี ระหว่าง ไม้กอล์ฟ หรือ วงสวิง

และพบว่าส่วนใหญ่นักกอล์ฟจะเลือกการ " เปลี่ยนไม้กอล์ฟ " เพราะเป็นวิธีที่ง่ายที่สุดแล้ว แต่กลับเป็นการเปลี่ยน แบบ Standard to Standard โดยไม่ทราบเรื่องสเปคของไม้กอล์ฟที่เหมาะสมกับตัวเองจริงๆสักที ตัวอย่าง เช่น
  1. ว่าควรจะมีความอ่อน/แข็งก้าน เป็นค่า CPM (แทนที่ R หรือ S)
  2. มีความยาวก้านที่เหมาะสมกับสรีระ และความสามารถด้วยความยาวเท่าไร
  3. น้ำหนักก้าน / จุดดีดก้าน
  4. องศาหน้าไม้ไดร์ฟเวอร์ และ C.G. location ควรเป็นแบบใด มีขนาดเท่าไร
  5. รูปทรงของใบเหล็ก / ระยะห่างองศาหน้าไม้ระหว่างเหล็ก / Lie Angle
  6. ขนาดกริ๊ป ให้พอดีกับ ขนาดมือหรือยัง?
  7. Swing Weight และ Total weight
  8. ผู้ที่ประกอบสเปคก้านให้ได้ดังที่กล่าวมา


ทำให้เป็นการแก้ไขแบบพายเรือในอ่าง กลับไปกลับมา ซึ่งน่าจะเรียนรู้ และทราบสเปคไม้กอล์ฟที่เหมาะกับตัวเองเสียก่อน แล้วตัดประเด็นนี้ที่ทำได้จริงๆออกไป แล้วที่เหลือต้องเป็นเรื่องของการพัฒนาวงสวิงเพียงอย่างเดียวจริงๆ จะดีกว่าไหมครับ ???

26 เมษายน 2560

เลือกไม้กอล์ฟที่มีน้ำหนักเบา...ใช่จะเป็นคำตอบสุดท้าย

สังเกตุในการโปรโมตขายไม้กอล์ฟที่มีน้ำเบา เช่น ก้านเบา ไม่ถึง 40 กรัม / หัวไม้กอล์ฟเบา ไม่ถึง 190 กรัม และมีกริ๊ปเบา ไม่ถึง 30 กรัม เพื่อเป็นจุดขายทางการตลาด ซึ่งเป็นผลดีต่อนักกอล์ฟบางกลุ่มเท่านั้น โดยเฉพาะกลุ่ม Senior / Lady หรือนักกอล์ฟที่ไม่แข็งแรง หรือ มีทักษะความเร็วหัวไม้ไดร์ฟไม่เกิน 80 Mph ก็พอจะมีประโยชน์ได้ แต่นักกอล์ฟหลายๆท่านก็เข้าใจผิดว่า ไม้กอล์ฟที่มีน้ำหนักเบาน่าจะดี เพราะทำให้การสวิงได้ง่ายนั้นถูกต้องครับ แต่กับการให้ได้ระยะเพิ่มขึ้น (Increase Distance) และการควบคุมทิศทาง และแม่นยำ (Accuracy) มันจะไม่มาพร้อมๆกันนะครับ คือ อาจได้อย่าง แต่ต้องเสียอย่าง

น้ำหนักก้านควบคุมน้าหนักรวมไม้กอล์ฟ
นักกอล์ฟในทัวร์ หรือนักกอล์ฟสมัครเล่นที่แข็งแรง และมีทักษะการสวิงที่ดี ไม่ควรมีน้ำหนักไม้กอล์ฟที่เบากว่า ลองตรวจสอบดูก็ได้นะครับ หากมีความเร็วหัวไม้ (Club Speed) แตะ 100 Mph มีน้ำหนักก้านอยู่ในมือ ไม่เกิน 55 กรัม ถือได้ว่าไม่เหมาะสม สำหรับเรื่อง Flex  และ Kick Point จะต้องมาดูจังหวะการสวิงประกอบ และวิเคราะห์เลือกไปพร้อมกับครับ

ความเร็ว(Speed) + มวล/น้ำหนัก(Mass) = ระยะทาง(Distance)
ข้อมูลทางวิทยาศาสตร์สามารถนำมาเปรียบเทียบได้เลยครับ เพราะ 3 สิ่งนี้ความมีความพอเหมาะ พอควรต่อความสัมพันธ์กัน แต่สำหรับกีฬากอล์ฟยังมีปัจจัย เรื่อง ความแม่นยำ (Accuracy) / ความสม่ำเสมอ (Consistency) และ ความรู้สึก (Feel) เข้ามาเกี่ยวข้องอีกด้วย ดังนั้นการเลือกมีไม้กอล์ฟที่เหมาะสม ย่อมไม่ใช่ไม้กอล์ฟที่ประกอบสำเร็จรูปที่วางขายอยู่ทั่วไป (Standard Spec) และคิดว่าน่าจะเหมาะสมกับเรานั้น ก็อาจจะใช่ แต่ผมขอใช้คำว่า " โชคดี " นะครับ

แนะนำควรปรึกษา Professional Club Fitting ที่สามารถให้ความรู้ความเข้าใจในเรื่องไม้กอล์ฟก่อนตัดสินใจเลือกมี อย่างน้อยการตัดประกอบใหม่ (Custom Fitting) หรือ ปรับ/แต่ง (Modify / Re assembly) เพื่อให้ได้สเปคย่อมดีกว่าไม้กอล์ฟสำเร็จรูปทั่วไป เพราะไม้กอล์ฟไม่ใช่จะเปลี่ยนกันง่ายๆ แบบการเลือกซื้อเสื้อผ้านะครับ

25 เมษายน 2560

ชุดเหล็กความยาวเท่ากัน (Single Length Irons) กับวงการกอล์ฟ

ชุดเหล็กความยาวเท่ากัน (Single Length Irons) กำลังได้รับความนิยมมากขึ้นในหมู่นักกอล์ฟที่ติดตามข่าวสารในวงการกอล์ฟมาโดยตลอด และพิจารณาแล้วว่าการใช้ชุดเหล็กความยาวเท่ากันนี้แล้ว จะทำให้ลดความผิดพลาดจากช๊อตกลางแฟร์เวย์ได้อย่างแท้จริง ที่ชุดเหล็กแบบเดิมให้ไม่ได้

เพราะชุดเหล็กความยาวเท่ากันจะใช้ความรู้สึกในการสวิงที่เหมือนกันในทุกเหล็ก ไม่ต้องสับสนกับตำแหน่งลูกกอล์ฟ (ฺBall Position) ในขณะจรดแอสเดรสแบบเหล็กเดิมๆ ที่ตำแหน่งลูกเปลี่ยนไป ทั้ง ใกล้ / ไกล และ ซ้าย / ขวา เพราะความยาวก้านที่ไม่เท่ากัน ซ้ำทำให้การเล็งไปที่เป้าหมายเปลี่ยนไปอีกด้วย

SL ประกอบที่ Tomiya Clubfitting
มีผู้สนใจหลายๆท่านสอบถามว่า สามารถนำชุดเหล็กแบบเดิมมาโมดิฟาย ให้มีความยาวก้านเท่ากันได้ไหม? คำตอบจะบอกว่าไม่ได้ 100% ก็คงไม่ได้ เพราะถ้าจะทำ ต้องเปลี่ยนน้ำหนักใบเหล็กเปล่าแบบเดิมให้มีน้ำหนักเท่ากันทุกๆเหล็ก และต้องทำ Lie Angle ให้เหมือนกันทุกเหล็กด้วยเช่นเดียวกัน ท่านลองจิตนาการดูสิครับว่า หน้าตาใบเหล็กแบบเดิมจะออกมาเป็นอย่างไร

นอกจากนั้นการนำไปใช้งานของใบเหล็กแบบเดิมเมื่อเปลี่ยนน้ำหนักแล้ว จุดศูนย์ถ่วงกึ่งกลาง (Center Gravity) จะไม่อยู่ที่ตำแหน่งที่ต้องการอีกด้วย หากนำไปทดลอง หรือทดสอบ หรือ Review ก็จะได้ผลที่ไม่เป็นที่น่าพอใจ เหมือนที่ออกในรายการกอล์ฟบางรายการ จะทำให้ผู้ชมสับสนกับประโยชน์ที่ควรได้จริงๆ กับชุดเหล็กความยาวเท่ากันที่ผลิต และออกแบบมาโดยเฉพาะ ซึ่งชุดเหล็กแบบเดิมทำไม่ได้

ใบเหล็กเปล่าผลิตมาโดยเฉพาะ



จากการได้ติดตาม Forum และบทความในต่างประเทศ บริษัทฯไม้กอล์ฟดังๆยังไม่กล้าผลิตหรือเป็นผู้นำเอาเทคโนโลยีของชุดเหล็กความยาวเท่ากันนี้ออกมาทำตลาด เนื่องจากหากเป็นแบบนั้น เท่ากับว่าชุดเหล็กแบบเดิมนั้น จะเลิกใช้ หรือไม่ได้รับความนิยมอย่างมาก จะทำให้มีผลเสียหายต่อแบรนด์นั้นในที่สุด สำหรับชุดเหล็กแบบเดิม แต่คงจะอยู่ในขั้นตอนของการพิจารณาตัดสินใจ เพราะอย่างที่ทราบคุณประโยชน์ทางวิทยาศาสตร์ของชุดเหล็กความยาวเท่ากันนี้ สามารถตอบโจทย์นักกอล์ฟทุกระดับฝีมือได้จริง


ติดตาม และสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม หรือเป็นเจ้าของชุดเหล็กความยาวเท่ากัน
ได้ที่ Line : tomiyaclubfitting หรือ โทร : 086-535-5579

18 เมษายน 2560

เลือกก้านที่ดีควรถามหาสิ่งใดก่อน?

วิธีเลือกเปลี่ยนก้านไม้กอล์ฟ หรือ การฟิตติ้งก้านไม้กอล์ฟ สังเกตเห็นมากกว่า 80-90% ของนักกอล์ฟหลายท่าน ที่เลือกหาเปลี่ยนซื้อก้านฯจาก ชื่อยี่ห้อ หรือแบรนด์ก่อนอื่นเป็นเรื่องแรกๆ มากกว่าจะถามหาสเปคจริงของก้านฯที่จะซื้อเปลี่ยน เช่น มี น้ำหนักก้าน / Flex (CPM) / Kick point / Torgue อย่างไร

ซึ่งเมื่อถามหาแบรนด์ก่อนแล้ว จากนั้นก็ต้องถามตามด้วยเรื่องของสเปคก้านในแบรนด์นั้นอยู่ดีใช่ไหมครับ??? ซ้ำอาจจะได้ก้านที่ราคาแพงตามแบรนด์ที่รู้จักนั้นๆ จากสื่อ ถ้าโฆษณา/สปอนด์เซอร์มาก ก็มีราคาแพงมากเช่นกัน

ก้านไม้กอล์ฟมีให้เลือกหลายสิบแบรนด์
ฉนั้นทำไมไม่ถามหาสเปคก้านฯ หรือคุณลักษณะของก้านฯที่ต้องการเสียก่อนอื่นเลยจะดีกว่าไหมครับ ไม่ว่าจะเป็นแบรนด์ไหนก็ได้ แต่สำคัญที่สเปคก้านฯจริงๆที่อยากได้ ดูจะสมเหตุสมผลในทางฟิตติ้งไม้กอล์ฟมากกว่าครับ ซึ่งท่านอาจจะได้ราคาที่ประหยัดกว่า และได้ก้านฯที่ตรงใจมากกว่าสี หรือสิ่งที่บอกบนตัวก้านซะอีกด้วยครับ

สุดท้ายที่สำคัญที่สุด คือ เมื่อได้ก้านฯที่มีสเปคตรงใจแล้ว จากนั้นการประกอบก้าน / หัวไม้ และกริ๊ป เพื่อให้ได้ความเหมาะสม กับสรีระ และทักษะความสามารถนั้น ห้ามมองข้ามโดยเด็ดขาด ถึงท่านจะได้มีไม้กอล์ฟที่สเปคไม้กอล์ฟที่ประกอบแล้วตรงกับตัวเองมากที่สุดครับ

28 กุมภาพันธ์ 2560

ไดร์ฟเวอร์องศาหน้าไม้ที่ต่ำ จะช่วยให้นักกอล์ฟที่สวิงช้าได้ระยะจริงหรือ??

การที่นักกอล์ฟหลายท่านเข้าใจว่าองศาหน้าไม้ในไดร์ฟเวอร์ยิ่งต่ำ จะยิ่งทำให้ไดร์ฟได้ระยะมากขึ้น เพราะตามที่เห็นนักกอล์ฟตีไกลหลายคน หรือแชมป์ตีไกลเค้าก็ใช้องศาหน้าไม้ที่ต่ำ ก็น่าจะช่วยทำให้ระยะของตัวเองเพิ่มมากขึ้นด้วยเช่นกัน

การที่ลูกกอล์ฟจะลอยไปในอากาศได้นาน เพื่อสร้างระยะที่ดี ควรมีความเร็วหัวไม้ (Club Speed) ที่ดี มีมุมเหิน (Trajectory) ที่ดี พร้อมกับการอิมแพคกลางหน้าไม้ที่ดี (Center Impact) ที่ทำให้เกิดความเร็วลุกกอล์ฟ (Ball Speed) ที่ออกจากหน้าไม้ที่ดี ที่ทำให้ได้ระยะที่มีประสิทธิภาพที่สุด

ความเร็วหัวไม้ (Club Speed) เป็นตัวสร้างอัตราการหมุน (Spin Rate) บนลูกกอล์ฟที่ทำให้ลูกกอล์ฟลอยขึ้นในอากาศได้ อย่างที่เข้าใจว่า ความเร็วหัวไม้สูง จะทำให้ได้ระยะที่ไกลขึ้นอย่างแน่นอน เพราะฉนั้นความเร็วหัวไม้สูง สปินเรทก็สูงด้วยเช่นเดียวกัน แต่ไอ้เจ้าสปินเรทนี้ มีทั้งข้อดี และข้อเสีย

ข้อดี คือ สปินเรทที่สูง เกิดจากความเร็วหัวไม้ที่สูง ที่ทำให้ลูกกอล์ฟลอยตัวไกลได้ระยะ
ข้อเสีย คือ สปินเรทที่สูงมากเกินไป จะทำให้มีมุมเหินที่สูงเกินความจำเป็น กลายเป็นลูกโด่งที่ตกแล้วไม่ได้ระยะ (ไม่รวมมุมเข้าลูกที่ชัน) จึงจำเป็นต้อง ลดสปินเรทให้พอเหมาะ พอดี กับมุมเหินนั้น

มุมเข้าลูกที่ดีที่สุด
ดังนั้นการลดสปินเรท ของนักกอล์ฟที่มีความเร็วหัวไม้สูง ส่วนหนึ่งอย่างง่ายๆ ก็คือ การใช้องศาหน้าไม้ที่ต่ำลง จะทำให้ได้มุมเหินที่เหมาะสม และได้ระยะมากขึ้น รวมถึงจุด Carry และการตกแล้ววิ่งต่อของลูกกอล์ฟได้ดีกว่า เนื่องด้วยเหตุนี้ นักกอล์ฟที่มี Club Speed สูงๆ จึงเลือกใช้องศาหน้าไม้ที่ต่ำกว่าปกติ จะทำให้ได้ระยะที่ดีกว่า ซึ่งในทางตรงกันข้าม นักกอล์ฟที่ Club Speed ช้า แต่ต้องการใช้องศาหน้าไม้ที่ต่ำ เพื่อต้องการที่จะให้ลูกที่ไดร์ฟออกไปได้ระยะนั้น ตก แล้ววิ่ง ไม่ได้มองเหตุผลตามหลักวิทยาศาสตร์ เพื่อให้ได้มุมเหินที่ดี มีการยกตัวของลูกกอล์ฟลอยในอากาศที่ดี ซึ่งนักกอล์ฟเหล่านี้ จำเป็นต้องเพิ่มสปินเรท (Increase Spin Rate) แทนที่จะลดสปินเรท

เพราะฉนั้นการที่จะช่วยให้นักกอล์ฟที่มี Club Speed ที่ต่ำ หรือช้า ไดร์ฟได้ระยะที่ไกลขึ้น ควรให้ความสนใจกับ การเพิ่มองศาหน้าไม้ (Increase Loft Angle) เป็นสำคัญมากกว่าเรื่องอื่นๆ เพราะจะช่วยให้ได้มุมเหิน และสปินเรทที่ดีกว่า มีความผิดพลาดน้อยกว่า

ปลายก้านที่อ่อนให้มุมเหินที่สูง
บริษัทฯผลิตไม้กอล์ฟ วางจำหน่ายไดร์ฟเวอร์ในตลาดเพียง 2 แบบ หรือ 2 องศาหน้าไม้ คือ 9.5 หรือ 10.5 เนื่องจากต้นทุนการผลิตหัวไม้นั้นสูงมาก จึงเลือกการผลิตก้านให้ปลายที่อ่อน เพื่อให้เกิดองศาหน้าไม้ขณะอิมแพคที่เพิ่มขึ้น (Dynamic Loft Angle) ซึ่งไม่ค่อยตรงประเด็นที่จะส่งผลให้เกิดระยะของนักกอล์ฟที่สปีดต่ำ เนื่องจากการสะบัดก้าน กับองศาที่ต่ำ เกิดการผิดพลาด (Error)ได้ง่าย อาจมีองศาที่มากเกินไป หรือมีมุมที่เข้าลูก ชันเกินไป ทำให้เกิดสปินที่ไม่พึงประสงค์ (Back Spin) ด้วยเหตุนี้จึงไม่สามารถทดแทน องศาหน้าไม้จริงที่กำหนดบนหัวไม้ไม่ได้ ที่จะช่วยให้เกิดประโยชน์มากกว่า ให้มุมเหินที่แน่นอนกว่า และผิดพลาดน้อยกว่า

ดังนั้นนักกอล์ฟทั่วไปที่มีความเร็วหัวไม้ไม่สูง ต้องการไดร์ฟให้ได้ระยะควรปรึกษา Professional Club Fitting เพื่อหาองศาหน้าไม้ที่เหมาะสม ดีกว่าการเปลี่ยนก้านที่มี ปลายที่อ่อน เพื่อให้เกิด Dynamic Loft ที่มากขึ้นแทน องศาหน้าไม้จริง ท่านอาจได้ระยะในบางช๊อต และเปอร์เซ็นต์ในการควบคุม (Control) ความสม่ำเสมอ (Consistency) และความแม่นยำ (Accuracy) ลดลงไป