4 มีนาคม 2558

ความแตกต่างก้านไม้กอล์ฟ ที่ควรพิจารณาก่อนการซื้อ

ก้านไม้กอล์ฟถือว่าเป็นอุปกรณ์ที่สำคัญและได้รับความนิยมในหมู่นักกอล์ฟที่ต้องการจะโมดิฟายไม้กอล์ฟตัวเองให้ได้เต็มประสิทธิภาพในการใช้งานจริง ส่วนใหญ่หลายคนเพียงต้องการให้ได้ระยะไกล (Distance) ขึ้น และค่อยคำนึงถึงความแม่นยำ (Accuracy) และความสม่ำเสมอ (Consistency) ซึ่งเป็นส่วนสำคัญไม่ได้น้อยไปกว่าระยะเลยด้วยซ้ำในการเล่นจริงในสนามกอล์ฟ ที่จะทำสกอร์ให้ได้น้อยที่สุด ใช้ช๊อตน้อยที่สุด หรือ ช่วยลดสกอร์นั่นเอง

ก้านไม้กอล์ฟที่ติดมาจากโรงงาน (Stock Shaft) หรือบางท่านเรียกว่า (OEM shaft) คือผลิต และประกอบคู่มากับไม้กอล์ฟผลิตที่ละมากๆ มีเพียง 2 Flex ให้เลือก (R กับ S) คุณภาพ หรือคุณสมบัติก็แล้วแต่จะตรงกับนักกอล์ฟที่ได้ซื้อไป แล้วเหมาะกับตัวเอง ก็ถือว่าโชคดี แต่ถ้าต้องการเปลี่ยนก้านฯเพื่อจะได้ประสิทธิภาพเพิ่มขึ้น ตรงกับความสามารถ และสรีระของตัวเอง ก็ควรรู้ว่าก้านไม้กอล์ฟนั้นมีความแตกต่างกันอย่างไรบ้าง

ก้านไม้กอล์ฟที่วางขายทั่วไป มีให้เลือกมากมายหลายแบนด์ หลายรุ่น หรือแบนด์เดียวกัน ก็มีอีกหลายรุ่น นับได้ว่ามีให้เลือกเป็นร้อยเลยก็ว่าได้ ซึ่งการแข่งขันทางการตลาดพยายามโปรโมทแบนด์ตัวเองด้วยการ ให้สปอนเซอร์นักกอล์ฟอาชีพ และลงโฆษณาให้ติดตา ติดตลาดของผู้บริโภคในสื่อต่างๆ แล้วจริงๆคุณสมบัติของก้านนั้นต่างกันตรงนั้นหรือ สมมุติเอาสี และลวดลายที่พ่นบนก้านออก ให้เป็นเดียวกันหมด คือสีดำ หรือเป็นสีของกราไฟท์อย่างเดียวกันทั้งหมด ท่านควรจะพิจารณาเลือกก้านไหนที่เหมาะกับท่านที่สุด ปราศจากชื่อแบนด์ และรุ่นต่างๆที่บอกบนตัวก้าน

น้ำหนักก้าน (Shaft weight) ควรเป็นตัวแรกในการพิจารณาเลือกให้เหมาะกับความแข็งแรง ทักษะการสวิง และความเร็วสปีดที่จะเร่งเข้าตีลูกกอล์ฟ ซึ่งท่านสามารถนำก้านนั้นมาชั่งบนเครื่องชั่งทั่วไปที่บอกน้ำหนักเป็นกรัม ก็จะรู้ว่ามีน้ำหนักก้านเปล่าเท่าไร (Gross weight) เพราะน้ำหนักก้านถือได้ว่าเป็น มวลที่จะควบคุมสเปคไม้กอล์ฟ ในทางวิทยาศาสตร์ (มวล+ความเร็ว=งาน(แรง)

เครื่องวัดค่าความถี่ก้าน (Frequency Analyser)
ความอ่อน/แข็งก้าน (Shaft Flex) ซึ่งก้าน R หรือ S ที่พอจะทราบกันนั้นไม่สามารถนำมาเป็นตัววัดความแข็ง/อ่อนก้านที่มาเปรียบเทียบกันได้ เพราะไม่มีค่าความเป็นมาตรฐาน ซึ่งแต่ละแบนด์กำหนดความอ่อน/แข็งของตัวเองโดยไม่ได้อ้างอิงกับใคร จึงไม่ควรไปยึดติดกับ Flex นั้นมากเกินไป ซึ่งก็มีบางแบนด์ก็ไม่ได้กำหนดเป็นตัวอักษร แต่กำหนดความอ่อน/แข็งเป็นตัวเลข เช่น 5.0/5.5/6.0 หรือกำหนดให้เป็นค่า CPM (Circle Per Minute) ซึ่งเป็นค่าที่ได้จากการวัความถี่/ดีดก้าน บนเครื่องวัด Frequency Analyser  ต่อการดีด ต่อรอบ/นาที ถ้ามีค่ามาก หรือความถี่มาก ค่าความแข็งของก้านก็จะมาก ค่าตัวนี้จะผันแปรตามความยาวก้านด้วยเหมือนกัน หากจะเปรียบเทียบระหว่างก้านสองก้านที่แตกต่างกันว่าก้านไหนจะ อ่อน/แข็งกว่ากัน ต้องควรมีความยาวที่เท่ากันด้วยครับ

คราวนี้พอทราบเจ้าค่า CPM คร่าวๆแล้วซึ่งในบทความก่อนๆก็เคยเล่าให้ฟังบ้างแล้ว คราวนี้ค่า CPM ก็มีบทบาทสำคัญในปัจจุบัน เพราะนักกอล์ฟเริ่มมีความรู้แล้วว่าค่า CPM ของก้านไม้กอล์ฟนั้นสำคัญอย่างไร และใช้ค่า CPM ทดแทนค่า Flex ไปแล้วว่าควรใช้ก้านที่มีค่า CPM ที่เท่าไร

ก้านที่มี CPM ที่โคนก้านเหมือนกัน แต่การดีดที่ปลายก้านไม่เหมือนกัน
ก้านฯบางแบนด์ก็นำค่า CPM มากำหนดเป็นค่าความอ่อน/แข็งของก้านฯแบนด์ตนเองไปแล้ว เช่นก้านนี้มีค่า CPM /235  แต่มีค่าเดียวที่บอกกับลูกค้า ซึ่งแต่ละก้านที่มีค่า CPM ที่เหมือนกัน อาจจะทำงาน หรือการดีดก้านไม่เหมือนกันได้ เพราะการดีดที่ปลายก้านไม่เหมือนกัน ดังนั้นเราควรรู้ค่า CPM ตลอดทั้งก้านด้วยว่ามีค่าเป็นอย่างไร จึงนำมาพิจารราตัดสินใจเลือกก้านให้เหมาะกับตัวเอง และเชื่อว่าบริษัทผลิตก้าน หรือร้านขายก้านไม้กอล์ฟคงไม่ยอมบอกลูกค้าถึงรายละเอียดขนาดนั้นหรอกครับ เพราะหากก้านที่ราคาขายที่แพง หากเมื่อนำมาเทียบกัน และมีค่า CPM ตลอดทั้งก้านใกล้เคียง หรือเท่ากับ ก้านที่มีราคาถูกกว่า ถ้าเป็นคุณจะเลือกก้านไหนละครับ???

สรุปการเลือกซื้อ/เปลี่ยนก้านนั้น ไม่ควรมองที่ราคา หรือแบนด์เป็นอันดับแรก สืบเนื่องมาจากการโฆษณา และนักกอล์ฟอาชีพใช้เป็นสำคัญ นั่นก็ตอบโจทย์ความต้องการเฉพาะตัวของท่านเองไม่ได้ แต่ถ้าหากท่านรู้ว่า ก้านนั้นมีน้ำหนักก้าน (Shaft Weight) เท่าไร และมีค่าความอ่อน/แข็ง (Flex) ซึ่งควรมีค่า CPM ตลอดทั้งก้านเป็นอย่างไร ที่สามารถตอบสนองกับการสวิงของท่านได้ และนอกจากนั้นสิ่งที่ขาดไม่ได้คือ การประกอบก้านไม้กอล์ฟ (Club Assembly) ต้องให้ได้บนหลักการการฟิตติ้ง เช่นความยาวก้าน / สวิงเวท / การจัดแนวดีดที่ดี และขนาดกริ๊ป ให้เหมาะกับตัวท่านมากที่สุด การเปลี่ยนก้านนั้นจะถือว่าคุ้มค่าที่สุด ที่เหลือก็เป็นเรื่องของการฝึกซ้อมแล้วครับ

ไม่มีความคิดเห็น: