24 ธันวาคม 2564

การเลือกไดร์ฟเวอร์ที่ควรพิจารณา

⭕ ส่วนใหญ่นักกอล์ฟสมัครเล่นทั่วไป จะคิดว่าใช้ไดร์ฟเวอร์ที่มี องศาหน้าไม้ที่ต่ำ (Low Loft Angle) และมี ความยาวก้านที่ยาวขึ้น (Long Shaft Length) นั้นจะทำให้ได้ระยะที่ไกลขึ้น ซึ่งถ้าหากท่านเป็นนักกอล์ฟที่มีทักษะจังหวะการสวิงที่ราบเรียบแม่นยำ และความเร็วหัวไม้ ที่เฉลี่ยมากกว่า 95+Mph ด้วยพร้อมกัน จึงค่อยนำปัจจัยดังกล่าวมาพิจารณากันครับ

⭕ ถ้าความยาวก้านไม้กอล์ฟที่ยาวเกินกว่าทักษะความสามารถ และสรีระของตัวเอง จะทำให้ขาดความแม่นยำในการตีลูกกอล์ฟให้เข้ากลางหน้าไม้ (Solid Impact) ได้บ่อยๆครั้ง เพราะจะทำให้แนวอัพสวิง (Up Swing Path) นั้นเป็นมุมแบน (Flat) กว่าปกติ เพราะจะไม่ทำให้เกิดการตีหลังลูกฯได้ง่าย และนักกอล์ฟจะชดเชยด้วยการ เปลี่ยนแนวการเล็ง หรือ เปลี่ยนการยืนจรดที่ไม่ปกติ เพื่อตีลูกให้ได้บ้าง เกิด Side Spin ง่าย ไม่ได้ระยะ และความแม่นยำที่ไม่สม่ำเสมอที่ควรเป็น

⭕ การมีองศาหน้าไม้ที่ต่ำเพื่อคาดหวังว่า จะมีมุมเหินที่ต่ำ (Low Launch Angle) ที่จะทำให้ลูกกอล์ฟตกแล้ววิ่งต่อไปอีก เพื่อได้ระยะที่เพิ่มขึ้นนั้น ซึ่งจะไม่เหมาะสมกับนักกอล์ฟที่มีความเร็วหัวไม้ที่ต่ำ และหากมีความยาวก้านฯที่ยาวเกินไปด้วย ก็จะทำให้มีมุมเข้าบอลเป็นมุมกด ที่จะไม่ช่วยในการยกตัวของลูกกอล์ฟที่มีสปินเรทที่ต่ำเพื่อให้ได้ระยะ และยังขาดความแม่นยำในการควบคุมทิศทางตามมาอีกด้วย

⭕ อุปกรณ์ในกีฬากอล์ฟที่ไม่เหมาะสมกับสรีระ และความสามารถ จะทำให้เปลี่ยนวงสวิงเพื่อให้เข้ากับอุปกรณ์โดยไม่รู้ตัว และจะมีความจำของกล้ามเนื้อแบบนั้นกับอุปกรณ์นั้นๆ หรือสับสนกับอุปกรณ์ที่เป็น จับฉ่ายหลายหลากสเปคในชุดไม้กอล์ฟที่ใช้อยู่ ที่ตัวนักกอล์ฟเองก็คาดไม่ถึงแบบไม่ได้ตั้งใจให้เป็นก็ได้ครับ

18 ตุลาคม 2564

ความผิดพลาดในชุดเหล็ก ที่ตำแหน่งจรดบอล และแนวสวิงที่เปลี่ยนไป

 ⭕ สิ่งหนึ่งของ ความผิดพลาดบ่อยครั้งของเกมส์กอล์ฟในชุดเหล็ก ที่นักกอล์ฟทั่วๆไปมองข้าม และคิดเป็นเพราะความผิดของวงสวิง หรือเป็นเพราะสเปคชุดเหล็กนั้นไม่ดี ไม่เหมาะสมกับตัวเอง ที่ทำให้ตีบอลได้ไม่หนักแน่น (Solid Impact) หรือขาดการควบคุมไม่ได้ระยะที่ควรได้

⭕ คือ ตำแหน่งจรดบอล (Ball Position) และ มีหลายแนวสวิง (Many Swing Path) ที่เปลี่ยนไปของในทุกๆเหล็ก เนื่องจากความยาวก้านฯของแต่ละเหล็กมีความยาวที่ไม่เท่ากัน ที่ เป็นสาเหตุทำให้เกิดความสับสน ว่า การที่ตีบอลในชุดเหล็กในช๊อตขึ้นกรีนที่ต้องการความแม่นยำ ซึ่งหลายๆครั้งก็หาเหตุผลที่แน่นอนไม่ได้ ว่าควรจะแก้ไขที่จุดไหนดี? ที่วงสวิง หรือเปลี่ยนอุปกรณ์ดี😅

⭕ ชุดเหล็กความยาวเท่ากัน (Single Length Irons) จึงเป็นทางออกในเกมส์กอล์ฟที่สามารถลบปัญหาที่จุดนี้ได้อย่างชัดเจน เพราะ หากเกิดความผิดพลาดก็จะไม่เกี่ยวกับสเปคไม้ฯอย่างแน่นอน เพราะตำแหน่งบอล หรือแนวสวิงมีแบบเดียว ก็จะไปแก้ไขที่วงสวิงที่ผิดเพี้ยนนั่นเอง ไม่สับสนในการแก้ปัญหาวนไปวนมาแบบที่เคยเป็น

⭕ นอกจากมีความยาวก้านที่เท่ากันแล้ว ที่ทำให้มีตำแหน่งจรดบอล และแนวสวิงที่เหมือนกันแล้ว ยังมีสเปคอื่นที่เหมือนกันอีก เช่น น้ำหนักรวมไม้ฯ / Lie Angle / สวิงเวท / MOI value ซึ่ง จะส่งเสริมและพัฒนาวงสวิงให้มีความจดจำกล้ามเนื้อ (Muscle Memory) ของทุกๆเหล็กให้ดีขึ้น ไม่ว่าเหล็กยาว หรือเหล็กสั้น จะให้ความรู้สึกในการสวิงที่เหมือนกันจริงๆ ที่ชุดเหล็กแบบเดิมๆไม่สามารถให้กับนักกอล์ฟได้

รายละเอียดชุดเหล็กความยาวเท่ากัน

https://tomiyaclubfitting.blogspot.com/2016/04/sterling-single-length-irons.html?m=1

https://tomiyaclubfitting.blogspot.com/2020/05/blog-post.html?m=1

✅ ทาง You Tube Channel

https://youtu.be/6htXEA_tnEs


7 ตุลาคม 2564

เป็นเพราะวงสวิง หรือ เป็นเพราะอุปกรณ์กันแน่?

⭕ มีอยู่ 2 เหตุผลที่ทำให้ผลงานออกมาแบบนี้ (ดังภาพ) คือ เป็นเพราะ วงสวิงไม่ดี หรือเป็นเพราะ สเปคไม้ฯไม่เหมาะสมกับตัวเอง🏌🛠

⭕ ซึ่งการแก้ไขเป็นไปได้ 2 แบบ ซึ่งจำเป็นต้องมีการ วิเคราะห์เห็นวงสวิง และ ตรวจสอบสเปคไม้ฯไปพร้อมๆกัน ว่าเป็นอย่างไร แล้วจึงจะสรุปแนวทางการแก้ไขได้อย่างถูกต้องและใกล้เคียงที่สุด✅

⭕ไม่ใช่เพียงแค่เห็นภาพ หรือยี่ห้อ/รุ่นหัวไม้ หรือสเปคก้านไม้ฯ แล้วหากสรุปการแก้ไขปัญหานั้นอาจจะไม่ถูกต้องครบถ้วน และไม่ตรงประเด็นในการพัฒนาเกมส์กอล์ฟได้⛳

✅เพิ่มเติมเรื่องฟิตติ้งไม้กอล์ฟ

https://tomiyaclubfitting.blogspot.com/?m=1

https://youtube.com/c/TOMTOMIYACLUBFITTING


11 กันยายน 2564

สปินเรท(Spin Rate)ที่ต้องการลด หรือเพิ่มเพื่อประโยชน์การเพิ่มระยะ

💢 การลดสปินเรทในไดร์ฟเวอร์นั้น ส่วนใหญ่นิยมทำในคนที่มี Club Speed ที่สูงกว่า>95mph มากกว่าที่จะทำในคนที่มีสปีดต่ำ<90mph เพราะ Clubspeed ที่สูง/เร็วขึ้น จะสร้างอัตราการสปินบนลูกกอล์ฟสูงตามไปด้วย ซึ่งจะทำให้ลูกกอล์ฟลอยยกตัวสูงขึ้นเป็นมุมเหิน (Launch Angle) และหากมีมุมเหินที่สูงเกินไปจะมีผลเสียต่อระยะที่ได้มา จึงจำเป็นต้องลดลงมุมเหิน หรือลดสปินเรทเพื่อให้เกิดระยะที่มีประสิทธิภาพดีที่สุด

🌸 ตรงกันข้ามกับผู้ที่มี Clubspeed ที่ต่ำ = ลูกไม่ค่อยลอย/การยกตัวน้อย/สปินเรทต่ำ ควรต้องการเพิ่มการยกตัวลูกกอล์ฟ ให้มีมุมเหิน และสปินเรทที่ดีมาพร้อมกันด้วย

💢 การลดสปินเรท ทั่วๆไปมี 2 วิธี

1. ในอุปกรณ์ โดย เพิ่มมวลไม้กอล์ฟ / เพิ่มน้ำหนักก้าน / เพิ่มความแข็งก้าน หรือลดองศาหน้าไม้ ซึ่งไม่ควรนำไปใช้กับคนที่มี Clubspeed ต่ำ #เพราะจะได้ผลออกมาในทางตรงกันข้าม

2. ในวงสวิง โดย เพิ่มมุมปะทะบอล ( Ascending Attack Angle) ให้เป็นมุมเสย (+5องศา) และควบคุมองศาหน้าไม้ขณะปะทะลูก (Dynamic Loft Angle) เพื่อลด Spin Loft ซึ่งสิ่งนี้อาจจะมีปัญหาที่ต้องปรับวงสวิงใหม่ และใช้เวลาฝึกนาน สำหรับมือสมัครเล่นทั่วไป และจะมีความยากมากขึ้น หากใช้ไดร์ฟเวอร์ที่ฝึกซ้อม มีความยาวก้านที่ยาวเกินไปกว่าสรีระ และองศาหน้าไม้ที่ต่ำกว่าความสามารถตัวเอง

💢 มากกว่า 90% ของผู้ที่มี Clubspeed ต่ำ จะมีไดร์ฟเวอร์ที่มีความยาวก้านยาวเกินไป (เพราะคิดว่าจะเพิ่มระยะด้วย Clubspeed ที่เพิ่มขึ้น) และ มีองศาหน้าไม้ที่ต่ำอีกด้วย เพื่อต้องการให้มีมุมเหินที่ต่ำ หรือเพื่อต้องการให้ลูกฯตกพื้นแล้วจะได้วิ่งต่อ เพราะคิดว่านั่นเป็นที่มาของระยะที่เพิ่มขึ้น ซึ่งอาจจะไม่ตรงประเด็นนัก

💢 ซึ่งสาเหตุส่วนใหญ่ในความยาวก้านที่ยาวและองศาหน้าต่ำ จะทำให้ความแม่นยำลดลง และ/หรือ มีสปินเรทที่สูงเกินไป ที่เป็นผลมาจากมุมปะทะลูกเป็นมุมกดง่ายกว่า (Desending Attack Angle) และทำให้มีแนวอัพสวิงแบน (Flat) เกิดสปินเรท/สปินลอฟท์มากเกินไป (More Spin Loft/Rate) ตกแล้วหยุด หรือถอยกลับอีกด้วยซ้ำ ไม่เป็นที่มาของระยะที่ควรได้ควรเป็น

💢 ดังนั้นการเกิดสปินเรท หรือการลดสปินเรท เพื่อเป็นประโยชน์ที่การเพิ่มระยะนั้น ต้องพิจารณาปัจจัยอื่นๆที่เกี่ยวข้องด้วย เช่น ความเร็วหัวไม้ (Club Speed)  และทักษะความสามารถในการสวิง เพราะปัจจัยที่ทำให้ต้องลดสปินเรทให้อยู่ในอัตราที่ดีที่สุด มิฉนั้นแล้วเป็นการลดปัญหาอย่างหนึ่ง แต่กลับไปเพิ่มปัญหาอีกอย่างหนึ่งได้ ก็เท่ากับไม่ได้ช่วยให้เกิดผลดีต่อเกมส์กอล์ฟที่ต้องการลดสกอร์อย่างแท้จริง

24 สิงหาคม 2564

ก้านไม้กอล์ฟที่ยาวขึ้นนำไปใช้ประโยชน์ได้จริงหรือ ?

🔷 ไม้กอล์ฟที่มีก้านยาวขึ้นๆ ไล่ระดับกันในถุงกอล์ฟนั้น จะเป็นไม้กอล์ฟที่มีความยากขึ้นเรื่อยๆด้วยเช่นกัน ในการควบคุมการตีลูกกอล์ฟให้ได้เข้ากลางหน้าไม้ (Center Impact) ได้บ่อยครั้ง ยังยากต่อการสแควร์หน้าไม้ในขณะอิมแพค และยังยากต่อจุดเป้าหมายที่เล็งไว้ ซึ่งสรุปได้ว่าจะมีความผิดพลาดมากขึ้นเรื่อยๆ เมื่อความยาวก้านยาวเพิ่มขึ้น

🔶 ตัวอย่างเช่นในชุดเหล็ก ซึ่งคนเล่นกอล์ฟมาแล้วระดับหนึ่งแล้ว จะไม่ชอบ และไม่มั่นใจในการตีเหล็กที่มีความยาวเพิ่มขึ้น เช่น เหล็กยาว /เหล็ก 4,5 และก็พบได้ว่า ชุดเหล็กที่ออกวางจำหน่ายในปัจจุบันส่วนใหญ่ พยายามจะไม่ผลิตเหล็ก 4 มาเข้าในชุดเหล็กด้วย และบางยี่ห้อชุดเหล็กที่มีก้านยาวที่สุด ก็มีแค่เพียงเหล็ก 5 เท่านั้นเอง เพราะผู้ผลิตรู้ว่า จะไม่ได้รับความนิยม ทำให้ต้นทุนการผลิตสูง / ราคาสูง ทำให้ยอดขายต่ำ

ก้านยาวขึ้นตีไกลขึ้นเพื่อแข่งลดสกอร์ ??


🔷 และท่านเคยสงสัยไหมครับว่า ความยาวในไม้กอล์ฟที่ยาวที่สุดในถุงกอล์ฟ คือ ไดร์ฟเวอร์ กลับผลิต และทำให้มีความยาวก้านให้ยาวขึ้นๆ ซึ่งทำให้นักกอล์ฟ และ ช่างไม้กอล์ฟส่วนใหญ่ก็พากันซีเรียส กับไอ้ความยาวก้านไดร์ฟเวอร์นี่มากๆเสียด้วย ว่าหากความยาวที่สั้นลงจะทำให้ ตีแล้วไม่ได้ระยะ และต่างพากันทำก้านไดร์ฟเวอร์ให้ออกมายาวขึ้น และยาวขึ้น ซึ่งผิดกับสเปคของชุดเหล็กที่กลับไม่ชอบไม้กอล์ฟที่มีความยาวมากขึ้นใช้

🔶 สิ่งเหล่านี้ยังคงเป็นสิ่งที่ทำให้นักกอล์ฟหลายๆคนสับสน และเข้าใจต่างกัน ซึ่งทำให้นักกอล์ฟที่ต้องการเล่นกอล์ฟให้ดีขึ้นจริงๆ และอยากที่พัฒนาเกมส์กอล์ฟของตัวเองสู่ระดับที่สูงขึ้น แต่กลับติดอยู่ที่อุปกรณ์ ที่ไม่ได้ช่วยส่งเสริมการเล่น หรือมีอุปกรณ์ที่ผสมสเปคไม้ฯกัน "แบบจับฉ่าย"


🔷 ก็เพราะกีฬากอล์ฟเป็นกีฬาที่มีอุปกรณ์มากถึงที่สุดก็ว่าได้ ซึ่งเรื่องสเปคของไม้กอล์ฟทุกชิ้นนั้น เช่น ไม้กอล์ฟความยาวก้าน / น้ำหนักรวมไ้ม้กอล์ฟ / สวิงเวท / ขนาดกริ๊ป / การจัดแนวดีดก้าน ฯลฯ ต้องมีความสัมพันธ์กันอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ที่จะทำให้นักกอล์ฟลดความผิดพลาดให้ได้มากที่สุด ที่จะช่วยทำให้นักกอล์ฟ ก้าวสู่ขีดสูงสุด (Peak Performance) ของความสามารถได้

7 สิงหาคม 2564

ค่าสวิงเวท (Swing Weight) กับสิ่งทีควรเป็นในไม้กอล์ฟ

เคยพูดเรื่อง สวิงเวท (Swing Weight) ในการประกอบไม้กอล์ฟไปบ้างแล้ว แต่ขอนำมาพูดซ้ำ ซึ่งค่าสวิงเวท เป็นค่าของการกระจายน้ำหนักบนไม้กอล์ฟ (Weight Distribution) ว่ามีน้ำหนักไปทางหัวไม้ บนก้านไม้ฯ หรือมาที่ด้านท้ายไม้กอล์ฟ (ด้านกริ๊ป) การกระจายน้ำหนักนี้ ควรมีสัดส่วนที่สมดุล (Balance Weight) ในแต่ละไม้กอล์ฟที่มีน้ำหนักที่ไม่เหมือนกัน และควรเหมาะสมกับนักกอล์ฟในแต่ละคนที่มีความแตกต่างกันทางสรีระร่างกาย และจังหวะการสวิง

ซึ่งพบเห็นว่านักกอล์ฟหลายท่านยังยึดติด และซีเรียส กับเจ้าสวิงเวทนี้เป็นอย่างมากๆ เช่นตัวอย่าง ที่เคยใช้ Driver ตัวหนึ่ง ซึ่งมีค่าสวิงเวทค่าหนึ่ง (D2) และรู้สึกชอบอย่างเหลือเกิน กับเจ้าสวิงเวทค่านี้ ดังนั้นเมื่อมีโอกาสในการเปลี่ยนไม้กอล์ฟใหม่ หรือเปลี่ยนก้านไม้ใหม่ ก็จะจำและให้ช่างผู้ประกอบว่า ต้องทำสวิงเวทค่านี้ให้ได้เท่านั้น เพราะตัวเองนั้นเหมาะกับสวิงเวทตัวนี้เหลือเกิน ห้ามทำเป็นค่าอื่น ซึ่งร้าน Pro Shop หรือช่างซ่อมตามร้านทั่วไป ก็ง่ายมากไม่ต้องคิดอะไรเลย ทำตามแบบเท่านั้น

เครื่องชั่งสวิงเวท (Swing Weight Scale)
เคยยกตัวอย่างไม้กอล์ฟ 2 อัน ซึ่่งอันแรกมีน้ำหนักรวมไม้กอล์ฟ (Total weight) ที 315 กรัม และอีกอันหนึ่งมีน้ำหนักรวมที่ 295 กรัม (น้ำหนักรวมแต่กัน 20 กรัม) แต่ไม้กอล์ฟทั้ง 2 อันนี้มีสวิงเวท (Swing weight) ที่เท่ากันที่ D2 ท่านลองพิจารณาว่าไม้กอล์ฟ 2 อันนี้ทำหน้าที่ในการสวิงที่เหมือนกันไหม  และจะเหมาะกับนักกอล์ฟที่ต้องการเพียงสวิงเวทที่ D2 ที่เคยใช้อยู่ไหมครับ??
(อันนี้พูดแค่ น้ำหนักรวม (Total weight) ที่เกี่ยวข้องเท่านั้น ยังไม่รวมถึงจุดดีด (Bend Profile) / แบบหัวไม้ (Club Head Design) / น้ำหนักก้าน (Shaft Weight) ที่แตกต่างกันกันออกไปอีก) ยิ่งทำให้เจ้าสวิงเวทที่เหมือนกันนี้ที่ D2 ก็ดูว่าจะไม่เหมือนกันเข้าแล้วใช่ไหมครับ

Tip weight ที่ทำให้ Swing Weight เพิ่มขึ้น
การปรับ / แต่งสวิงเวทในไม้กอล์ฟ (หัวไม้+ก้าน+กริ๊ป) ที่มีน้ำหนักเบา หรือมีสวิงเวทที่เบา ช่างซ่อมไม้ฯทั่วไปก็จะเอานำ น้ำหนักถ่วงปลายก้าน (Tip Weight) เช่น ตะกั๋ว / น๊อต / ผงเหล็ก-ทังสเตน เพื่อทำน้ำหนักให้ได้สวิงเวทนั้นหนักขึ้น และมีความรู้สึกการสวิงที่หัวไม้กอล์ฟมากขึ้นตามต้องการ เพราะก้านฯ และหัวไม้ Driver ที่เบามาก (โดยเฉพาะไม้กอล์ฟ Spec ญี่ปุ่น) ซึ่งหากต้องการสวิงเวทที่เพิ่มขึ้นมากกว่าปกติ จะต้องเพิ่มน้ำหนัก Tip Weight เข้าไปมากเป็นพิเศษเกินความจำเป็น (กว่า 5-6 Swing weight หรืออาจมากกว่านั้น)
**(ภาพด้านซ้าย : พบน๊อตตัวยาวกว่า 3 นิ้วในปลายก้านฯที่ใส่มา เพื่อให้ได้สวิงเวทที่เพิ่มขึ้นตามต้องการ)

ซึ่งเป็นเช่นนี้แล้วจะทำให้มีน้ำหนักไปอยู่ที่คอไม้ (Hosel) มากเกินความจำเป็น และทำให้จุดศูนย์ถ่วงหัวไม้ (Center Gravity) ที่ออกแบบมา เปลี่ยนไปมาก ซึ่งจะทำให้ก้านฯไม่ทำงาน หรือไม่ดีดตามที่ควรจะเป็น

อีกตัวอย่างหนึ่งคือ การเปลี่ยนกริ๊ปให้เบาลง เพื่อประโยชน์ให้มีสวิงเวทที่เพิ่มขึ้น ก็เป็นวิธียอดฮิตในการปรับแต่งไม้กอล์ฟกันอย่างมากอีกอันหนึ่งในปัจจุบัน ลองคิดพิจารณาดูนะครับ เมื่อเปลี่ยนกริ๊ปที่เบาลง น้ำหนักที่หัวไม้กอล์ฟนั้น ไม่ได้เพิ่มขึ้นเลย (เป็นค่าของ Static บนเครื่องชั่งสวิงเวทเท่านั้นที่เห็นว่ามันสวิงเวทเปลี่ยนไป) แต่ท่าง Dynamic แล้วนั้นกริีปที่เบาลง ทำให้น้ำหนักรวม (Total Weight) ลดลงด้วย ซึ่งทำให้มวลลดลง เมื่อมวลลดลง ก็ทำให้พลัง (Power) ลดลงด้วย เพราะน้ำหนักกริ๊ปที่เปลี่ยนไปนั้นอยู่ในมือของท่านนักกอล์ฟ!!!!! ไม่ได้ทำปฏิสัมพันธ์กับการดีดก้านฯ ที่มีน้ำหนักเปลี่ยนไป ที่อยู่ห่างออกไปจากมือ บนก้านไม้กอล์ฟ หรือหัวไม้กอล์ฟเลย (ไม่กระทบต่อการดีดก้านฯที่เปลี่ยนไป) ***ซึ่งอาจจะเหมาะกับนักกกอล์ฟที่ต้องการลดน้ำหนักรวม เท่านั้น***

การเปลี่ยนน้ำหนักบนไม้กอล์ฟนั้นสำคัญมาก ท่านต้องการเพิ่ม หรือลดน้ำหนักบนไม้กอล์ฟเพื่อวัตถุประสงค์อะไร ควรต้องพิจารณาให้แน่ชัดในแต่ละเรื่อง เช่น ระยะ (Distance) / มุมเหิน (Trajectory) / ความแม่นยำ (Accuracy) / ความสม่ำเสมอ (Consistency) หรือเพื่อความรู้สึก (Feel)  เลือกให้เหมาะสม ถูกวัตถุประสงค์ และควรปรึกษาร้านที่เป็น Professional Club Fitting จริงๆจะได้ผลที่ใกล์เคียง และเป็นเหตุเป็นผลมากกว่า สุ่มเปลี่ยนน้ำหนักสวิงเวทตามความเชื่อ หรือการบอกต่อๆกันมา
***น้ำหนักที่เบาลง อาจไม่ใช่คำตอบของการได้ระยะ และความแม่นยำ เสมอไปนะครับ***

✅ติดตามเรื่องฟิตติ้งไม้กอล์ฟน่ารู้✅

https://youtube.com/c/TOMTOMIYACLUBFITTING

20 กรกฎาคม 2564

ข้อควรพิจารณาในการเลือกใช้หัวไม้ไดร์ฟเวอร์

🔺เลือกสเปคหัวไม้นักกอล์ฟส่วนใหญ่ นอกจากจะเลือกจาก หน้าตา / รูปลักษณ์ / วัสดุการออกแบบตามความชอบตัวเอง หรือตามตลาดนิยมแล้ว

🔷 ควรเลือกจากปัจจัยเหล่านี้เป็นสำคัญ

1. องศาหน้าไม้ (Loft Angle)ให้เหมาะกับทักษะความสามารถ (ในตลาดมีน้อย แค่ 2 แบบ/องศา 9-10.5) Senior Golfer ต้องการควรมากกว่านั้น 12-14 องศา

2. จุดกึ่งกลางศูนย์ถ่วง (Center Gravity) ทั้งแนวตั้ง (สูง,ต่ำ) และแนวนอน (ลึก,ตื้น) ที่จะไปช่วยองศาหน้าไม้กำหนด Dynamic Loft ตอนอิมแพค เป็นผลต่อมุมยกตัวของลูกกอล์ฟจะสูง หรือต่ำ

3. เลือกขนาด (Volume) หรือ MOI หัวไม้ ที่ต้องการชดเชยความผิดพลาด (Forgiveness) และความเสถียรหัวไม้มากน้อยอย่างไร หน้าไม้กว้าง / แคบ เพื่อเพิ่ม/ลดมุมเหิน

4. มุมหน้าไม้ (Face Angle) กำหนดทิศทาง และความแม่นยำ โดยเฉพาะไม้กอล์ฟที่ยาวที่สุดในถุงกอล์ฟ จะสวิงหน้าไม้ให้กลับมาสแควร์ได้ยากตอนอิมแพค

5. ราคา (Price) ที่ตอบสนองทรัพย์ในกระเป๋า...ตามความชอบ และสังคมนิยม หรือต้องการใช้จริง ใช่ขายต่อได้

🔶สิ่งที่ลืมไม่ได้เลย คือ

🔷 สเปคหัวไม้ ควรจะต้องทำงานร่วมกับ สเปคก้าน ที่จะมารวมกันเป็น สเปคไม้กอล์ฟ กับทักษะความสามารถของนักกอล์ฟ ที่จะกำหนดผลงานออกมาเป็น มุมเหิน (Launch Angle) ซึ่งเป็นที่มาของระยะ และทิศทาง (Direction) ที่ดีที่สุด

🔺 หัวไม้ไม่สามารถทำงานให้ออกเป็นผลงานได้โดยลำพัง ยังรวมถึงสิ่งสำคัญ คือ การประกอบให้เป็นสเปคไม้ฯที่เหมาะกับความสามารถ แต่ละคนที่แตกต่างกัน เช่น  ความยาวก้าน / สวิงเวท / ขนาดกริ๊ป / จัดแนวดีดก้าน / น้ำหนักรวมไม้ฯ เพื่อให้ได้ประสิทธิภาพสูงสุด

🔹 ดังนั้น..การโฆษณาว่า หัวไม้รุ่นนี้ หรือรุ่นนั้นตีไกลกว่านั้น ไม่ได้มีปัจจัยเพียงเฉพาะตัวหัวไม้เองเท่านั้นเพียงอย่างเดียว ยังมีปัจจัยอื่น คือ สรีระ และทักษะทางกีฬาของผู้ใช้จริงที่แตกต่างกัน หากประกอบเป็นสเปคโรงงานมา OEM (Original Equipment Manufacturer) ให้เลือกแค่ Flex ก้าน R หรือ S และ Loft Angle 9.5 หรือ 10.5

🔼 ซึ่งสเปค OEM นั้น คงจะตอบโจทย์ความต้องการท่านได้เพียงจำกัดเท่านั้น ยี่ห้ออะไร หรือแบรนด์ไหนก็ได้ ควรต้องพิจารณากันที่สเปคที่เหมาะสมเฉพาะคนดังกล่าว เพื่อตอบโจทย์ความต้องการที่นำไปฝึกซ้อม และใช้จริงได้ดีที่สุดนะครับ

1 มิถุนายน 2564

ความยาวก้านฯที่ทำให้เพิ่มระยะได้ เหมาะสำหรับใคร?

💢ความยาวก้านเพิ่มระยะสำหรับใคร

🔺 ตามที่นักกอล์ฟส่วนใหญ่เข้าใจกันว่า ความยาวก้านฯที่เพิ่มขึ้นจะสามารถทำให้เพิ่มความเร็วหัวไม้ได้ (Club Speed Increased)และจะทำให้ได้ระยะเพิ่มขึ้นตามมาด้วย แต่นั่นจำเป็นต้องมีคุณสมบัติที่นักกอล์ฟควรทำได้คือ

💢 ต้องเป็นนักกอล์ฟมือดี Low Handicap มีจังหวะสวิงที่ราบรื่น (Smooth Swing Tempo) มีทักษะความสามารถในเชิงกีฬา ในการเคลื่อนไหวร่างกายของการสวิงอย่างมีระบบ

🔻 ซึ่งส่วนใหญ่นักกอล์ฟสมัครเล่นทั่วไปไม่เป็นเช่นนั้น ที่ยังใช้ความยาวก้านฯไม้กอล์ฟที่ยาวเกินกว่าความสามารถตัวเอง แทนที่จะเพิ่ม Club Speed ด้วยความยาวก้านที่เพิ่มขึ้น แต่ไม่สามารถตีเข้ากลางหน้าไม้ (Off-Center Hits) บ่อยๆครั้งและซ้ำๆได้ หรือได้บ้างไม่ได้บ้าง จะทำให้ได้ระยะสั้นลง และขาดการควบคุม ซ้ายบ้างขวาบ้าง

🔻 การที่ตีบอลผิดจากกึ่งกลางหน้าไม้ 1/2" จะทำให้ระยะหายไป 5 หลา และถ้าผิดไป 1" จะทำให้ระยะหายไป 10 หลา ดังนั้น ความยาวก้านที่เป็น Standard Spec หรือ สเปคโรงงาน (OEM) ที่มาจากชั้นวางขายนั้น จึงไม่เหมาะกับนักกอล์ฟทั่วไป โดยเฉพาะมือใหม่ ถึงปานกลางที่ยังขาดความแม่นยำ และความสม่ำเสมอของการตีบอลในแต่ละครั้ง

🔻 ดังนั้น ควรเลือกทำฟิตติ้งความยาวก้านให้เหมาะสมกับความสามารถตัวเอง และวัตถุประสงค์ของเกมส์กอล์ฟตัวเอง ซึ่งจะทำให้พัฒนาเกมส์กอล์ฟเร็วและดีขึ้นอย่างต่อเนื่อง

13 พฤษภาคม 2564

ความยาวก้านที่ยาวขึ้นมีผลอย่างไร กับการลดสกอร์

🔺 ความยาวก้านที่ยาวเกินไป เกินกว่าความสามารถตัวเอง จะทำให้ ความแม่นยำ (Accuracy) และ ความสม่ำเสมอ (Consistency) ในการจะ ตีเข้ากลางหน้าไม้ซ้ำๆบ่อยๆครั้งนั้นจะลดลง จึงทำให้เกิด Ball Speed ที่ออกจากหน้าไม้นั้นลดลงด้วยเช่นกัน ซึ่งจะ ทำให้ได้ระยะที่สั้นลงตามมา (Smash Factor ต่ำ) พร้อมกับขาดการควบคุมทิศทาง (หรือนานๆโดนดีสักที) หรือไปซ้ายบ้าง ทางขวาบ้าง⛳

💢 ซึ่งหลายๆท่านยังคิดว่า ความยาวก้านที่เพิ่มขึ้น ก็จะเพิ่มClubSpeed เพราะจะมีผลทำให้ได้ระยะเพิ่มขึ้นด้วย แต่ไม่ได้นึกถึงการควบคุมหน้าไม้ที่จะตีให้แสควร์หน้าไม้ นั้นก็จะยากขึ้นด้วยเช่นกัน ที่ไม่สามารถทำให้ดีเหมือนกันได้บ่อยๆครั้ง และจะทำให้ท่านต้องปรับวงสวิงให้เข้ากับไม้ฯ ที่มีความยาวก้านเกินไปด้วยการเปลี่ยน การเล็ง / การยืน / การจับกริ๊ป / ปิดหน้าไม้ / ตำแหน่งบอล ฯ เพื่อให้ตีได้ และควบคุมให้ดีขึ้น

🔺 และอีกอย่าง นักกอล์ที่ใช้ไดร์ฟเวอร์ที่มีก้านที่ยาวกว่าความสามารถตัวเอง ที่จะทำให้ตีเข้ากลางหน้าไม้ และควบคุมทิศทางได้ดี ส่วนใหญ่ก็จะ "ลดสปีดของการสวิงตัวเอง" (ตีตามวงฯ/ตีช้าลง) เพื่อที่จะตีให้โดนกลางหน้าไม้ (โดนดี) ซึ่งด้วยเหตุผลนี้ทำให้เสียจังหวะในการสวิง และ Club Speed ที่ได้กลับเหมือนเดิม ซึ่งหากจะใช้ความยาวก้านเพิ่มขึ้นเพื่อหวังผลให้เพิ่มระยะอย่างเดียวนั้น คงนำมาใช้กับการลดสกอร์ได้ยากหน่อย ที่จะไดร์ฟให้อยู่ในแฟร์เวย์มากกว่า เล่นช๊อต 2 ง่ายกว่า ก็ต้องเลือก แต่อาจเหมาะกับการแข่งขันตีไกล ยืนที่เดิมตี 8 ลูกนับลูกไกลที่สุด

31 มกราคม 2564

เลือกเปลี่ยนก้านทั้งที สิ่งไหนที่ควรพิจารณา

 👉 วิธีเลือกเปลี่ยนก้านไม้กอล์ฟ 

ก้านเปล่าสีเดียวกัน
🔍 การทำฟิตติ้งก้านไม้กอล์ฟ (Shaft Fitting) ที่ยอดเยี่ยมที่สุดให้กับนักกอล์ฟแต่ละคน ในการเรียนการสอนที่ Golfsmith USA คือ การใช้ก้านไดร์ฟเวอร์ เปล่ามา 4 ก้าน (A/B/C/D) เป็นสีเดียวกันทั้งหมดมาให้เลือก โดยไม่บอกว่าเป็นยี่ห้อ หรือ แบนด์อะไร ราคาเท่าไร เพียงแต่รู้ว่า แต่ละก้านมี น้ำหนักก้านเปล่าเท่าไร (Raw Shaft Weight) / ค่าความอ่อน_แข็งบนก้าน (Flex/Bend Profile) จากโคนจรดปลายก้านเป็นค่า CPM อย่างไรไม่ใช่ตัวอักษร (R/S) และให้ เลือกให้เหมาะกับนักกอล์ฟหนึ่งคนโดยการสวิงให้ดู โดยให้รู้ ความเร็วหัวไม้ (Club Head Speed) / แนวสวิง (Swing Path) / จังหวะสวิง (Swing Tempo) และ มุมปะทะลูก (Angle of Attack) แล้วให้วิเคราะห์เลือกก้านว่าก้านอันไหนเหมาะที่สุดกับนักกอล์ฟในแต่ละคน

👉 ซึ่งนั่นเป็นข้อมูลจริงที่ควรจะรู้ได้ที่สุด เพื่อนำไปใช้จริงนอกจากนั้นยังรวมถึง การประกอบไม้กอล์ฟ (Club Assembly) ที่ไม่ควรมองข้าม เช่น ตัดความยาวที่เหมาะสม / จัดสวิงเวท/ทำขนาดกริ๊ป/จัดแนวดีดบนก้าน (Spine Alignment) / การตัดแต่งก้าน (Tip/Butt Trimming) และอื่นๆ โดยไม่ได้พิจารณาจากสียี่ห้อเครื่องหมาย หรือ Logo บนก้าน และราคา เพื่อนำมาพิจารณาเลือกก้านเป็นสำคัญ

🔺 เพิ่มเติมการฟิตติ้งก้านไม้กอล์ฟ

https://tomiyaclubfitting.blogspot.com/2013/03/driver-flex.html?m=1

🔺 ทาง You Tube Channel

https://youtu.be/pPYnkJkJ9uo