มีนักกอล์ฟหลายๆท่านที่มีปัญหากับการเลือกใช้หัวไม้ 1 หรือ ไดร์ฟเวอร์ ที่ต้องการได้ไดร์ฟเวอร์ที่ตีได้ไกลที่สุด และเหมาะกับความสามารถตัวเองที่สุด แต่ก็ไม่รู้ว่าควรจะเลือกอย่างไรถึงจะได้ตามต้องการ เพราะปัจจุบันการผลิตไม้กอล์ฟออกมาจำหน่ายในท้องตลาดนั้น มีการแข่งขันกันสูงมากๆ ยอมเสียค่าโฆษณา / ค่าค้นคว้าวิจัยและการออกแบบ รวมไปถึงการจ่ายสปอนเซอร์ให้กับนักกอล์ฟอาชีพ เพื่อที่จะแย่งชิงส่วนแบ่งในตลาดไม้กอล์ฟให้ได้มากที่สุด ซึ่งอาจทำให้ผู้บริโภคอย่างเราๆจะต้องลงทุนเสียเงินไม่ใช่น้อยเพื่อซื้อไดร์ฟเวอร์มาใช้อย่างคุ้มค่าที่สุด
การเลือกไดร์ฟเวอร์ตามหลักใหญ่ๆที่ควรพิจารณาเป็นสำคัญ
จุดกึ่งกลางศูนย์ถ่วงหัวไไม้ (Center Gravity) : การออกแบบหัวไดร์ฟเวอร์ในปัจจุบันมุ่งเน้นการออกแบบ Center Gravity บนหัวไม้ (โดยเฉพาะในไดร์ฟเวอร์เพราะมีพื้นที่มากกว่าหัวไม้อื่นๆ) เช่นหัวไม้ที่มีขนาดใหญ่ 460cc ย่อมมี Deeper C.G. มาทางด้านท้ายมากกว่า เป็นผลทำให้มุมการตีลูกกอล์ฟให้ยกลอยตัวสูงได้ดีกว่า และมี MOI หัวไม้ที่ดีกว่า ตีได้ง่ายกว่า (นอกจากนั้น ยังมี Vertical C.G ที่ต่ำก็ช่วยมุมเหินตัวลูกกอล์ฟให้สูง หน้าไม้ที่สูง(Deep Face) หรือกระดองหลังที่สูง ก็จะมี Vertical C.G.ที่สูงขึ้น จะทำให้มุมยกตัวลูกกอล์ฟที่ต่ำไปด้วย)
ยี่ห้อ / สีสรร / รูปทรง หรือการโฆษณาให้นักกอล์ฟอาชีพคนไหนใช้ นั่นเป็นองค์ประกอบรองลงมา คือเรื่องของความชอบส่วนตัวซึ่งไม่เกี่ยวหลักการฟิตติ้งไม้กอล์ฟ เพราะมีนักกอล์ฟหลายท่านชอบถามคำถามแรกเลยว่าควรซื้อไม้กอล์ฟยี่ห้ออะไรดี เพราะยี่ห้อนั้นไม่ใช่คำตอบที่ถูกต้องที่สุด ถ้าได้ทราบองค์ประกอบ 2 อย่างแรกเบี้องต้น ว่ามีองค์ประกอบที่เราต้องการดังกล่าวหรือไม่ เพราะไม้กอล์ฟในท้องตลาดมีมากมายหลายสิบแบนด์เลยครับ ที่มีการออกแบบดังกล่าวเหมือนๆกันครับ
นอกจากนั้นยังมีปัจจัยรองอื่นๆที่มีผลกระทบ กับการทำงานของหัวไม้ดังกล่าวเปลี่ยนไปด้วยเช่นกันนั่นก็คือ ความอ่อน/แข็ง และจุดงอตัวดีดก้าน (Flex / Bending point) ที่ทำให้มุมองศาหน้าไม้เปลี่ยนตอนอิมแพค (Dynamic Loft) และการประกอบ ความยาวก้าน / น้ำหนักก้าน และน้ำรวมก้าน ทำให้เกิดความแม่นยำ (Accuracy) และสม่ำเสมอ (Consistency) ซึ่งเป็นองค์ประกอบที่ไม่ควรมองข้ามนะครับ ควรปรึกษา Professional Clubfitting ก่อนการตัดสินใจเลือกซื้อนะครับ จะได้มีไดร์ฟเวอร์ที่สามารถตอบโจทย์ความต้องการของตัวเองได้ ซึ่งนักกอล์ฟแต่ละคนนั้นก็มีการสวิงที่ไม่เหมือน และแตกต่างกันไปครับ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น