24 พฤษภาคม 2555

ค่าแรงต้านทานการบิดตัวก้าน (Torque) กับการเลือกก้านไม้กอล์ฟ

มีนักกอล์ฟหลายท่านต้องการจะปรับแต่งไม้ฯ (Modify) และอยากได้ก้านไม้กอล์ฟที่ Modify ให้มี Torque ที่ต่ำ เพราะคิดว่า Toque ที่ต่ำจะดีกว่าก้านไม้กอล์ฟที่มี Torque ที่สูง ซึ่ง Torque ที่ต่ำจะให้การควบคุมได้ดีกว่าไกลกว่า ก้านฯที่มี Torque สูง ซึ่งเป็นสาเหตุทำให้เกิดความสับสนในหมู่นักกอล์ฟทั่วไปว่า Torque แบบไหนที่ควรมี

ค่าแรงต้านการบิดตัวก้านฯ (Torque) เป็นความต้านทานของการบิดตัวก้านฯ จากแรงภายนอก อาจเปรียบให้เห็นภาพลักษณะง่ายๆก็คล้ายการม้วนบิดผ้า (ที่รีดน้ำออก) ผ้าผืนเล็กบาง (บิดง่าย) ผ้าหนา (บิดยาก) และมีค่าของการบิดตัวนี้เป็นองศา (Degree) ส่วนใหญ่จะพูดถึงค่า Torque ในก้านฯกราไฟท์มากกว่าก้านเหล็ก สาเหตุเพราะก้านเหล็กมีค่า Torque ที่น้อย เพราะทำจากวัสดุที่เป็นเหล็ก ซึ่งมีผลต่อการบิดตัวก้านน้อย (ยาก) ด้วยเนื้อวัสดุเอง และการทำให้การผลิตก้านเหล็กให้มีค่า Torque ที่ไม่ต่างกันมาก ซึ่งไม่เหมือนกับการผลิตก้านกราไฟท์ ซึ่งเป็นวัสดุมีความผันแปรมากกว่าเหล็ก สามารถผลิตค่า Torque ได้หลายหลากมากกว่า สามารถผลิตก้านฯที่มีค่าที่แตกต่างกันมากกว่าเหล็ก (ค่า Torque ในเหล็กประมาณ 2.5-3.5 องศา / กราไฟท์ อยู่ระหว่าง 3.5 - 5.5 หรือ 6.0) เพื่อให้เหมาะสมกับนักกอล์ฟในแต่ละคนที่มีความเร็วของวงสวิงที่ต่างกัน
(** ไม่มีค่า Torque ที่เป็นมาตรฐาน เช่นเดียวกับค่า Flex ขึ้นอยู่กับผู้ผลิตจะกำหนด**)

การบิดตัวก้าน (Torque) เกิดจากการเปลี่ยนระนาบหน้าไม้ (Club Face) ด้วยแรง (Speed) ในขณะ Down Swing ด้วยความเร็ว หรือจังหวะในการ Down สวิงของนักกอล์ฟในแต่ละคนไม่เหมือนกัน

หากมีความเร็วในการ Down swing เข้า Impact ที่มาก ก็ควรมีก้านฯที่มี การบิดตัวก้านฯ (Torque) ต่ำ เพราะ Torque ที่ต่ำจะสามารถรับแรงต้านได้ดี ซึ่งจะรักษาหน้าไม้ให้คงที่มากกว่า การที่มีก้านฯที่มี Torque สูง และในทางกลับกัน นักกอล์ฟที่มีความเร็วที่ต่ำ ควรมีก้านฯที่มี Torque สูง (หากไปใช้ก้านฯที่ Torque ต่ำแล้วจะทำให้ เกิดความกระด้าน ก้านฯทำงานในการดีดตัวได้ไม่เต็มประสิทธิภาพที่ควรเป็น)

การผลิตก้านไม้กอล์ฟที่กำหนด Torque นั้น ก้านที่มีผนังก้านฯที่หนา จะมีน่ำหนักก้านมาก จะมีค่า Torque ที่ต่ำ และก้านที่มีน้ำหนักน้อย ผนังก้านบาง จะมีค่า Torque ที่สูง โดยธรรมชาติของการผลิต แต่ผู้ผลิตก้าน Modify จะผลิตก้านฯพิเศษที่มีน้ำหนักเบา แต่มีค่า Torque ที่ต่ำด้วย และวางขายในราคาแพงๆอยู่ทั่วไป ซึ่งถามว่าจำเป็นไหมท่านนักกอล์ฟ ควรมีก้านแบบนั้น (นอกจากมีความต้องการพิเศษ และเฉพาะจริงๆ เท่านั้น)

จากที่เคยพูดเรื่องก้านฯไป นักกอล์ฟที่มีความเร็วหัวไม้ที่ต่ำ (Low/Slow Club Head Speed) หรือมีความแข็งแรงร่างกายน้อย (เป็น Weekend Golfer หรือ ไม่ใช่นักกีฬา) ก็ควรจะมีน้ำหนักก้านฯ ให้เบา ง่ายต่อการควบคุม และการสร้างสปิน ให้ลูกยกตัวสูงให้ได้ เพื่อเป็นที่มาของระยะ (Maximum Distance) และนักกอล์ฟที่มีความเร็วหัวไม้ที่สูง (High/Fast Club Head Speed) ควรใช้ก้านฯที่มี Torque ที่ต่ำ

Torque กับ Speed ที่เหมาะสมกัน จะเป็นตัวควบคุมหน้าไม้ในการปะทะลูก (Solid Impact) ได้ดีที่สุด Torque ไม่ได้หมายถึง การทำให้เกิดระยะ แต่เป็นผลทำให้ Impact ได้ดี และการ Impact ดีจะส่งผลตามมาเรื่องระยะ แต่ไม่ใช่ปัจจัยหลัก ที่จะเลือกโมดิฟาย Torque เพื่อระยะ

การที่จะตอบเป็นตัวเลขเลยนั้นว่า ควรมีค่า Torque เท่าไร กับ ความเร็วที่ ช้า หรือ เร็วนั้นคงไม่ได้ครับ เพราะค่า Torque ไม่ได้กำหนดมาตรฐานมา และขึ้นอยู่กับการประกอบก้านฯด้วยว่ามีการปรับแต่งอย่างไร กับปลายก้าน (Tip Trimming) และความต้องการความนุ่มนวลของก้านฯอย่างไร Professional Club Fitting Shop ต้องทราบ เพราะร้านทำไม้ฯ ทั่วไปส่วนใหญ่จะไม่ค่อยปรับแต่งที่ปลายก้าน คือมาอย่างไร ก็ไปอย่างนั้น จะปรับแต่งที่โคนก้าน (Butt Trimming) เพื่อความยาวเท่านั้น และจะทำความยาวมาตรฐาน 45-46 นิ้วออกมา ทำก้านโมดิฟายแล้วก็ไม่ทราบข้อมูล นักกอล์ฟอีกว่าควรปรับแต่งอย่างไร (ก็ซื้อมา ขายไปนั้นเอง)

ขอเล่าประสบการณ์หน่อย : มีนักกอล์ฟมือดีท่านหนี่งมาใช้บริการ มีก้าน Premium เป็น Brand name ด้วยใน Driver มีน้ำหนักก้าน 55 กรัม และมี Torque ที่ 3.5 องศา (Spec ก้านแบบนี้ราคาจะสูง) ซึ่งนักกอล์ฟท่่านนี้ มีความเร็วหัวไม้ฯ 100 Mph  ซึ่งดูแล้วก้านฯไม่ Match กับความเร็วหัวไม้เลย จากการสอบถามแล้ว ต้องการให้มี Torque ต่ำ เพื่อเพิ่มการควบคุมหน้าไม้ (ก้านไม่ดิ้น, ภาษาโปรฯเขาเรียกกัน) แต่ดูความเร็วหัวไม้ (Club Head Speed) ที่มี กับ น้ำหนักก้านแล้ว ไม่เหมาะสมอย่างยิ่งที่ทำให้เกิดระยะ และการควบคุมได้เต็มที่ หากได้ก้านฯที่มีน้ำหนักมากกว่านี้ 65-70 กรัม ซึ่งก้านฯที่มีน้ำหนักมากขึ้นส่วนใหญ่จะมี Torque น้อยลงอยู่แล้ว และจะได้ก้านที่มีคุณภาพเหมาะสมกว่า และราคาจะถูกกว่าด้วยครับ (เป็นตัวอย่างสำหรับนักกอล์ฟที่ต้องการ Torque ต่ำ แต่ไม่ได้ประโยชน์จะมันเลยเต็มที่เลย)

21 พฤษภาคม 2555

คุณสมบัติก้านไม้กอล์ฟ (Shaft Profiles)

เคยได้พูดไปแล้วว่าก้านไม้กอล์ฟ (Golf Shaft) ไม่ได้เป็นตัวกำหนดที่ทำให้ท่านนักกอล์ฟตีได้ไกลเพียงอย่างเดียว แต่ก้านไม้กอล์ฟ จำเป็นต้องทำงานร่วมกับหัวไม้กอล์ฟ (Golf Club Head) และลักษณะการสวิงของแต่ละบุคคลที่แตกต่างกัน ก้านไม้กอล์ฟไม่ได้เป็นตัวกำหนดพลังงาน (Power Energy) แต่เป็นแค่ตัวถ่ายทอดพลังงาน (Energy Transmission) จากตัวนักกอล์ฟไปยังลูกกอล์ฟ

เพราะฉนั้นการออกแบบหัวไม้กอล์ฟในปัจจุบันจึงเป็นปัจจัยหลัก มากกว่า ซึ่งการออกแบบหัวไม้ให้เหมาะกับตลาดนักกอล์ฟที่บริษัทฯนั้นตั้งเป้าว่าตอบสนองความต้องการได้ ซึ่งส่วนใหญ่แล้วจะทำให้มีน้ำหนัก เบา (180-190 กรัม) หรือ มาตรฐาน (200-205 กรัม) และทำจุดศูนย์ถ่วงหัวไม้ฯให้ไกลออกไปจากหน้าไม้ (Deeper Center Gravity) เพราะจะทำให้มีมุมเหินของลูกที่สูง ( High Launch angle) ลูกลอยได้สูงกว่าปกติ และมีออกแบบให้มีองศาหน้าไม้ (Loft Angle) ให้มากกว่าปกติด้วย (องศาหน้าไม้ที่บอกบนหัวไม้ที่ Sole จะไม่ตรงตามความจริงที่วัดได้ หรือ มากกว่า เช่น 10.5 องศา วัดจริงได้ 12.0 องศา) องศาหน้าไม้ก็จะสัมพันธ์กับ หน้าไม้ที่กว้างที่สามารถทำให้ จุดศูนย์ถ่วงหน้าไม้แนวตั้ง (Vertical Center Gravity) ให้อยู่สูงหรือต่ำ ซึ่งเป็นผลให้มุมเหิน (Launch Angle) ต่ำ หรือ สูง หรือ Flight Ball ได้เช่นกัน


จากที่กล่าวมาแล้ว มาเข้าเรื่องกันที่นักกอล์ฟในบ้านเราชอบการปรับ / แต่ง ก้านไม้กอล์ฟเป็นส่วนใหญ่เมื่อไรที่คิดว่าอยาก Modify ไม้กอล์ฟของตนเอง ก็จะตามเสาะหาก้านไม้ฯที่มาใหม่ หรือที่โฆษณาติดตลาดอยู่ในปัจจุบัน หรือมีโปรฯแนะนำว่าดี ไม่ว่าราคาจะแพงขนาดไหนก็อยากเป็นเจ้าของ โดยไม่คำนึงถึงการทำงานร่วมกับหัวไม้กอล์ฟที่มีอยู่ว่ามันจะให้ผลงานออกมาอย่างไร และความจะมีความยาวก้าน (Club Length) อย่างไรที่เหมาะกับตน เพราะส่วนใหญ่ร้านขายก้านก็จะทำก้านให้มีความยาวไม่ต่ำกว่า 45 นิ้ว เอาไว้ก่อน เพราะกล้วว่าความยาวนั้นจะมีผลกระทบกับ ระยะ (Distance) หากความยาวสั้นกว่านั้น และความจะมีก้านฯที่มีน้ำหนักเบาๆไว้ก่อน (50-55 กรัม) เพราะน้ำหนักรวม (Total Weight) ที่เบาจะทำให้สวิงงานและได้ระยะ

ความเข้าใจเช่นนั้นก็ไม่ผิดหลอกครับ แต่ไม่ใช่สำหรับนักกอล์ฟทุกๆคนต้องเป็นแบบนั้น หรืออาจคิดว่านักกอล์ฟในตลาดส่วนใหญ่ต้องมีวงสวิงราวๆนี้ นั้นก็ไม่ต่างอะไรกับ Standard Spec ทั่วๆไป ซึ่งท่านที่ได้เปลี่ยนก้านฯก็คิดว่าน่าจะตีได้ดีขึ้นกว่าเดิมมากสมกับราคาค่าก้านฯ แต่ก็ต้องค้นหาของใหม่ๆอีกไม่รู้จักจบตรงไหนสักที เพราะไม่ได้คิดคำนวณตามหลักของการทำ Club Fitting จริงๆ

หากท่านต้องการเปลี่ยนก้านฯ ควรรู้ว่าก้านฯนั้นต้องเหมาะกับท่านในเรื่องกลไกการทำงานของมันว่าเหมาะกับจังหวะสวิงของท่านไหม ให้พิจารณาสิ่งเหล่านี้

  1. น้ำหนักก้าน (Shaft Weight) เป็นมวลที่ต้องเหมาะสมกับตัวท่าน หรือกำลังของท่านที่ทำได้ เพื่อให้ได้ประสิทธิภาพสูงสุด
  2. จุดงอตัวดีด (Bend Profile) กำหนดวิถีบอล (Trajectory หรือ Flight Ball) ที่ต้องการ บอลสูง/ต่ำ และทำงานร่วมกับ องศาหน้าไม้ฯ (Loft Angle) และการออกแบบของหัวไม้
  3. การอ่อนตัว (Flexibility) ควรรู้ว่าก้านเปล่านั้นมี CPM เท่าไร และประกอบแล้วมี CPM เท่าไร ร้านทำควรมีเครื่องวัด (Shaft Frequency ) เพราะที่บอกบนก้านว่า R หรือ S นั้นเชื่อไม่ได้นักครับ
  4. ความยาว (Shaft Length) ต้องเหมาะกับท่านจริงๆมิใช่มาตรฐาน (Standard Length, 45-46 นิ้ว) เสมอไป เพราะความยาวก้านฯเป็นตัวกำหนดการ Impact ที่หนักแน่น และเข้าตรงกลางหน้าไม้บ่อยครั้งที่สุดในแต่ละครั้ง จะมีผลให้เกิดการถ่ายเทพลังงานได้เต็มที่สูงสุด
  5. การประกอบไม้กอล์ฟ (Club Assembly) ถือว่าเป็นขั้นตอนสำคัญที่สุด ที่จะทำให้ไม้กอล์ฟที่ออกมาได้ Spec ตามต้องการมีประสิทธิภาพสูงสุด เช่น Swing Weight เหมาะสมกับจังหวะการสวิง (Swing Tempo) การวางแนวดีดที่ดีที่สุด (Spine Alignment) ทำขนาด Grip Size เฉพาะที่พอดีกับมือ
สำหรับเรื่องราคาก็ขึ้นอยู่กับเงินในกระเป๋าของท่านนะครับ รองนำไปพิจารณาดู เพราะก้านที่มีราคาสูงจะมีอะไรพิเศษกว่า เรื่องการโฆษณา / การออกแบบสีสรร และ สปอนเซอร์กับนักกอล์ฟในทัวร์ ก้านที่น้ำหนักเบา ส่วนใหญ่จะมีราคาสูง หากน้ำหนักเบา และทำให้มีความแข็ง หรือการบิดตัวน้อย (Torque) ซึ่งสองประเด็นนี้จะไม่ค่อยไปด้วยกัน (เบา และ แข็ง) จะกล่าวต่อไปคราวหน้า

5 พฤษภาคม 2555

เล่าสู่กันฟัง

พี่ประทีป Senior Pros.
เมื่อก่อนไม่เคยคิดเรื่องการปรับ-แต่งไม้กอล์ฟในกับตัวเอง เพราะคิดว่ามีฝีมืออยู่แล้ว เพียงแค่จับไม้กอล์ฟอะไรก็ได้ให้เพียงได้ความรู้สีกว่าตีได้ ก็จะซื้อมาประจำกาย จนเมื่อเวลาผ่านไป เพื่อนๆที่เป็นโปรฯหลายคนเขามีการพัฒนาที่ดีขึ้น ด้วยการปรับ-แต่งอุปกรณ์ของตนเอง จึงได้มาพูดคุยกับ คุณ Tom / Tomiya Clubfitting ว่ามีวิธีการทำ Fitting อย่างไร (เพราะต้องสามารถทำให้ตัวเองเชื่อเสียก่อน ก่อนที่จะเสียเงิน) หลังจากพูดคุยจึงได้ให้ Modify ชุดเหล็กที่ใช้อยู่ (ซึ่งทีแรกคิดว่าจะเปลี่ยนและซี้อชุดใหม่)
ปรากฏว่า หลังจากได้ทำไปแล้ว ผมตีไกลขึ้นกว่าเดิม เท่ากับเหล็กหนึ่งเบอร์ และความเสถียรของการผิดพลาดน้อยมาก เพราะได้การทำงานของก้านที่ได้รับการจัดใหม่ และทำ Swing weight ใหม่ พร้อมกับทำ Grip Size ที่ได้ขนาดกับมือของผมเองจริงๆ ซึ่งทำให้การ Impact นั้นได้หนักแน่นขึ้น ผมคิดว่าคุ้มกว่าการตระเวนหาเลือกหาไม้กอล์ฟตามคำบอกเล่า หรือโฆษณา และได้ Spec ไม้กอล์ฟที่ไม่ตรงกับรูปแบบสรีระ และการสวิงของเราเอง เท่ากับการพายเรือวนในอ่างนั่นเอง


พี่สมชาย นักกอล์ฟอาวุโส
ผมมีไม้กอล์ฟราคาแพงที่ในวงการเขามีอยู่ ไม่ว่าจะแบนด์ไหนที่ว่าดังๆ มีหมด และอยากรู้ว่าการทำ Fitting นั้นจะมีผลให้ดีขึ้นอย่างไร จึงเอาไม้กอล์ฟที่มีอยู่ แต่เป็นเกรดสอง รองลงมาจากแบนด์ดัง คือ XXIO เพราะไม่ต้องการเสี่ยง เผื่อขายเดี๋ยวจะไม่ได้ราคา จึงมาที่ Tomiya Clubfitting ซึ่งได้มีการพูดคุยก่อนการทำ Fitting ว่ามีวิธีอย่างไรในการทำให้ได้มีประสิทธิภาพเพิ่มขึ้น ใช้เวลาทำไม่ถึง 1 ชั่วโมงสำหรับ Driver ผมได้นำไปลองตีด้วยตัวผมเอง และเปรียบเทียบกับ Spec เดิมก่อนทำ และเปรียบเทียบกับแบนด์ดังที่ผมมีอยู่ ซึ่งไม่น่าเชื่อเลยว่ามันดีขึ้นกว่าเดิมจริงๆอย่างเห็นได้ชัด ทั้งระยะ / ความรู้สีกในการควบคุมหน้าไม้ เสียค่าบริการแค่หลักร้อย แต่ได้ความรู้ และประสบการณ์ว่า ราคาแพง กับ Spec ไม้กอล์ฟที่ได้ไม่จำเป็นต้องมาพร้อมกันเสมอไป ขอบคุณที่ทำให้ผมมารู้จักกับ Tomiya Clubfitting หลังจากได้เล่นกอล์ฟตามกระแสมาพักใหญ่ประมาณ 20 ปี