2 ธันวาคม 2554

ทำไมต้องทำฟิตติ้งกับไม้พัตเตอร์ (Fitting Putter)???

🔺 ในจำนวนไม้กอล์ฟที่มีสิทธิมีได้ตามกฏกติการการแข่งขันนั้น มีได้ 14 อันในถุงกอล์ฟ ซึ่งอาจแบ่งได้เป็น 4 กลุ่ม ดังนี้
  1. Driver & Fairway wood
  2. ชุดเหล็ก (Iron set)
  3. Wedges
  4. Putter
** Hybrid อาจนับอยู่ในกลุ่ม Driver/fairway หรือ ในชุดเหล็กก็แล้วแต่ เพราะเป็นไม้ฯที่สามารถเป็นได้ทั้งสองกลุ่ม และ Putter บ้างก็อาจจะอยู่ในกลุ่มของ Wedge ก็ได้ เพราะเป็นเรื่องของ Short game (ลูกสั้น) แต่ในแต่ละกลุ่มใน 4 กลุ่มนี้ก็จะมีความแตกต่างกันในการเล่น และตามลักษณะของการทำ Club Fitting" ด้วยเหมือนกัน

🔺 มีคำถามที่ถามกันอยู่บ่อยครั้งในก๊วนนักกอล์ฟว่า "ไม้ฯไหนเป็นไม้ฯที่ใช้มากที่สุด ในบรรดา 14 ไม้ฯในถุงกอล์ฟ" ซึ่งควรให้ความสำคัญมากที่สุด เพราะเป็นไม้ฯที่ใช้มากที่สุด และมีผลต่อการทำแต้มมากที่สุด ในแต่ละหลุม หรือทั้ง 18 หลุมรวมกัน นั่นก็คือ "พัตเตอร์ (Putter)" นั่นเอง ซึ่งตามปกตินักกอล์ฟทั่วไป จะมองข้าม และไม่สนใจให้ความสำคัญกับ พัตเตอร์ที่มีอยู่ ส่วนใหญ่กับมองหาก้านไม้กอล์ฟที่จะมา Modify หรือ Fitting  โดยเฉพาะ Driver และชุดเหล็ก  เพื่อให้ตีไกลขึ้น แต่ไม่เคยทำ Putter Fitting ของตนเองที่มีอยู่เลย
** Driver และเหล็ก(บางเบอร์) ไม่ได้ใช้ทุกหลุม เช่นดียวกับ Putter**

พัตเตอร์เป็นไม้ฯที่สั้นที่สุดในถุงกอล์ฟ และเป็นไม้กอล์ฟที่ต้องให้ ความรู้สึก (Feeling) และการควบคุม (Control) ฉนั้นต้องควรเกี่ยวข้องกับหลักๆที่สำคัญ ในการเลือกหา ดังนี้ 
  1. ความยาวก้าน (Shaft Length) 
  2. การกระจายน้ำหนัก (Weight Distribution) 
  3. รูปแบบหัวพัตเตอร์ (Head Design)
ความยาวก้าน (Shaft Length) ควรมีความรู้สึกว่าความยาวก้านต้องเหมาะกับเรา และรู้สึกได้ถึงความผ่อนคลาย และควบคุมได้ดี ความยาว 34 หรือ 35 นิ้ว บ้างก็มี 33 นิ้ว (พบน้อยมาก) ซึ่งพบเห็นอยู่ทั่วไปในชั้นวางจำหน่ายร้านกอล์ฟทั่วไป เพราะความยาวก้าน เป็นส่วนสำคัญในการกำหนดความรู้สึกมั่นใจในการควบคุมพัตต์ให้ได้ตามต้องการ ซึ่งบางท่านอาจเหมาะกับความยาว 36 หรือ 37 นิ้ว หรืออาจเหมาะกับ พัตเตอร์ก้านยาว (Belly Putter) ก็ได้ เพราะอาจจะมีปัญหาเรื่องสรีระ (หลังด้านล่าง) ยืนซ้อมพัตต์นานๆจะปวดหลังง่าย

การกระจายน้ำหนัก (Weight Distribution) ซึ่งมีนักกอล์ฟ หลายท่านคิดว่า พัตเตอร์ที่มีน้ำหนักที่หัวพัตเตอร์ (Heavy Head) จะให้ความรู้สึกที่ดีกว่า สโตรกดีกว่า และนิยมใช้กันอย่างแพร่หลาย ซึ่งทำให้การ Modify ก็นิยมทำพัตเตอร์ให้หนักหัวเข้าไว้เพื่อให้ได้ สวิงเวทจ์ (Swing Weight) ที่ต้องการ ซึ่งดูแล้วไม่ค่อยเข้าทีเท่าไรเพราะ**พัตเตอร์ ไม่เคยใช้สวิง (Swing) นะครับ ใช้เพียงสโตรก (Stroke) เท่านั้น** ไม่จำเป็นต้องนำไปชั่งเพื่อหาค่า Swing Weight เดียวจะงงกันใหญ่ เมื่อไปเทียบกับไม้ฯอื่นๆ แค่เพียงแต่ให้ได้ความรู้สึกที่ดีในแต่ละพัตติ้งสโตรกก็น่าจะเพียงพอ

ความน่าจะเป็นของพัตเตอร์ควรจะมีการกระจายน้ำหนักที่ดี คือ ความรู้สีก (Feeling) และการควบคุม (Control) ให้มากๆ ซึ่งหากท่านมีพัตเตอร์หัวหนัก หรือความรู้สึกอยู่ที่หัวพัตเตอร์มาก (Heavy Head) จนรู้สีกได้ จะทำให้การควบคุมหน้าพัตเตอร์ในการพัตต์เป็นไปได้ยาก เพราะการกระจายหนักนั้นอยู่ไกล หรือห่างจากมือ ซึ่งอาจทำให้บังคับใช้ข้อมือไปด้วย (**ยกตัวอย่างกีฬาปิงปอง ไม้ที่มีน้ำหนัก และการควบคุมไม้อยู่ใกล้ หรือติดมือ จะได้ความรู้สึกมั่นใจในการควบคุมทิศทางดีกว่า) 
**PGA tour นิยมปรับพัตเตอร์ให้มีน้ำหนักอยู่ใกล้มือ หรือติดมือ ก่อนการแข่งขัน The Master ของทุกปี**

Face Balance Head
รูปแบบหัวพัตเตอร์ (Head Design) การค้นคว้าวิจัยจนได้ค่า MOI (Moment Of Inertia) ที่ทำให้การเคลื่อนที่ของหัวไม้เป็นไปได้อย่างมั่นคง ไม่แกว่งง่ายในขณะเคลื่อนที่ และทำให้หน้าไม้เดินทางมาสแควร์ (Square Impact) ได้มากขึ้นนั้น ก็เพราะว่าหัวไม้มีจุดศูนย์ถ่วงมาด้านท้ายของหัวไม้ฯมากขึ้น ซึ่งเคยยกตัวอย่างพัตเตอร์หัวตก (Non Balance Face Putter) และพัตเตอร์หน้าสแควร์ (Balance Face Putter) (คลิก)
(การพัฒนา MOI ใน Driver และไม้อื่นๆ ก็คิดค้นตามมาหลังจากค้นพบใน Putter ก่อนแล้ว)

Non-Face Balance Head
🔺 อย่าลืมนะครับท่านนักกอล์ฟว่า "พัตเตอร์" เป็นไม้ฯที่ใช้มากที่สุดในการออกรอบในแต่ละครั้ง ในแต่ละสโตรก หมายถึงแต้มที่ควรจะได้ หรือจะเสีย (เฉลี่ย 2 สโตรก / หลุม บางท่านอาจเจอ 3 พัตต์มาแล้วใช่ไหมครับ) ฉนั้นควรให้ความสำคัญ และมองหาพัตเตอร์ที่เหมาะกับท่านจริงๆ ไว้เถอะครับ ปรึกษา Professional Club Fitting ว่าควร Modify พัตเตอร์ท่านอย่างไรให้ได้การกระจากน้ำหนัก และความรู้สึกในการควบคุมหน้าไม้อย่างมีประสิทธิภาพ

ไม่มีความคิดเห็น: