20 มกราคม 2562

การเลือกชุดเวดจ์ที่มีประสิทธิภาพ

///  W e d g e  T a l k # 3 ///

⭕ เมื่อสองตอนที่แล้วพูดเรื่องการเลือกชุด Wedge ในเรื่องของ องศาหน้าไม้ (Loft Angle) ว่าควรไล่เรียงจากชุดเหล็ก และ องศาบาวซ์ (Bounce Angle) ที่ควรมีองศาที่หลายหลากให้เหมาะกับการเล่นในพื้นผิวสนามรอบๆกรีนที่แตกต่างกัน

⭕ ซึ่งในตอนนี้จะพูดถึงเรื่องของ น้ำหนักรวมไม้กอล์ฟ (Total Weight) ที่ต่างกันนั่นเป็นเพราะชุดเวดจ์จะขายแยกจากชุดเหล็ก และส่วนใหญ่ชุดเวดจ์จะมีก้านที่ขายติดมาเป็นก้านเหล็กที่หนัก และแข็ง มีสวิงเวทที่มาก (หาก้านน้ำหนักเบาที่ติดมาน้อยมากๆ) ซึ่งจะเหมาะกับนักกอล์ฟที่แข็งแรง และใช้ก้านใน ชุดเหล็กเป็นก้านเหล็ก (Steel Shaft) ที่น้ำหนักที่ไล่เรียงไม่ห่างกันมาก จึงเหมาะสมและใช้งานโดยไม่รู้สึกแต่ต่างและลงตัว

จัดระเบียนน้ำหนักรวมก้านทั้งชุดเหล็ก และเวดจ์
⭕ เพราะส่วนสำคัญในช๊อตขึ้นกรีนที่มีชุดเวดจ์ที่น้ำหนักรวม กับชุดเหล็กไม่ไปด้วยกัน เช่นน้ำหนักก้านในชุดเหล็กเบา และต่างจากชุดเวดจ์มาก จะทำให้ จังหวะการสวิง (Swing Tempo) เปลี่ยน และจดจำการสวิงที่ดี ระหว่างชุดเหล็ก กับ ชุดเวดจ์ได้ยาก ทำให้ช๊อตขึ้นกรีนขาดความแม่นยำในการทำคะแนน และจะสับสนกับการสวิง ที่ได้บ้างไม่ได้บ้างเป็นส่วนใหญ่

⭕ ดังนั้นลองเช็คอุปกรณ์ของตัวเองดูสิครับว่า ก้านในชุดเวดจ์ กับ ชุดเหล็กของท้านไปด้วยกันได้ไหม เช่น น้ำหนักก้าน / ความยาวก้าน / สวิงเวท / ขนาดกริ๊ป ซึ่งสิ่งเหล่านี้ที่ทำให้ความแม่นยำ และแน่นนอนในช๊อตทำคะแนนหายไป เพราะชุดเหล็ก กับ ชุดเวดจ์ควรเป็นสเปคไม้ฯ ที่ไล่เรียงน้ำหนัก และความรู้สึกวนการสวิงที่คล้ายๆกันไล่ลงมา

⭕ อย่าปล่อยให้ความรู้สึกในการสวิงนั้นติดตัวไปนาน ควรนำชุดเหล็ก กับชุดเวดจ์ มาปรึกษา Professional Clubfitting และจัดระเบียบน้ำหนักรวม (Total Weight) ใหม่ในชุดเหล็ก/เวดจ์ ในสัมพันธ์กันดีกว่าไหมครับ??

15 มกราคม 2562

การเลือกชุดเวดจ์ให้มีประสิทธิภาพ

/// W e d g e  T a l k  # 2  ///

⭕ การเลือกมีชุด Wedge เมื่อตอนที่แล้วให้เลือกดูที่ องศาหน้าไม้ (Loft Angle) ที่ไล่เรียงต่อมาจาก PW, Pitching Wedge ที่ควรมีองศาหน้าไม้ที่ไม่ห่าง หรือใกล้กันจนเกินไป ที่จะทำให้ระยะที่ได้จะห่าง หรือได้ใกล้กันไปด้วย สำหรับตอนนี้ควรเลือกดูที่องศาบลาวซ์  Bounce Angle หรืออาจแปลว่า มุมกระดอน ก็พอได้แต่จะไม่ค่อยเรียกกัน

⭕ ในทุกๆเหล็กจะมีองศาบลาวซ์ และเมื่อองศา Loft มากขึ้นองศา Bounce ก็จะมากขึ้นตามด้วย แต่ในชุดเวดจ์จะมีการออกแบบ Bounce Angle ให้มีหลายหลาก เพื่อให้เหมาะกับการเล่นในอุปสรรคพื้นผิวสนามที่ออกแบบไว้แตกต่างกันรอบๆกรีน เพราะฉนั้นการเลือกมี Bounce ในชุดเวดจ์ไม่ควรเลือกให้มีองศาบาวซ์ที่เหมือนกันทั้งหมด

Low Bounce (4ํ-8ํ องศา) เหมาะกับการเล่นในพื้นผิวหญ้า หรือทรายที่ เตียน/แน่น /เรียบ องศาบาวซ์ที่น้อยจะช่วยป้องกันการตีหลังลูก / ตีท๊อป จะช่วยการตีสอดลูกฯ ผ่านลูกได้ดี

High Bounce (10ํ-14ํ องศา) เหมาะกับเล่นในพื้นผิวที่นุ่มสุย / หญ้าฟู / ทรายร่วน เพราะองศาบาวซ์ที่มากจะช่วยให้ตีไม่ลอดลูกฯ ผ่านพื้นผิวที่นุ่มซุยแบบนี้โด้โดยดีช่วยลดมุมชัน/ขุดด้วยมุมกระดอน

⭕ หากการเลือกมีชุดเวดจ์ที่มีองศาบาวซ์ที่เหมือนกันจะไม่ช่วยให้ท่านมีการเล่นรอบๆกรีน Short Game ได้หลายหลากในแต่ละพื้นผิวของแต่ละอุปสรรคที่ออกแบบไว้ต่างกันได้ และนอกจากนั้นการฝึกซ้อม และวิธีของการสวิงในชุดเวดจ์นี้จำเป็นต้องในเวลากับมันมากพอสมควรด้วยครับ

8 มกราคม 2562

การเลือกชุดเวดจ์ให้เหมาะสมและเข้ากับชุดเหล็ก

/// W e d g e  T a l k  # 1  ///


ชุด Wedge ถือว่าเป็นส่วนหนึ่งของชุดเหล็ก แต่ออกวางจำหน่ายแยกกัน เลยทำให้เหมือนว่าเป็นคนละชุด และทำให้นักกอล์ฟส่วนใหญ่ไม่ค่อยใส่ใจในการเลือกมีชุด Wedge ที่เหมาะสม และมีสเปคที่เข้ากันได้ดีกับชุดเหล็ก ทั้งสเปคก้าน / Flex / องศาหน้าไม้ (Loft Angle) ที่ควรไล่เรียงต่อจากชุดเหล็กอย่างเหมาะสมลงตัว มิฉนั้นแล้วจะทำให้ผลงานของ Short Game ในการลดสกอร์จะด้อยลงทันที

ซึ่งชุด Wedge ที่วางจำหน่ายทั่วไปในปัจจุบัน จะมีองศาหน้าไม้ให้เลือกหลายหลาก และสิ่งแรกที่นักกอล์ฟควรเลือกที่สุด คือ องศาหน้าไม้ที่ต้องสัมพันธ์ กับ PW (Pitching Wedge, 46ํ-48ํ องศา) เหล็กตัวสุดท้ายในชุดเหล็กว่า..ควรมีองศาหน้ไม้เท่าไร ซึ่งเป็นที่มาของระยะที่ต้องการต่อเนื่องมา คือ GW (Gap Wedge, 50ํ-52ํ องศา) ซึ่งส่วนใหญ่จะไม่เข้าใจ และข้ามไปเลือกมี SW (Sand Wedge, 54ํ-56ํ องศา) แทน และทำให้เกิดช่องว่างของระยะในช๊อตขึ้นกรีนที่ขาดความแม่นยำ

ดังนั้นควรรู้องศาหน้าไม้ในชุดเหล็กทุกเบอร์ โดยเฉพาะ PW และตรวจเช็ควัดจริง เพื่อที่จะเลือกมีองศาหน้าไม้ของ ชุดWedge ตัวแรก ได้อย่างถูกต้อง และตามด้วย Wedge ตัวที่สอง ที่จำเป็นต้องมีช่วงห่างขององศาหน้าไม้ที่สัมพันธ์กันอย่างต่อเนื่อง ซึ่งจะเหมือนกันกับ ช่วงห่างขององศาหน้าไม้ในชุดเหล็ก ที่เป็นที่มาของระยะห่างกันที่ได้ของเหล็กแต่ละเบอร์นั่นเอง (10-15 หลา)

การเลือก Putter ควรเลือกที่แบบคอไม้

⭕ การเลือกใช้ Putter ใช่ว่าเลือกซื้อเพราะชื่อยี่ห้อ หรือรุ่นที่ชอบถูกใจ ที่คนรู้จักเท่านั้น ควรเลือกในส่วนที่สำคัญกับสไตล์การพัตต์ของตัวเอง กับ สเปคการออกแบบคอไม้ Putter (Toe Flow หรือ Toe Hang) บางทีเรียก Face Balance / Non-Face Balance ที่ซึ่งมีผลต่อการพัตต์อย่างยิ่ง ที่จะทำให้ส่งเสริมการพัตต์ของตัวเองให้ดีขึ้น ไม่ใช่ไปปรับการพัตต์ของตัวเองเพื่อให้เข้ากับ Putter นะครับ

⭕ ซึ่ง แนวสโตรกการพัตต์ (Stroke Path) ของแต่ละคนอาจไม่เหมือนกัน เช่น Square to Square หรือ In to Out เป็นต้น ซึ่งแต่ละแบบจะมีแนวสโตรกการพัตต์กับแนวการเล็งที่ มาก หรือน้อยแตกต่างกัน เช่นเดียวกันกับรูปแบบของคอ Putter ที่ออกแบบให้เหมาะสมกับการพัตต์ของแต่ละคนที่จะทำให้หน้า Putter กับมาแสควร์ได้ในตอนอิมแพคได้ดี ซึ่งจะทำให้ทิศทาง และการ Roll ของลูกกอล์ฟในการพัตต์ออกจากหน้า Putter เป็นไปอย่างที่แนวเล็งที่ตั้งใจไว้ครับ

⭕ สำหรับท่านที่ไม่แน่ใจแนะนำให้ปรึกษา Professional Clubfitting และเลือกแบบ Putter ที่เหมาะกับสไตล์การพัตต์ของคุณ พร้อมฟิตติ้งเรื่องความยาวก้าน / Balance น้ำหนัก Putter ให้เหมาะกับตัวคุณเองดีกว่าเลือกแบบที่ต้องปรับ/เปลี่ยนการพัตต์ของตัวเองให้เข้ากับแบบ Putter และสเปคที่ทำมาจำหน่ายในหลายๆแบบ หลายๆสไตล์ด้วยกัน