18 ตุลาคม 2561

มองหาสเปคของตัวเองน่าจะเหมาะกว่าสเปคมาตรฐานโรงงาน

นักกอล์ฟส่วนใหญ่มองหา และจดจำ ชื่อยี่ห้อ / แบรนด์ หรือรุ่นไม้กอล์ฟ / ก้าน และ ทดลองรุ่นต่างๆนั้นไปเรื่อยๆ ว่ามีสเปคแบบไหนอย่างไร จนกว่าจะพบอันที่ตัวเองชื่นชอบ ซื่งจนลืมจดจำสเปคข้างในไม้กอล์ฟ หรือ ก้านนั้นจริงๆว่า มีสเปคข้างในนั้นเป็นอย่างไรในแบบที่ตนเองชื่นชอบ

สเปคมาตรฐานของแต่ละแบรนด์ไม่เหมือนกัน
🔶 สเปคในไม้กอล์ฟ ที่น่าควรจะจดจำที่สุด คือ น้ำหนักรวมไม้กอล์ฟ / น้ำหนักก้าน / องศาหน้าไม้ / รูปทรงการออกแบบหัวไม้-ใบเหล็ก / ตำแหน่งจุดศูนย์ถ่วงหัวไม้-ใบเหล็ก / ความยาวก้าน / Flex ก้าน (CPM) / Bend Profile และขนาดกริ๊ปไซด์ ฯลฯ ซึ่งสเปคข้างในไม้กอล์ฟเหล่านี้จะเป็นสเปคที่แท้จริงของคุณเอง

🔺 ซึ่งไม่ว่าจะเป็นยี่ห้ออะไร / แบรนด์ไหน หรือรุ่นใดก็ตาม ถ้าสามารถทำให้ได้สเปคข้างในไม้กอล์ฟเหล่านั้นที่คุณต้องการได้แล้ว ก็ไม่จำเป็นต้องไปจดจำชื่อยี่ห้อ/รุ่น-แบรนด์นั้นๆเลย ถึงแม้ว่ามันจะเลิกผลิตไป หรือหามาชดเชยรุ่นนั้นไม่ได้แล้ว ก็ยังจะสามารถหารุ่นอื่นๆมาแทนสเปคของคุณได้เช่นกัน

🔵 ก็เปรียบเสมือนว่า คุณมีสเปคไม้กอล์ฟประจำตัว ของคุณนั่นเอง ซึ่งสามารถเสาะหาไม้กอล์ฟแบรนด์ไหนก็ได้ ที่ปรับแต่งให้ตอบโจทย์สเปคข้างในของคุณได้ ซึ่งไม่ต่างอะไรเลย กับ Tour Pro ที่ย้ายค่าย / เปลี่ยนสปอนด์เซอร์ แต่ต้องทำสเปคที่ตัวเองชอบให้ได้ ซึ่งสาเหตุที่เปลี่ยนนั่นก็เพราะตัวเลขสั่งจ่ายบนเช็คที่ได้ต่อปีนั้นต่างกันนั่นเองครับ

5 สิงหาคม 2561

คำถามเรื่องไม้กอล์ฟจากสมาชิกแฟนเพจ

ตอบคำถามสมช. และ Fan Page

ผมว่ามี 3 เรื่องที่นักกอล์ฟ (สมัครเล่น) ส่วนใหญ่น่าจะสนใจ แต่ไม่ค่อยมีคนให้ความรู้คือ

1. การปรับก้านและไม้ ให้เป็น optimal launch เหมาะที่สุดสำหรับตัวเอง
 ⭕ ส่วนใหญ่จะมองที่ก้าน เพื่อให้เกิด Dynamic Loft angle ที่ยกลูกได้ดี ซึ่งเป็น Minor effect แต่ลืมมอง #องศาหน้าไม้จริง (Static Loft Angle) ที่เป็น Major effect ที่ทำให้เกิดการลูกยกตัว (Optimal Launch) ได้ดีกว่า คงที่กว่า และได้ระยะตามมา โดยอาจไม่ต้องมีปลายก้านที่อ่อนเกินไปเพื่อรอให้เกิด dynamic loft จากการดีดก้าน

2. การลด total weight  เพื่อให้ทำ club head velocity ได้มากขึ้น แต่ให้คง swing weight ไว้เท่าๆ เดิม ... จะทำได้แค่ไหนในกรณีนักกอล์ฟซีเนียร์
💠 ลด Total weight ง่ายครับ ลดน้ำหนักก้าน/กริ๊ป หรือ หัวไม้ แต่ความยาวก้านเพิ่มขึ้นด้วย เพื่อชดเชย SW ที่หายไป แต่การ error จะมากขึ้น Consistency น้อยลด และ AOA (Angle Of Attack) จะเป็นมุมกด หรือ Flat ซึ่งหลายคนพลาดเรื่อง SW เพราะเป็นเพียงแค่ นน.สมมติครับ (องศาหน้าไม้ที่มากขึ้น #ตอบโจทย์ซีเนียที่สปีดช้ามากกว่าก้านที่เบา และปลายที่อ่อนครับ)

3. เพราะตอนนี้ก้านรุ่นใหม่ๆ ลงไปถึง 20 กว่ากรัมแล้วครับ ??
 🔶 มวลเบาเพื่อการยกตัวของลูก แต่มวลน้อย การอิมแพคน้อยลงด้วย ประกอบก้านต้องยาวขึ้น เกิด error ง่ายกว่า ลูกไม่ค่อยลอยเพราะ #AOA จะเป็น Flat หรือ มุมกด (แต่ลูกกอล์ฟยกตัวด้วยองศาที่มากขึ้นจะดีกว่าครับ)

**ก้านเบา แพง/หักง่าย ไม่ตอบโจทย์การใช้จริง เพราะ margin ทางการตลาดก้านดีจะกว่าหัวไม้ ออกมารุ่นละ 2 แบบองศาเท่านั้น
แนวดีดก้านที่เป็นได้ 2 ทิศทาง
4. การจัดแนวดีดของก้านที่พูดถึงบ่อยๆ ครับ
🚩Neutral Bending Position การดีดที่เป็นธรรมชาติ และมีประสิทธิภาพสูงสุด บนก้านที่ทรงกลม ซึ่งคล้ายๆกับลักษณะการโก่งคันธนูยิง

ไม่ใช่การหาตำแหน่ง Spine หรือกระดูกก้าน แล้วนำมาวางไว้ที่ตำแหน่ง 12 หรือ 6 นาฬิกา เพราะก้านหนึ่งก้านไม่ได้มี Spine เดียว หรือ สอง Spine ที่ต้องอยู่ตำแหน่งตรงข้ามกันเสมอ

ฉนั้นช่าง และนักกอล์ฟหลายคนไม่เข้าใจในการจัดก้านแบบนี้ ซึ่งการจัดก้านแล้วต้องจัดสวิงเวทให้สัมพันธ์กับลักษณะ หรือสเปคของก้านนั้นๆด้วย จะช่วยให้การดีดก้านนั้น เหมือนติดสปริงเพิ่มขึ้นครับ

16 กรกฎาคม 2561

นักกอล์ฟมีหลายแบบ ต่างที่วัตถุประสงค์ และความต้องการ

🅾 นักกอล์ฟ อาจแบ่งได้เป็น 4 แบบ 🅾

1. นักกอล์ฟออกงาน : เล่นกอล์ฟเพื่อออกสังคม และสังสรรค์  หรือรับแขกเสียส่วนใหญ่ ไม่ค่อยสนใจเรื่องอุปกรณ์ หรือการฝึกซ้อมมากนัก ซื้อ หรือ มีอุปกรณ์ตามคำบอกเล่า หรือโฆษณา แค่เพียงมีไม้กอล์ฟสักชุดไว้หลังรถเพื่อออกรอบก็เพียงพอแล้ว จะเห็นการเลิกเล่นกอล์ฟมากในกลุ่มนี้

2. นักกอล์ฟแฟชั่น : ติดตามไม้กอล์ฟรุ่นใหม่ๆตลอดเวลา เปรียบเสมือนกับเป็นกูรู หรือคอรั่มนิสต์ก็ว่าได้ รู้แต่ละรุ่นๆ แต่ละแบรนด์ดี เปลี่ยนไม้กอล์ฟบ่อย (Standard to Standard) และจะมีไม้กอล์ฟสะสมอยู่หลายๆชุดที่บ้าน ฝีมือจะดีกว่านักกอล์ฟออกงาน หรือ เป็นระดับท๊อปสมัครเล่น พบเขาได้ตามเว๊ปไม้กอล์ฟทั่วไป

3. นักกอล์ฟจริงจัง : อาจเคยเป็นนักกอล์ฟทั้ง 2 แบบข้างบนมาแล้ว หรือ ชอบเล่นกีฬากอล์ฟเพื่อต้องการพัฒนาฝีมืออย่างจริงจัง ขยันฝึกซ้อม พร้อมจะก้าวสู่ระดับอาชีพ จะไม่ค่อยเห็นการเปลี่ยนอุปกรณ์บ่อย แต่จะค้นหาสเปคที่เหมาะ และทำ #Clubfitting เพื่อให้ได้ไม้กอล์ฟตามฝีมือตัวเองจริงๆ เพื่อนำมาพัฒนาฝึกซ้อมวงสวิงต่อไป

4. นักกอล์ฟอาชีพ : ไม้ฯอะไรก็ตีได้ มีฝีมือกับตัว แต่ขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายอย่างที่แยกแยะระดับในนักกอล์ฟประเภทนี้ อยู่กับสปอนด์เซอร์ที่ได้ จากฝีมือความใส่ใจในการฝึกซ้อม เรียนรู้ในเกมส์ #กอล์ฟระดับทัวร์สูงขึ้น เพราะยังมีที่ไม่ได้ลงแข่งขัน หรือยังไม่สามารถผ่านการตัดตัวได้ ก็ยังมีอีกมากในนักกอล์ฟประเภทนี้ครับ

 แล้วคุณละ..เป็นนักกอล์ฟแบบไหนครับ ??


2 กรกฎาคม 2561

ความยาวมีผลกระทบต่อ Lie Angle

🔶 เชื่อไหมครับว่า...ไดร์ฟเวอร์ที่มีความยาวก้านยาวเกินกว่าสรีระตัวเอง ทำให้การยืนจรด ไม่สามารถวางหน้าไม้ฯให้เส้นบนหน้าไม้ (Scoreline) ขนานกับพื้นได้เลย (ดังรูป) นั่นหมายถึงผลกระทบกับ Lie Angle ลักษณะเดียวกันแบบในชุดเหล็ก

▶ จึงมีผลทำให้ตำแหน่งจุดศูนย์ถ่วงกลางหน้าไม้ และหัวไม้ (Center Gravity) เลื่อนไปชิดกับคอไม้ หรือ Toe Up ซึ่งทำให้องศาหน้าไม้ขณะอิมแพคเปลี่ยนไป จะทำให้มีผลกระทบต่อทิศทาง / สปินเรทเพิ่มขึ้น /Attack Angle เป็นมุมกดได้ง่าย

🅾 ลองหยิบไดร์ฟเวอร์ของตัวเองมาตรวจเช็คการยืนจรดดูสิครับ ว่าตำแหน่งหัวไม้ปลายกระดก หรือ Toe Up มากน้อยขนาดไหน และลองจับโช๊คลงดู ว่าควรจะมีความยาวก้านเท่าไร?? ที่จะทำให้แนวเส้นบนหน้าไม้ (Scoreline) ในไดร์ฟเวอร์ขนานกันพื้นได้

💠 ดังนั้นความยาวก้านไดร์ฟเวอร์ที่เหมาะสม จะมีผลดีต่อมุมปะทะหน้าไม้ ซึ่งเป็นตัวกำหนดทิศทาง และระยะตามมาที่ดี นอกเสียจากว่าท่านได้  "ปรับวงสวิงให้เข้ากับความยาวนั้นไปเสียแล้ว" สิ่งที่กล่าวมาคงไม่มีผลอะไรเลย

9 พฤษภาคม 2561

การพัฒนาเกมส์กอล์ฟมองตรงไหนเป็นสำคัญ

กีฬากอล์ฟกล่าวกันไว้ว่า นักกอล์ฟที่เล่นได้ดีมีประสิทธิภาพสูงสุด ต้องมีทั้งเรื่องทักษะความสามารถร่างกาย (Physical skill)  และทักษะทางความคิด (Mental Skill) ทั้ง 2 อย่างอาจมีสัดส่วนอย่างละเท่าๆกัน (50/50) แล้วแต่ความคิดที่มี หรือที่ได้รับมาจะเอนเอียงไปทางไหนมากกว่ากัน ซึ่งต่างจากกีฬาอื่นๆอย่างมากๆ

ฝึกสมองให้แข็งแรงในภาวะต่างๆ

การฟิตซ้อมทักษะทางร่างกาย (Physical Skill) อยู่ที่ระเบียบวินัยความขยัน ส่วนใหญ่นักกอล์ฟก็จะสามารถพัฒนาให้เท่าทันกันได้ทุกๆคน ไม่มีปัญหาเรื่องความได้เปรียบเสียเปรียบ เรื่องสรีระ หรืออุปกรณ์ที่ใช้ เพราะไม้กอล์ฟไม่ได้มีข้อบังคับให้ใช้ไม้อันเดียวกัน แบบเดียวกัน เบอร์เดียวกันในแต่ละช๊อต

แต่ทักษะทางความคิด (Metal Skill) นั้นเป็นสิ่งที่ฝึกซ้อมได้ยาก จะต้องหาแบบฝึกซ้อม+บทเรียน อาจรวมถึงสถานการณ์จริงที่ทำให้เกิดจิตนาการความคิดในทางบวก หรือสร้างสรร (Positive Mind Set) เพื่อให้จิตที่นิ่งปกติเป็นอัตโนมัติ เพื่อไปสั่งร่างกายให้เคลื่อนไหวสวิงได้อย่างที่ฝึกซ้อมมา แม้ระดับอาชีพยังมีให้เห็นความผิดพลาดง่ายๆได้บ่อยครั้ง

ส่วนใหญ่ ใจ (Mental) จะมีอิทธิพลเหนือกาย (Physical) เสียมากกว่า หากได้รับการฝึกความคิดมาไม่ดีพอ จะทำให้วงสวิงตกอยู่ภายใต้ความคิด เพราะใจที่ไม่สงบนิ่ง ต่อให้กายฝึกซ้อมมาอย่างดี ก็พัฒนาเกมส์กอล์ฟออกมาได้ไม่เต็มที่ บางครั้งวงสวิงฝึกมาดีที่สุดแล้ว ใจก็ยังคิดว่าๆยังไม่ดี ปรับตรงนั่น เปลี่ยนตรงนี้ จนไม่รู้ว่าควรพอดีที่ตรงไหน แต่กับลืมการฝึกซ้อมส่วนเล็กๆที่ยิ่งใหญ่ที่เรียกว่า ใจข้างในตัวเองไป


3 พฤษภาคม 2561

แนวดีดก้านที่เหมือนๆกันในชุดเหล็ก ช่วยให้แม่นยำขึ้น

เวลาออกรอบแล้วท่านเคยไม่พอใจในผลงานตัวเองไหมครับ ในช๊อตเดิมๆ หรืออุปกรณ์ตัวเดิม และเคยคิดไหมครับว่า เป็นเพราะวงสวิง หรืออุปกรณ์ที่เป็นสาเหตุให้เกิดผลงานแบบนั้น

ตัวอย่างในชุดเหล็ก ที่ต้องการความแม่นยำ (Accuracy) ผิดพลาดน้อยที่สุด เล็งเข้าเป้ามากที่สุด และความสม่ำเสมอ (Consistency) ตลอด 18 หลุมสวิงได้เหมือนๆกัน ใน 10 ช๊อตผิดพลาดไม่น่าจะเกิน 3 ช๊อตเท่านั้น

การดีดก้านทีมีผลต่อทิศทาง และระยะตามมา
ซึ่งในส่วนที่จะนำเสนอในวันนี้คือ แนวดีดก้านที่เหมือนกันในชุดเหล็ก (Neutral Bending Alignment) ด้านที่การดีดก้านดีที่สุดของหนึ่งก้าน และต้องเป็นแนวดีดเหมือนกันในเหล็กทุกๆเบอร์ ที่จะช่วยส่งเสริมให้การเล็ง และ การดีดก้านที่สวิงลงมาได้เหมือนๆกันได้

หากชุดเหล็กที่ยังไม่ได้ทำการจัดแนวดีดก้านให้เหมือนกันแล้วนั้น บางเหล็กรู้สึกก้านทำงานได้ดี แต่บางเหล็กก้านดีดไม่เหมือนกัน ถึงแม้จะโดนดีก็ตาม

ดังนั้นการสวิงที่ดีๆ ที่เหมือนๆกันอาจทำให้ผลงานออกมาได้ไม่ดี/ ไม่เหมือนกันได้ และยิ่งไปกว่านั้น ยังตำหนิการสวิงว่าไม่ดีเองแทน แต่มองข้ามการดีดก้านที่เหมือนๆกัน ที่เป็นผลกระทบต่อทิศทาง และการเล็ง ตลอดจนระยะที่ควรได้เปลี่ยนไปตามการดีดก้านไม่เหมือนกัน

10 เมษายน 2561

เลือกเปลี่ยนก้านไม้กอล์ฟแบบไหนถึงจะเข้าท่าสุด

จากประสบการณ์ในการให้บริการปรับแต่ง เปลี่ยนก้านไม้กอล์ฟมา ส่วนใหญ่จะพบคำถามหาแบรนด์ หรือยี่ห้อมาก่อนการถามหาสเปค เพราะฉนั้นก้านเลือก หรือเปลี่ยนก้านสักครั้งทั้งทีที่เข้าท่า หรือสามารถนำไปใช้ได้จริงควรจะพิจารณาอย่างไร

ซึ่งหากถามหา "ก้านไหนดี / ก้านไหนเหมาะ หรือยี่ห้อไหนดี" อันไหนน่าจะเวิร์คกว่ากัน?

การเลือกก้านส่วนใหญ่นักกอล์ฟจะเลือกก้านที่รู้จักจากสื่อโฆษณา หรือจากนักกอล์ฟอาชีพที่ได้สปอนด์เซอร์ใช้กัน ซึ่งแต่ละแบรนด์จะพยายามสร้างโอกาสทางการตลาดให้จำชื่อแบรนด์มากกว่าจำสเปค หรือคุณสมบัติก้านที่นำไปใช้ได้จริงของนักกอล์ฟแต่ละคนที่มีทักษะทางกีฬาที่ไม่เหมือนกัน

ก้านไม้กอล์ฟในท้องตลาดมีให้เลือกเป็นร้อย
ซึ่งควรน่าจะถามหาสเปคก่อนแบรนด์จะดีกว่าไหมครับ? เพราะถ้าเลือกแบรนด์ก็ต้องกลับมาถามหาสเปคอยู่ดี ก้านหนึ่งรุ่น/หนึ่งแบรนด์ก็จะแตกต่างกัน ทั้งน้ำหนักก้าน / Flex / Bend point ไม่ใช่เลือกแบรนด์ หรือสีก้านแล้ว จะได้สเปคตามต้องการ ที่เหมาะสมกับการนำไปใช้ได้จริงอย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด นี่ยังไม่รวมกับการประกอบที่ให้เหมาะกับผู้ใช้อีกด้วยนะครับ

การประกอบก้านฯเพื่อให้ได้สเปคสำคัญกว่าชื่อก้าน


การตรวจสอบก้านไหนเหมาะสมกับนักกอล์ฟหนึ่งคน ควรมีความรู้ต้องทราบทักษะการสวิง/สรีระร่างกาย/ความแข็ง ของผู้ใช้ด้วยว่าเป็นอย่างไร ความรู้เรื่องสเปคน้ำหนักก้าน/flex/bend point ตรวจสอบให้เหมาะสมตามศาสตร์ของ Clubfitting รวมถึงการประกอบความยาวก้าน/การ trimming ก้าน/Grip Sizing/สวิงเวท/CPM และจัดวางจุดดีดก้านให้ตรงแนวที่ดีที่สุด 

ซึ่งหากเลือกได้ก้านที่เหมาะสมและใกล้เคียงกับความสามารถตัวเองแล้ว แต่ขาดความใส่ใจเรื่องรายละเอียดเรื่องการประกอบไม้กอล์ฟ (Club Assembly) แค่เพียงใส่ก้านให้ติดกับหัวไม้ ใส่กริ๊ปให้ติดกับก้านประกอบตาม Standard Spec ที่ก้านแบรนด์ต่างๆกำหนดมา นั่นก็คงไม่ต่างอะไรกับไม้กอล์ฟทั่วๆไป เพื่อซื้อมาตีไม่ได้ก็ขายไปนั่นเอง

ก้านเป็นส่วนสำคัญหลักของการปรับแต่งสเปคไม้กอล์ฟ ดังนั้นการเลือกก้านแบบไหนที่ตรงกับความต้องการของท่านเองจริงๆ ที่จะนำไปใช้จริง หรือแค่เพียงโชว์ เผื่อขายต่อและเปลี่ยนไปเรื่อยๆตามแฟชั่นก็พอใจแล้ว

8 มีนาคม 2561

วงสวิง และ อุปกรณ์ไม้กอล์ฟควรให้ความสำคัญอย่างไร

จากการที่ได้สังเกตุการแข่งขัน Thailand Long Drive 2018 รอบชิงชนะเลิศ ที่หัวหิน เมื่อวันเสาร์ที่ผ่านมา นักกอล์ฟที่เข้ารอบ 8 คนสุดท้ายมีความเร็วหัวไม้ (Club Speed) อยู่ประมาณ 120 +/- MPH และ Carry 300 หลากันทุกคน มีความยาวก้าน และน้ำหนักก้านเฉลี่ยแทบจะใกล้เคียงกัน คือ 46"+/-(1") และ 70-80กรัม

ซึ่งสิ่งที่อยากจะนำเสนอ คือ ใครที่สามารถควบคุมอัตราสปินเรท (Spin rate) / มุมปะทะ (Attack Angle) และ Smash Factor ที่ทำให้ ความเร็วลูกกอล์ฟออกจะหน้าไม้ (Ball Speed) ได้ดีกว่ากัน ซึ่งเป็นที่มาของระยะที่ได้ นั่นก็คือทักษะความสามารถเฉพาะตัว รวมถึงควบคุมจิตใจขณะกำลังไดร์ฟในแต่ละลูกนั้นในเวลา 3 นาที ให้ได้ดีที่สุดอย่างไร

ฝึกทักษะการสวิงที่ดี
เคยได้กล่าวไปแล้วว่า กีฬากอล์ฟ 100% เป็น ทักษะวงสวิง 70% และอุปกรณ์เพียง 30% ซึ่งในศาสตร์ของ Club Fitting นั้นอุปกรณ์จะช่วยเสริม หรือบั่นทอน(ลบ) ทักษะการสวิงที่ทำได้นั้นอย่างไร ที่ทำให้ผลรวมแล้วออกมาให้ได้มีประสิทธิภาพสูงสุดของนักกอล์ฟหนึ่งคนที่ควรมี

ซึ่งผมเชื่อว่าบรรดาทุกคนในรอบ 8 คนสุดท้ายมีสเปคไดร์ฟเวอร์ที่ฟิตติ้งมาเกือบเต็ม 30% กันทุกคนแน่ๆ (ไม่ว่าเป็นก้าน หรือหัวไม้ยี่ห้อใดที่ต่างๆกัน) แต่จะมาวัดกันที่เรื่อง 70% ของทักษะการสวิง+ความคิด(Mental) ว่าใครจะสามารถทำได้มากกว่ากัน ซึ่งผู้ที่ได้แชมป์ฯนั้นมีในส่วนนี้มากกว่าคนอื่นๆ เชื่อไหมครับว่ามีผู้ที่ไดร์ฟได้ 385 หลาในรอบ 8 คน แต่กลับไม่สามารถเข้าชิงฯได้ (ซึ่งแชมป์ฯได้ระยะเพียง 379 หลาเท่านั้น)

มีการฟิตติ้งอุปกรณ์ที่เหมาะกับการฝึกซ้อม
ที่กล่าวมา คือ อุปกรณ์ (30%) จะเป็นส่วนเสริมวงสวิง หรือกั้นขวางวงสวิงไม่ให้ได้ (70%) นั้น ผมว่าทุกท่านเข้าใจได้ ว่าควรให้ความสำคัญกับสิ่งไหนอย่างไร ซึ่ง 2 สิ่งนี้แยกกันไม่ออกอย่างแน่นอนครับ ที่จะทำให้กีฬากอล์ฟของท่านพัฒนาให้ถึงสุดสูงสุดได้อย่างที่ท่านควรเป็น

นักกอล์ฟระดับอาชีพตัดเรื่องความกังวลในอุปกรณ์เพราะมีครบ 30% อย่าแน่นอน และมาใช้เวลาใส่ใจฝึกซ้อมทักษะวงสวิง+ความคิดในเกมส์ ให้มากๆ ซึ่งอาจจะต่างจากนักกอล์ฟสมัครเล่นหลายๆท่านที่ใช้อุปกรณ์แบบมาตราฐาน (One Size Fit All) หรือเปลี่ยนอุปกรณ์แบบไร้ทิศทางแบบหาข้อสรุปกับตัวเองยังไม่ได้จริงๆเลยครับ

25 กุมภาพันธ์ 2561

ไม้กอล์ฟสามารถเปลี่ยนวงสวิงคุณได้ (ในทางลบ หรือบวก) ขึ้นอยู่กับสเปคไม้กอล์ฟนั้น

ไม้กอล์ฟกำหนดวงฯคุณได้
กอล์ฟเป็นกีฬาที่พิเศษกว่ากีฬาประเภทอื่นๆ ที่ต้องใช้ทักษะความสามารถ ความคุ้นเคยในการฝึกซ้อมบ่อยๆ เพื่อให้สมองและกล้ามเนื้อ (Physical & Mental) จดจำการเคลื่อนไหวทั่วทั้งร่างกาย แล้วทำการสวิงให้เหมือนที่คิด ให้ถูกต้องอย่างเป็นอัตโนมัติให้ได้

แต่ท่านเชื่อหรือไม่ว่า การฝึกซ้อม หรือการใช้ไม้กอล์ฟแบบใด หรือสเปคใดก็ได้มาระยะเวลาหนึ่ง นักกอล์ฟจะสามารถใช้ไม้กอล์ฟนั้นเล่นกอล์ฟได้ในระดับหนึ่งเท่านั้น เพราะการฝึกซ้อม และความจดจำกล้ามเนื้อนั้นทำให้ท่านตีได้ แต่ในแบบของตัวเอง ตามธรรมชาติการปรับตัวร่างกายให้เข้ากับไม้กอล์ฟโดยอัตโนมัติ

การจรดที่เปลี่ยนไปตามความยาวก้าน
ไม่ว่าความยาวก้านจะยาวเกิน หรือสั้นเกินไป / น้ำหนักไม้ฯจะเบาหรือหนักไป / ก้านจะแข็ง หรืออ่อนไป / ขนาดกริ๊ปจะเล็ก หรือใหญ่ไป ท่านจะปรับตัวท่านเอง เพื่อให้ตีกอล์ฟไม้นั้นให้ได้ วงสวิงอาจจะไม่เหมือนเดิมที่เคยเรียนมา/ฝึกมา เท่ากับว่าไม้กอล์ฟที่ไม่แมทช์มีส่วนในการเปลี่ยนวงสวิงได้ ซึ่งหลายๆท่านคิดว่าไม้ที่ใช้อยู่ก็ตีได้ จนกว่ารู้สึกว่าหนัก/แข็งไป ระยะลดลง ก็คิดต้องการเปลี่ยนไม้ฯ และเมื่อได้ไม้ฯใหม่มา ท่านจะรู้สึกแปลกๆ บางคนตีไม่ได้อย่างเดิม

ซึ่งแนะนำควรหาไม้กอล์ฟที่เหมาะกับสรีระ และทักษะความสามารถของตัวเองดีกว่า เช่น หนัก/เบา สั้น/ยาว อ่อน/แข็ง หรือขนาดเล็กใหญ่ มาใช้ในการฝึกซ้อมเพื่อพัฒนาวงสวิง ดังนั้น Club Fitting จึงมีส่วนสำคัญที่ช่วยให้นักกอล์ฟพัฒนาวงสวิงได้อย่างมีประสิทธิภาพมากที่สุด และจะได้ตัดปัญหาการกังวลใจเรื่องสเปคอุปกรณ์ไปได้เลย เหลือเพียงแต่วงสวิงและการฝึกซ้อมเท่านั้น

4 กุมภาพันธ์ 2561

ความเร็วหัวไม้ กับ ความเร็วลูกกอล์ฟ กับระยะที่ควรได้จริง

หลายคนพูดว่า "ก้านที่ยาวขึ้น จะเพิ่มความเร็วหัวไม้" และ ความเร็วหัวไม้ที่เร็วขึ้น จะช่วยเพิ่มระยะมากขึ้นด้วย" เลยทำให้ไม้กอล์ฟทั่วไปทำให้ยาวขึ้น และยาวมากกว่าความสามารถตัวเอง ที่จะตีเข้ากลางหน้าไม้ได้บ่อยครั้ง

ซึ่งความเร็วหัวไม้ที่ดี และเสถียรคงที่น่าจะเกิดจากการฝึกซ้อม และทักษะส่วนบุคคล แต่ไม่ควรอยากเพิ่มระยะด้วยการมีก้านไม้กอล์ฟที่ยาวขึ้นเกินกว่าความสามารถตัวเอง ไม่ใช่ตีที่เดิม 10 ลูก ได้ระยะที่พอใจเพียง 2-3 ลูก ก็ถือว่าตีไกลขึ้นแล้ว แต่ไม่ใช่การเล่นกอล์ฟแบบต้องการลดสกอร์ (Lower Score)

Smash Factor เป็นผลสุดท้ายที่สำคัญในการได้มาของระยะ ซึ่งไม่ใช่ความเร็วหัวไม้ (Club Speed) เพียงอย่างเดียว ต้องรวมกับการอิมแพคเข้ากลางหน้าไม้ (Center Impact) ที่ดีได้บ่อยครั้งด้วย ที่ทำให้เกิดความเร็วบอล (Ball Speed) ที่ออกจากหน้าไม้ได้ดีที่สุดอย่างสม่ำเสมอ เป็นผลที่แท้จริงของระยะที่ได้ตามมา

ถ้าหากทำความยาวก้านที่ยาวขึ้น เพื่อต้องการเพิ่มสปีด แต่การอิมแพคหน้าไม้ ไม่เกิดบอลสปีดที่ดีก็เปล่าประโยชน์ และทำให้ความยาวที่ยาวเกินกว่าความสามารถนั้น ไปเปลี่ยนวงสวิง / เปลี่ยนแนวสวิง/ เปลี่ยนการเล็ง / เปลี่ยนตำแหน่งบอลตอนยืนจรด จะแก้ไขภายหลังได้ยากกว่า การฝึกซ้อมที่มีความยาวก้านที่เหมือนสมตามความสามารถนะครับ

แนวทางการพัฒนาและออกแบบไดร์ฟเวอร์ในปัจจุบัน และอนาคตอันใกล้

การพัฒนาเปลี่ยนแปลง การออกแบบในหัวไม้ไดร์ฟเวอร์ในปัจจุบันนี้ และต่อไปในอนาคต ผู้ผลิตฯคงจะพยายามเล่น และนำเสนอในเรื่องการกระจายน้ำหนักบนหัวไม้ (Weight Distribution) หรือ การเคลื่อนย้ายจุดศูนย์ถ่วงบนหัวไม้ (Center Gravity Movement) ซึ่งจะพบเห็น และเข้าใจได้ในรูปแบบต่างๆที่ไดร์ฟเวอร์รุ่นใหม่ๆที่ออกมาในตลาด เพียงต่างกันที่การออกแบบ และการนำเสนอให้ต่างเท่านั้น แต่มีวัตถุประสงค์เดียวกัน และเหมือนกัน

ซึ่งการออกแบบย้ายจุดศูนย์ถ่วง หรือย้ายหนักหนักบนหัวไม้ไดร์ฟเวอร์ เป็นเรื่องที่มีเหตุผลที่ส่งผลในทาง Club Fitting มากกว่าการโปรโมทเรื่องการปรับองศาหน้าไม้ได้เสียอีก ซึ่งการปรับองศาไม่ค่อยส่งผลมากนัก เพราะไม่ต่างอะไรกับ การเปลี่ยนการจับกริ๊ปที่ต้องการแต่งช๊อต หรือขยับตำแหน่งบอลก่อนการทีช๊อต สำหรับนักกอล์ฟมือดีๆที่ทำกันซึ่งการย้ายจุดศูนย์ถ่วงนั้นมีได้ทั้งแนวตั้ง / แนวนอน บนหัวไม้ ซึ่งนั่นจะสามารถส่งผลต่อมุมเหิน และหน้าไม้ขณะอิมแพคเปลี่ยนไป มีผลต่อระยะ

แต่อย่างไรก็ดีการย้ายจุดศูนย์ถ่วงไปๆมาๆ โดยไม่ได้ทำการฝึกซ้อมให้คุ้นชิน (Memory Muscle) แล้วนั้น อาจจะส่งผลเสียต่อวงสวิงที่เพี้ยนได้ง่าย และยากต่อการจดจำเพื่อนำไปใช้จริง ซึ่งจะไม่ทราบเอกลักษณ์วงสวิงของตัวเองจริงๆนั้นเป็นอย่างไร