28 กันยายน 2554

การเลือกหัวไม้กอล์ฟ Driver ที่ดี สิ่งไหนที่ควรคำนึงถึง??

ระยะ (Distance) คือ สิ่งที่นักกอล์ฟทั่วไปต้องการ และพูดถึงบ่อยมากๆ เมื่อใดก็ตามที่พูดถึงเรื่องกอล์ฟ / วงสวิง หรือการปรับแต่งไม้ฯ และก็เป็นสิ่งที่นักกอล์ฟเกือบจะทั้งหมดปราถนาที่สุด ซึ่งต้องทำความเข้าใจให้ทราบว่า ในการเล่นกอล์ฟที่จะให้ได้คะแนนดีที่สุดแล้ว ควรคำนึงถึงสิ่งอื่นด้วย นอกเหนือจาก ระยะ (Distance) เพียงอย่างเดียวนั้น ควรมี ความแม่นยำ (Accuracy) หรือการควบคุม (Control) บวกเพิ่มเข้าไปในระยะด้วย ซึ่งจะทำให้นักกอล์ฟผู้นั้นเล่นกอล์ฟได้ดีขึ้น และมีสกอร์ (Scoring) ที่น่าพอใจ ซึ่งนั่นเป็นการวัดความสามารถของนักกอล์ฟผู้นั้นว่ามี ฝีมือ และการพัฒนาขึ้นอย่างไร

การที่ท่านนักกอล์ฟต้องการ Driver ที่ตีให้ได้ระยะไกลนั้น ในปัจจุบันบริษัทผู้ผลิตจะผลิตให้ Driver นั้นยาวขึ้นกว่าปกติ (ซึ่งเป็นวิธิที่เห็นผลง่ายที่สุดในระยะแรก) เช่น มีความยาวไม้ฯมากกว่า 45" และบางรุ่นยาวกว่า 46"  โดยทำให้ก้านฯ และหัวไม้ฯมีน้ำหนักเบาขึ้น (Light Head Weight) เพื่อจะให้ได้ไม้ฯที่มีก้านยาวขึ้น และมี Balance Weight ไม่หนักไปที่หัวไม้ฯมากนัก แต่อย่าลืมว่า น้ำหนักเหมาะสม (Proper Weight) เป็นเหตุผลสำคัญในการสร้างพลัง (Power Factor) หากความเบานั่นไม่ได้ช่วยเพิ่มการส่งพลังไปที่ลูกกอล์ฟ ก็ไม่เป็นเหตุผลที่สมควรมีไม้กอล์ฟที่มีน้ำหนักเบา

ซึ่งตามหลักฟิสิกส์นั้น ว่าความยาวทำให้เกิดระยะได้มากขึ้นได้ในกีฬากอล์ฟ  เพราะความยาวก้านฯ สามารถสร้างวงสวิงกว้างขึ้น ซึ่ง ทำให้เกิดระยะได้มากขึ้นด้วย  แต่ความยาวนั้นก็เป็นอุปสรรคที่ทำให้ท่านตีลูกได้ไม่ตรงกลางหน้าไม้ด้วยเช่นเดียวกัน เพราะความยาวจะไม่มาพร้อมกับความแม่นยำ (Accuracy) ซึ่งเป็นส่วนที่สำคัญที่สุดในกอล์ฟ ที่จะทำให้ท่านตีลูกได้ตรงกลางหน้าไม้ได้บ่อยๆครั้งที่สุด และได้ระยะดีที่สุดของความสามารถในวงสวิงท่าน

ส่วนใหญ่นักกอล์ฟ หลายท่านจะมั่นใจในความยาวของก้านไม้กอล์ฟที่ยาวกว่า จะทำให้ตีได้ระยะกว่าก้านไม้ฯที่สั้นกว่า ก็เป็นสิ่งที่ถูกต้อง แต่ถ้าหากว่า ความยาวก้านฯที่ยาวไปนั้น ให้การควบคุม (Control) ที่ยาก และทำให้ท่านตีลูกกอล์ฟให้ตรงกลางหน้าไม้ฯได้บ่อยครั้งแล้ว ท่านจะอยากมีก้านฯที่ยาวไว้ใช้ต่อไปอยู่อีกหรือเปล่าครับ เพราะความยาวก้านฯนั้นไม่เหมาะกับวงสวิง และสรีระของท่านแล้ว ควรนำมาปรับ / แต่งความยาวและทำน้ำหนักใหม่ เพื่อชดเชยในสิ่งที่ขาดหายไปอยู่ให้สมบูรณ์
(**ในปี 2010 PGA Tour ใช้ก้าน Driver ยาวที่สุดเฉลี่ยไม่เกิน 45" ซึ่ง Tiger Woods เคยใช้เพียง 43.5" ในสมัยยังใช้ก้าน Driver ที่เป็นก้านเหล็กอยู่ **)

เพราะฉนั้น ระยะ (Distance) และ ความแม่นยำ (Accuracy) ในเรื่องของการปรับ / แต่งอุปกรณ์ไม้กอล์ฟแล้วต้องให้ได้ความสมดุลย์ และเหมาะสมกัน ของลักษณะ ความเร็วหัวไม้ (Clubhead Speed) ความยาวก้าน (Shaft Length) และน้ำหนักก้าน (Shaft Weight) ต้องสัมพันธ์และให้ได้ประสิทธิภาพสูงสุด กับนักกอล์ฟในแต่ละคนที่มีไม่เหมือนกัน


ยกตัวอย่าง หากท่านไดร์ฟได้ไกล 280 หลา เพียง 3 ใน 10 ลูก ที่อยู่ในแฟร์เวย์ (มีแต่ ระยะ (Distance) อยู่ส่วนน้อยและขาดความแม่นยำ (Accuracy) และถ้าหากท่าน Drive ได้ 260 หลา จาก 7 ใน 10 ลูก อยู่ในแฟร์เวย์ ด้วยความเร็ว (Swing Speed) เดียวกัน ท่านลองคำนวณเมื่อเทียบเป็นเปอร์เซ็นต์ซิว่า ท่านต้องการไม้กอล์ฟแบบไหน??
**แต่ถ้าท่านแข่งขันตีไกล (Longest Drive) ก็เป็นอีกเรื่องหนึ่ง คือ เขานับลูกที่ไกลที่สุด 1 ใน 3 หรือ  1 ใน 5 ลูก โดยไม่มีการนับแต้ม (Scoring)**

แต่ถ้าท่านต้องการไดร์ฟให้ได้ 280 หลา และมีความแม่นยำมากขึ้นด้วย ต้องนำ Driver ท่านมาปรับ / แต่ง ตามหลัก Club fitting เพื่อให้ได้ตามวัตถุประสงค์ตามต้องการ เพราะสเปคไม้กอล์ฟเช่นนั้นไม่ได้มีวางจำหน่ายทั่วไป  ตามอย่างที่ท่านต้องการ

14 กันยายน 2554

สวิงเวจท์ (Swing Weight) / น้ำหนักรวม (Total Weight)

นักกอล์ฟส่วนใหญ่จะพูดถึงสวิงเวจท์ (Swing Weight) ที่ชอบ หรือที่เคยใช้อยู่ กับไม้กอล์ฟหนึ่ง จะจดจำและยึดติดกับ SW นั้นว่าดี / เหมาะกับตัวเอง เพื่อนำไปใช้ตลอด เมื่อไรก็ตามที่มีการปรับ / เปลี่ยนไม้กอล์ฟแต่ละครัง ก็จะเรียกหา SW นั้นที่ต้องการ ซึ่งไม่ค่อยถามถึงน้ำหนักก้าน / น้ำหนักรวมไม้กอล์ฟ (Shaft Weight & Total Weight) สักเท่าไร

14" จากปลายกริ๊ป ถึงจุด Fulcrum
สวิงเวจท์ (Swing Weight) คือ สัดส่วนในการกระจายน้ำหนักของไม้กอล์ฟ มีจุดศูนย์กลางห่างจากปลายกริ๊ป 14" และมีค่ากำหนดเป็น A0-9, B0-9, C0-9, D0-9, ... เป็นตัวกำหนดความรู้สึก (Feel) ในการสวิง ซึ่งไม่ใช่ ค่าของน้ำหนักรวมไม้กอล์ฟ (Total Weight หรือ Gross Weight) การปรับหาสวิงเวจท์ควรเป็นขั้นตอนสุดท้ายที่ควรคำนึงถึง

ทำไมต้องคำนึงถึงน้ำหนักก้าน / รวม (Shaft & Total Weight) ก่อน Swing Weight???

ให้ลองนึกถึงการใช้ค้อนตอกตะปูซิครับ หากท่านต้องการตอกตะปูตัวใหญ่สักตัว ให้จมลงไปในเนื้อไม้ แล้วท่านคิดว่าควรจะมีขนาดค้อนเท่าไร จึงจะทำให้การตอกตะปูเป็นไปอย่างง่ายดาย ซึ่่งค้อนนั้นต้องมีน้ำหนัก (Appropriated WEIGHT) และความยาว (Length) ที่เหมาะสม จึงสามารถสร้าง และส่งพลัง (Power) จากตัวท่านไปที่ตะปูได้อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด
เพราะฉนั้นควรเลือกน้ำหนักที่เหมาะสมกับท่าน (Physical strength) และผลงานที่ต้องการ (Outcome Need) ได้ ทั้งนี้เพราะเรากำลังพูดถึงการสร้างพลัง (Power) หรือหมายถึงน้ำหนักรวมที่ทำให้ได้ผลงาน หรือระยะ (Distance) ที่ต้องการนั้นเอง

เพราะฉนั้นน้ำหนักก้านไม้กอล์ฟ (Shaft weight) และ น้ำหนักรวมไม้กอล์ฟ (Total Weight) เป็นสิ่งสำคัญ และควรคำนึงถึงมากกว่าค่า Swing Weight เพราะ SW เป็นตัวกำหนดความรู้สึก (Feel) ของการสวิง ไม้กอล์ฟที่มีก้านน้ำหนัก 90 กรัม มี SW ที่ D2 ย่อมมีความแตกต่างอย่างสิ้นเชิงกับไม้กอล์ฟที่มีก้านน้ำหนัก 60 กรัม และมี SW ที่ D2 ที่เหมือนกัน เพราะฉนั้นท่านควรคำนึงถึง น้ำหนักก้าน (Shaft Weight) และ น้ำหนักรวม (Total Weight) เป็นอย่างแรกก่อนที่จะปรับหา SW ที่ท่านรู้สึก (Feel) และต้องการกับไม้กอล์ฟนั้นๆ หากท่านเริ่มจากการปรับหา SW ที่ต้องการก่อนแล้ว ท่านก็จะไม่สามารถได้ผลงาน (Outcome) ที่ท่านต้องการได้ เพราะฉนั้น สวิงเวจท์ (SW) คือค่าความรู้สึก (Feel Factor) แต่ไม่ใช่ค่าของพลัง (Power Factor)

5 กันยายน 2554

การจัดแนวดีดของก้านไม้กอล์ฟ หรือ จุด Sweet Spot บนก้านไม้กอล์ฟ

ไม้มีไม้ก้านไม้กอล์ฟอันไหนเลยที่จะมีความเรียบกลมเท่ากันตลอด 360 องศา ไม่ว่าจะเป็นก้านฯราคาถูกหรือแพง ที่จะวางก้านฯให้ได้การดีดที่ดีที่สุดในทุกๆจุดบนก้านฯ เพราะฉนั้นควรมีตำแหน่ง / ด้าน ของก้านฯที่ดีที่สุดอยู่ด้านเดียวกับหน้าไม้ (Club Face)

แล้วด้านไหนของก้านฯล่ะที่ควรอยู่ตรงกับหน้าไม้ เพื่อให้ได้การดีดของก้านฯที่มีความเสถียร และมั่นคงที่สุด ในขณะก้านไม้กอล์ฟงอตัวดีด (Most Stable Plane of Shaft Bending) ซึ่งเรียกว่า PPOP (Principle Planer of Oscililation Plane)

ก้านไม้กอล์ฟโดยทั่วไปที่ประกอบเสร็จเรียบร้อยแล้วมาจากโรงงาน ไม่วางแบนด์ใดๆก็ตาม ที่นำมาวางขายอยู่บนชั้นทั่วไปนั้น จะมี Logo ของแบนด์นั้นต่างวางเรียงอยู่ด้าน / แนวเดียวกันของก้านไม้กอล์ฟนั้นๆเหมือนกันหมดในทุกไม้ฯ ซึ่งนั่นก็เป็นมาตรฐานการผลิตจากโรงงาน (Mass Production) ที่พบเห็นกันอยู่ทั่วไปของไม้กอล์ฟ และจะมีอยู่ 2 ด้านก็คือ
  1. วางยี่ห้ออยู่ด้านบน (Logo Up) เวลายืนจรด address จะเห็น Logo แบนด์นั้นๆ ได้ชัดเจนวางอยู่ในแนวเดียวกันในทุกๆไม้กอล์ฟ เป็นการโฆษณาไปในตัวเลยทีเดียว
  2. วางยี่ห้ออยู่ด้านล่าง (Logo Down) เวลายืนจรดไม้กอล์ฟ จะมองไม่เห็น Logo เพื่อหลีกเลี่ยงการรบกวนสายตานักกอล์ฟ แต่จะเรียงอยู่แนวเดียวกันด้านล่างในทุกๆไม้ เช่นเดียวกัน
 นักกอล์ฟมืออาชีพ หรือมือดี (Best Player in the world) จะต้องนำไม้กอล์ฟเหล่านั้นมาประกอบ หรือจัดการวางแนวการดีดใหม่ให้ดีที่สุด และต้องวางให้ตรงด้านเดียวกับหน้าไม้ของทุกๆไม้กอล์ฟ เพื่อให้ได้ประสิทธิภาพการดีดที่เสถียร และเต็มที่ที่สุด การจัดวางเรียงแนวนั้นในสหรัฐอเมริกาเรียกกันว่า การทำ PUREing ก้านไม้กอล์ฟ หรือ SST PURE (ซึ่งในบ้านเราเรียกกันว่าจัดกระดูกก้าน หรือ Spine ก้าน)

ซึ่งการจัดกระดูก (Spine Alignment) ของก้านไม้กอล์ฟนี้ส่วนใหญ่จะเข้าใจว่าเป็นการหาจุดที่แข็ง หรือสันของก้านไม้กอล์ฟ (Spine Position) ซึ่งเป็นความคิดที่ไม่ถูกต้องนัก เพราะก้านไม้กอล์ฟ จะมีสัน 2 ตำแหน่งบ้าง หรือ ตำแหน่งเดียวบ้าง ซึ่งต้องเข้าใจว่าจุดไหนเป็นจุดที่ดีดดีที่สุด (PPOP) ที่เป็นจุด Sweet spot บนก้านไม้กอล์ฟ นั่นเอง หากวางไม่ตรงตำแหน่ง หรือด้านนั้นแล้วก็ไม่สามารถเรียกประสิทธิภาพการดีดของก้านนั้นที่เสถียรที่สุดอย่างเต็มที่
เพราะฉนั้นท่านนักกอล์ฟลองสังเกตุไม้กอล์ฟของท่านที่มีอยู่ว่าเป็นอย่างที่กล่าวมาแล้วหรือไม่ และหากท่านต้องการมีด้าน Sweet Spot ของก้านฯที่ดีที่สุด เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพไม้กอล์ฟที่มีอยู่ ด้วยการจัดตำแหน่งการดีดใหม่ให้ถูกต้อง ท่านก็จะทราบได้ว่าเป็นเพราะอะไรถึงได้เป็นเช่นนั้นเหมือนได้ไม้ใหม่เลยทีเดียว จะประหยัดกว่าการมองหาเพื่อเปลี่ยนไม้กอล์ฟใหม่เสียอีก

1 กันยายน 2554

เลือกพัตต์เตอร์ให้เหมาะกับสโตรกการพัตต์ของคุณ

มีนักกอล์ฟส่วนใหญ่บ่นหลายครั้งว่า ชอบพัตต์ตบ (Pull Putting Stroke) เข้าซ้ายอยู่ประจำ (คนถนัดขวา) และไม่รู้ว่าเป็นเพราะอะไร เป็นเพราะการพัตต์ หรือว่าเป็นเพราะอุปกรณ์ ซึ่งทำให้ไม่รู้สาเหตุที่แท้จริงว่าเป็นเพราะอะไรจะได้แก้ใขให้ถูกต้องซะที บ้างก็โทษตัวเองว่าพัตต์ไม่ดี บ้างก็โทษอุปกรณ์ และหาเรื่องเปลี่ยนพัตต์เตอร์ใหม่ (ซึ่งที่บ้านก็มีอยู่หลายอันแล้ว)

คราวนี้ลองตรวงเช็คลักษณะพัตต์เตอร์ของท่านที่มีอยู่ในถุงกอล์ฟตอนนี้ซิว่ามีลักษณะ และเหมาะกับการพัตต์ของท่านไหมอย่างไร ซึ่งสามารถตรวจเช็คได้อย่างง่ายๆได้ ว่าหน้า Putter ของท่านเป็นแบบไหน จะได้เลือกใช้ได้อย่างถูกต้องเสียที

พัตต์เตอร์หน้าสแควร์ (Face Balance Putter)
พัตต์เตอร์หน้าสแควร์ จะมีลักษณะการออกแบบให้มีจุดศูนย์ถ่วง (Center Gravity) ของหัวพัตต์เตอร์ไกลจากหน้าไม้ ทำให้เกิดความเสถียร / มั่นคง เมื่อมีการพัตต์ ทำให้หน้าไม้สแควร์กับแนวเล็งได้มากขึ้น

หน้าตาของพัตต์เตอร์แบบนี้จะสังเกตได้ง่ายมาก จะมีลักษณะใบกว้าง และลู่มาด้านท้าย เมื่อนำก้านพัตต์มาวางบนขอบโต๊ะแล้ว หน้าไม้จะสแควร์กับระนาบพื้น สิ่งนี้เองซึ่งเป็นต้นแบบของการคิดค้น และพัฒนาการออกแบบมายัง ใบเหล็ก และหัวไม้ Driver/Fairway ในปัจจุบันนั้นเอง ที่มีปริมาตรเพิ่มขึ้นถึง 460CC ให้ความเสถียรหัวไม้มากขึ้น ที่เราเรียกกันว่าค่า MOI (Moment Of Inertia) นั่นเอง

พัตต์เตอร์แบบนี้เหมาะกับนักกอล์ฟที่มีลักษณะ หรือสไตล์การพัตต์ (Putting Stroke) แบบสแควร์ (Square Stroke) คือ การพัตต์ทั้ง In & Out อยู่ในแนวเส้นตรง (Backward Square และ Forward Square)

พัตต์เตอร์หัวตก (Non-Face Balance Putter)

พัตต์เตอร์แบบนี้จะมีจุดศูนย์ถ่วง (Center Gravity) ของใบพัตต์เตอร์อยู่ใกล้กับหน้าไม้มากกว่า น้ำหนัก Balance ไปอยู่ที่ปลาย (Toe) มากกว่า ซึ่งทำให้ความเสถียรหน้าไม้ (Stabilization) ก็จะน้อยกว่าพัตต์เตอร์แบบแรก การพัตต์ให้สแควร์จะยากกว่า ซึ่งเป็นลักษณะท่านคุ้นตาในพัตต์เตอร์แบบนี้มานานแล้ว เป็นการออกแบบมาแล้วเมื่อหลายปีก่อน

ลักษณะก็คล้ายๆ กับการออกแบบใบเหล็กที่เป็น Blade หรือ หัวไม้ Driver / Fairway เมื่อก่อนที่มีปริมาตรน้อย ซึ่งในปัจจุบันนี้จะได้รับความนิยมน้อยลงเช่นเดียวกัน

เหมาะกับนักกอล์ฟที่มีลักษณะการพัตต์ (Putting Stroke) แบบบานประตู (Swing Stroke) คือแนวการพัตต์คล้ายการเปิดบานประตู ซึ่งเมื่อพัตต์ลูกกอล์ฟแล้วจะทำให้หน้าไม้กลับมาสแควร์ได้ดีกว่า

เพราะฉนั้นลองพิจารณาเลือกดู หรือลองใช้พัตต์เตอร์แบบใดแบบหนึ่ง ที่เป็นเหตุ เป็นผลดังที่กล่าวมาแล้วว่า อันไหนที่จะเหมาะกับการพัตต์ของท่าน เพราะลักษณะของการออกแบบอุปกรณ์ และการเลือกใช้อุปกรณ์ที่เหมาะสมเท่านั้น จะทำให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุดกับนักกอล์ฟในแต่ละคนไปครับ

(**อย่างน้อยหากได้ลดการพัตต์จากปกติ 2 สโตรกบ้าง ใน 18 หลุม = 36 สโตรก ก็จะเป็นการดีกว่าไหมครับ**)